ข้ามไปเนื้อหา

หมีควาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมีควาย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีนตอนต้น–ปัจจุบัน
ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี

ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี

สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Ursidae
สกุล: Ursus
สปีชีส์: U.  thibetanus
ชื่อทวินาม
Ursus thibetanus
(Cuvier, 1823)
การกระจายพันธุ์ของหมีควาย (สีน้ำตาล – ที่อยู่ปัจจุบัน, สีดำ – สูญพันธุ์, สีเทาเข้ม – สถานะไม่แน่นอน)
ชื่อพ้อง
  • Selenarctos thibetanus
  • Ursus torquatus (Blandford, 1888)

หมีควาย หรือ หมีดำเอเชีย (อังกฤษ: Asian black bear, Asiatic black bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus thibetanus) จัดเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งคือ หมีหมา (H. malayanus))

ลักษณะ

[แก้]

หมีควายมีลำตัวอ้วนใหญ่ หัวมีขนาดใหญ่ ตาเล็กและหูกลม ขาอ้วนล่ำและหนา หางสั้น มีนิ้วเท้ายาวทั้งหมดห้านิ้ว กรงเล็บสั้น ขนตามลำตัวหยาบมีสีดำ มีลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณหน้าอกเป็นรูปตัว V มีสีขาว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ความยาวลำตัวและหัว 120–150 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5–10 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 150–160 กิโลกรัม และอาจหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม มีลักษณะคล้ายกับหมีดำ (U. americanus) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ[2]

หมีควายมีสัณฐานวิทยาคล้ายกับหมีในยุคก่อนประวัติศาสตร์บางส่วน นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาจจะเป็นบรรพบุรุษของหมีชนิดต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ยกเว้นหมีแพนด้า (Ailuropoda melanoleuca) และหมีแว่น (Tremarctos ornatus)[3]

แหล่งอาศัย

[แก้]

หมีควาย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวางพบตั้งแต่ ภาคตะวันออกของปากีสถาน, ภาคเหนือของอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, สิกขิม, ภูฐาน, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, คาบสมุทรเกาหลี, ญี่ปุ่น และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย มักเลือกอาศัยอยู่ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอากาศเย็น เช่น ป่าบนภูเขาหินปูน

แบ่งจำแนกออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 7 ชนิด คือ

  1. U. t. formosanus Swinhoe, 1864 พบในเกาะไต้หวัน–ไม่มีขนหนาตรงลำคอเหมือนชนิดอื่น
  2. U. t. gedrosianus Blanford, 1877 พบในบาลูชิสถานตอนใต้–มีขนาดเล็ก มีขนสั้น [4]
  3. U. t. japonicus Schlegel, 1857 พบในญี่ปุ่น–สูญพันธุ์ไปแล้วที่คีวชู
  4. U. t. laniger Pocock, 1932 พบตามเทือกเขาหิมาลัย, แคชเมียร์ และสิกขิม–แตกต่างจากชนิด U. t. thibetanus ตรงที่ขนยาวกว่า แต่มีรอยสีขาวที่หน้าอกเล็ก[5] [6]
  5. U. t. mupinensis Heude, 1901 พบตามเทือกเขาหิมาลัยและอินโดจีน–มีขนสีอ่อน ลักษณะคล้ายกับชนิด U. t. laniger
  6. U. t. thibetanus Cuvier, 1823 พบในอัสสัม, เนปาล, พม่า, ไทย และอันนัม–มีขนสั้น[5]
  7. U. t. ussuricus Heude, 1901 พบในไซบีเรียใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น และคาบสมุทรเกาหลี–เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด[4]
ขนหน้าอกรูปตัว V สีขาว

พฤติกรรม

[แก้]

หมีควายกินอาหารได้หลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์, ผลไม้, ใบไม้, หน่อไม้, ซากสัตว์, แมลง, รังผึ้ง และตัวอ่อนของผึ้ง บางครั้งอาจเข้ามากินในพื้นที่เกษตรกรรม มักออกหากินในเวลากลางคืน ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่ชอบฉีกเปลือกไม้เพื่อหาแมลงใต้เปลือกไม้ หรือใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์บอกถึงอาณาเขตของตัว ตามปรกติมักอาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน อาจหากินเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 7–8 เดือน ออกลูกครั้งละไม่เกิน 2 ตัว ตามโพรงไม้หรือในถ้ำที่ปลอดภัย หมีควายเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดี จึงค่อนข้างดุร้าย เมื่อตกใจหรือสงสัยจะยืนด้วยขาหลัง ต่อสู้กับศัตรูโดยการตะปบด้วยขาหน้าและกัดด้วยฟันอย่างรุนแรง นอกจากนี้แล้วยังมีพฤติกรรมที่แปลก คือ ชอบขดตัวกลมแล้วกลิ้งลงมาจากเนินเขา สันนิษฐานว่าเป็นการเล่นสนุก[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Garshelis, D.L. & Steinmetz, R. (2008). [www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/22824 Ursus thibetanus]. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 27 January 2009. Listed as Vulnerable (VU A1cd v2.3)
  2. Macdonald, D. (1984). The Encyclopedia of Mammals: 1. London: Allen & Unwin. p. 446. ISBN 0-04-500028-X.
  3. Montgomery, S. (2002). Search for the golden moon bear: science and adventure in Southeast Asia. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-0584-9. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011.
  4. 4.0 4.1 Baluchistan black bear Ursus thibetanus (G. Cuvier, 1823)
  5. 5.0 5.1 Pocock, R. I. (1941). The Fauna of British India, including Ceylon and Burma. Mammalia. Volume 2. Taylor and Francis, London.
  6. Bears Of The World. "Himalayan Black Bear". Bears Of The World. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  7. ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 60-61. ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ursus thibetanus ที่วิกิสปีชีส์