ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


'''พันธกิจของ อพท.'''

1. ประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการการท่องเที่ยว ไม่ว่าในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น
2. ประสานงานการใช้อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ผังเมือง สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว หรือ การรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
7. ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
8. ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น
'''ยุทธศาสตร์'''
'''ยุทธศาสตร์'''

อพท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 6 ประการ ได้แก่
อพท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 6 ประการ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การประสานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การประสานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:30, 6 พฤศจิกายน 2553

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
ไฟล์:Dasta thai.JPG
ภาพรวมองค์การมหาชน
งบประมาณประจำปี184,224,100 บาท (พ.ศ. 2554)[1]
เว็บไซต์http://www.dasta.or.th

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นองค์การมหาชนของไทย สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 49ก ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 [2]

ปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

หน้าที่ของหน่วยงาน

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีหน้าที่บริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และประสานงานกับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ

วิสัยทัศน์ของ อพท.

อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์

อพท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 6 ประการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การประสานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสินค้า บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษและการท่องเที่ยวชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเครือข่ายการพัฒนาทุกภาคส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การให้บริการด้านองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  1. หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง
  2. เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  3. เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง

ปัจจุบัน อพท. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อประกาศพื้นที่พิเศษเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง คือ อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร , หัวหิน ชะอำ เป็นต้น

พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชน

นอกจากการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว อพท. ยังได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีชุมชนเป้าหมาย 3 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนบ้านวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
  2. ชุมชนบ้านท่าลัง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
  3. ชุมชนบ้านบางโรง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

การบริหารงาน

ปัจจุบัน อพท. มีผู้อำนวยการคือ พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล