ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติแม่ยม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


'''สัตว์ป่า'' ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีดังนี้
'''สัตว์ป่า'' ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีดังนี้
*[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] พบจำนวน 39 ชนิด สัตว์ป่าชนิดอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ เก้ง หมีควาย หมูป่า กระต่ายป่า นางอาย เม่นหางพวง นากเล็กเล็บสั้น อ้นเล็ก กระเล็นขนปลายหูสั้น ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวมงกุฎมลายู หนูท้องขาว เป็นต้น
*[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] พบจำนวน 39 ชนิด สัตว์ป่าชนิดอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ [[เก้ง]] [[หมีควาย]] [[หมูป่า]] [[กระต่ายป่า]] นางอาย เม่นหางพวง [[นากเล็กเล็บสั้น]] [[อ้นเล็ก]] [[กระเล็นขนปลายหูสั้น]] ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวมงกุฎมลายู [[หนูท้องขาว]] เป็นต้น
*[[สัตว์ปีก]] จำพวกนก พบจำนวน 135 ชนิด เช่น ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหกเล็กปากแดง นกกะปูดใหญ่ นกเค้าโมง นกตบยุงหางยาว นกตะขาบทุ่ง นกตั้งล้อ นกโพระดกคอสีฟ้า นกหัวขวานด่างแคระ นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินแมลงอกเหลือง นกพงคิ้วดำ นกเด้าลมหลังเทา นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกจับแมลงหัวเทา นกกินปลีอกเหลือง เป็นต้น
*[[สัตว์ปีก]] จำพวกนก พบจำนวน 135 ชนิด เช่น [[ไก่ป่า]] นกเขาเปล้าธรรมดา นกหกเล็กปากแดง [[นกกะปูดใหญ่]] [[นกเค้าโมง]] หรือ นกเค้าแมว [[นกตบยุงหางยาว]] [[นกตะขาบทุ่ง]] หรือ นกขาบนกตั้งล้อ [[นกโพระดกคอสีฟ้า]] นกหัวขวานด่างแคระ นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินแมลงอกเหลือง นกพงคิ้วดำ นกเด้าลมหลังเทา นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกจับแมลงหัวเทา นกกินปลีอกเหลือง เป็นต้น
*[[สัตว์เลื้อยคลาน]] พบจำนวน 28 ชนิด เช่น [[เต่าเหลือง]] ตะพาบน้ำ กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งจกหางหนาม งูหลาม งูสามเหลี่ยม อึ่งขาดำ กบหนอง เขียดบัว เป็นต้น
*[[สัตว์เลื้อยคลาน]] พบจำนวน 28 ชนิด เช่น [[เต่าเหลือง]] ตะพาบน้ำ [[กิ้งก่าสวน]] หรือ กิ้งก่าคอแดง แย้ขีด จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งจกหางหนาม [[งูหลาม]] [[งูสามเหลี่ยม]]
*[[สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก]] พบจำนวน 14 ชนิด เช่น คางคกบ้าน เป็นต้น
*[[สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก]] พบจำนวน 14 ชนิด เช่น [[คางคกบ้าน]] อึ่งขาดำ กบหนอง [[เขียดจิก]] หรือ เขียดบัว เป็นต้น


มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ [[หมาจิ้งจอก]] หรือ สุนัขจิ้งจอก [[กระรอกบินเล็กแก้มขาว]] [[แมวป่า]] และ[[นกยูง]] มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ [[เสือปลา]] นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ [[เลียงผา]] และมี
มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ [[หมาจิ้งจอก]] หรือ สุนัขจิ้งจอก [[กระรอกบินเล็กแก้มขาว]] [[แมวป่า]] และ[[นกยูง]] มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ [[เสือปลา]] นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ [[เลียงผา]]


== แก่งเสือเต้น ==
== แก่งเสือเต้น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:38, 8 พฤศจิกายน 2562

อุทยานแห่งชาติแม่ยม ตั้งอยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454.75 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดมายังแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ มีเทือกเขาอย่างดอยหลวง ดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำและลำห้วย อย่างเช่น น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋า ห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิม และห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้น และมีลำน้ำแม่งาว ไหลมารรจบกับแม่น้ำยมที่บริเวณอุทยาน

ทางด้านทิศเหนือไปทิศใต้ เป็นบริเวณที่ราบลาดเอียง ระดับความสูงประมาณ 180 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณอำเภอสอง แล้วลดความสูงมาเป็น 157 เมตร ส่วนทางด้านแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้น มีพื้นที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำยมทั้งสองด้าน ดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วนปนทราย ชนิดหินเป็นหินชั้นและหินเชล

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 23 มกราคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” โดยกำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 51 ของประเทศ[1]

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยม อยู่ในลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส

  • ฤดูฝน จะได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มพัดผ่านระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ทำให้ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,095 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาว จะได้รับอิทธิพลลมมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ โดยนำอากาศหนาวและแห้งแล้งจากประเทศจีนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมประมาณ 14 องศาเซลเซียส
  • ฤดูร้อน อากาศจะร้อนแห้งแล้งเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 33 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดป่าชนิดต่างๆ ได้แก่

  • ป่าเบญจพรรณ พบทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปทางทิศตะวันตกของลำน้ำยม ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ [[สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก ฯลฯ
  • ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ และกระจายเป็นหย่อมๆ ในบริเวณดินที่มีความแห้งแล้ง เป็นดินลูกรัง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง พลวง รัก มะเกิ้ม ชิงชัน ฯลฯ
  • ป่าดิบแล้ง ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติและตามบริเวณริมห้วยที่สำคัญ มีความเขียวชอุ่มตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง กระบาก มะหาด ยาง ยมหอม ก่อ ฯลฯ

'สัตว์ป่า ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีดังนี้

มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก กระรอกบินเล็กแก้มขาว แมวป่า และนกยูง มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ เสือปลา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ เลียงผา

แก่งเสือเต้น

เป็นเกาะแก่งธรรมชาติในแม่น้ำยม ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ได้ชื่อจากลักษณะของหินก้อนหนึ่งในแก่งที่มีรอยคล้ายรอยเท้าเสือปรากฏอยู่[2]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม