ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leeds United A.F.C.)
สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด
ฉายานกยูง
ยูงทอง (ภาษาไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1919
สนามเอลแลนด์โรด
ความจุ37,792[1]
เจ้าของAser Group Holding (56%)
49ers Enterprises (44%)[2]
ประธานแอนเดรีย​ ราดริซซานิ
หัวหน้าผู้ฝึกสอนดานีเอล ฟาร์เคอ
ลีกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป
2023–24อันดับที่ 3 จาก 24
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Leeds United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองลีดส์ในเทศมณฑลเวสต์ยอร์กเชอร์ ปัจจุบันสโมสรลงแข่งขันในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ซึ่งเป็นลีกลำดับที่สองของฟุตบอลอังกฤษ

สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1919 หลังจากที่สโมสรลีดส์ซิตีถูกสั่งยุบทีมโดยฟุตบอลลีก ซึ่งลีดส์ยูไนเต็ดได้เข้าไปใช้งานสนามเอลแลนด์โรดแทนเจ้าของเดิม โดยล่าสุดพวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นมาในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022–23 ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของพวกเขานั้นอยู่บนลีกสูงสุด โดยช่วงเวลาที่อยู่บนลีกสูงสุดยาวนานที่สุดคือ 18 ปีระหว่าง ค.ศ. 1964 ถึง 1982 และช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่บนลีกสูงสุดยาวนานที่สุดคือ 16 ปีระหว่าง ค.ศ. 2004 ถึง 2020

พวกเขาชนะเลิศลีกอังกฤษสามสมัย, เอฟเอคัพหนึ่งสมัย, ลีกคัพหนึ่งสมัย, แชริตีหรือคอมมิวนิตีชีลด์สองสมัย และอินเตอร์ซิตีส์แฟร์สคัพอีกสองสมัย สโมสรเคยเข้าชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพในปี 1975 ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับไบเอิร์นมิวนิก และเคยเข้ารอบรองชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี 2001[3] สโมสรยังเคยจบอันดับรองชนะเลิศในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพปี 1973 เกียรติประวัติส่วนใหญ่ของสโมสรเกิดขึ้นภายใต้การคุมทีมของดอน เรวี ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970

ชุดเหย้าของลีดส์เป็นชุดสีขาวล้วน สโมสรมีรูปดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์กปรากฏบนตราสโมสร และมีเพลงประจำสโมสร "มาร์ชชิงออนทูเกเตอร์" (Marching on Together) ที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 1972 ลีดส์มีสโมสรคู่ปรับที่สำคัญได้แก่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเชลซี นอกจากนี้ ยังมีสโมสรคู่ปรับท้องถิ่น ได้แก่ ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์, แบรดฟอร์ดซิตี, เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด และเชฟฟีลด์เวนส์เดย์

ประวัติ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1904 ได้มีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นใหม่ในชื่อว่า "ลีดส์ซิตี" ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ลีดส์ยูไนเต็ด" ใน ค.ศ. 1919 และเข้าสู่ลีกอาชีพใน ค.ศ. 1920 ลีดส์นับว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 70 โดยในช่วงของดอน เรวี ลีดส์คว้าแชมป์เป็นกอบเป็นกำซึ่งเคยก้าวถึงแชมป์ยูโรเปียนคัพและลีดส์เป็นทีมสุดท้ายในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง ฤดูกาล 1991-92 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อลีกสูงสุดเป็นพรีเมียร์ลีก ในปีต่อมาและยังได้รับถ้วยรางวัลต่างๆมากเป็นอันดับที่ 3 ของอังกฤษ แต่ต่อมาทีมประสบปัญหาทางด้านการเงิน จึงต้องขายผู้เล่นตัวหลักออกจากทีมเช่น จิมมี ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์, โจนาธาน วูดเกต, มาร์ค วิดูก้า, ลี โบว์เยอร์ ,อลัน สมิธ, อารอน เลนน่อน, ร็อบบี้ ฟาวเลอร์, เอียน ฮาร์ท, พอล โรบินสัน, โอลิวิเย่ต์ ดากูส์ เป็นต้น และตกชั้นในเวลาต่อมา โดยปัจจุบันลีดส์ อยู่ภายใต้การครอบครองของ เคน เบตส์ อดีตเจ้าของเชลซีที่นำเงินมาช่วยลีดส์จากสภาพล้มละลาย ทำให้ลีดส์เริ่มมีเงินทุนกลับมาซื้อนักเตะอีกครั้ง โดยในทีมมีดาวรุ่งฝีเท้าดีอย่าง เจอร์เมน เบ็คฟอร์ด ซึ่งเป็นความหวังสูงสุดในการทำประตูของทีม ในฤดูกาล 2008-09 ลีดส์พลาดการขึ้นชั้นอย่างน่าเสียดายโดยแพ้ มิลวอลล์ รวมสองนัด 2-1 ในรอบรองชนะเลิศ ของการเพลย์ออฟขึ้นชั้นสู่อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ในฤดูกาล 2009-10 ลีดส์สามารถเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1-0 ในฟุตบอลเอฟเอคัพ จากลูกยิงของเจอร์เมน เบ็คฟอร์ด ทำให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตกรอบสามเป็นครั้งแรกในยุคของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก และทำให้ชื่อของลีดส์กลับมาเป็นหัวข้อในข่าวหนังสือพิมพ์อีกครั้ง พร้อมกับทำให้เจอร์เมน เบ็คฟอร์ด เป็นที่ต้องการตัวของทีมยักษ์ใหญ่ต่างๆ ลีดส์ซึ่งสร้างทีมขึ้นมาใหม่จากดาวรุ่ง และนักเตะที่มีประสบการณ์อย่าง โรเบิร์ต สน็อคกาส, ลูซิอาโน เบคคิโอ, แพทริค คิสนอร์โบ โชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยมด้วยการได้ตำแหน่งรองแชมป์ลีกวันเลื่อนชั้นสู่อีเอฟแอลแชมเปียนชิปหลังตกชั้นมาเมื่อ 3 ปีก่อน แล้วอีก 10 ปีต่อมา ในฤดูกาล 2019-20 ลีดส์ยูไนเต็ด โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมสร้างผลงาน ด้วยการคว้าแชมป์อีเอฟแอลแชมเปียนชิปเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก ในรอบ 16 ปี หลังจากห่างหายไปนาน ตั้งแต่ฤดูกาล 2003-04 แล้วได้เลื่อนชั้นกลับมาสู่ลีกสูงสุด อีกครั้ง

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2024[4]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ฝรั่งเศส อีล็อง เมลีเย
3 DF สเปน ยูนิออร์ ฟีร์โป
4 MF เวลส์ Ethan Ampadu
5 DF อังกฤษ ชาร์ลี เครสเวลล์
6 DF สกอตแลนด์ เลียม คูเปอร์ (กัปตัน)
7 FW เนเธอร์แลนด์ Joël Piroe
8 MF ฟินแลนด์ Glen Kamara
9 FW อังกฤษ แพทริก แบมฟอร์ด
10 FW เนเธอร์แลนด์ Crysencio Summerville
12 MF อังกฤษ Jaidon Anthony (ยืมตัวจาก บอร์นมัท)
13 GK นอร์เวย์ คริสตอฟเฟอร์ กลาส์ซอน
14 DF เวลส์ โจ โรดัน (ยืมตัวจาก ทอตนัมฮอตสเปอร์)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 MF ไอร์แลนด์เหนือ สจวร์ต แดลลัส (กัปตันคนที่สาม)
17 MF อังกฤษ เจมี แช็คเคิลตัน
19 MF อังกฤษ แซม กรีนวุด
20 MF เวลส์ แดเนียล เจมส์
21 DF เนเธอร์แลนด์ ปาสกาล สเตร๊าจ์
22 MF อังกฤษ อาร์ชี เกรย์
23 MF โคลอมเบีย Luis Sinisterra
25 DF เดนมาร์ก Rasmus Kristensen
28 GK อังกฤษ คาร์ล ดาร์โลว์
29 FW อิตาลี Wilfried Gnonto
30 FW อังกฤษ โจ เกลฮาร์ดท์
33 DF นอร์เวย์ Leo Hjelde
37 DF อังกฤษ Cody Drameh
43 MF โปแลนด์ มาเตอุซ คลิค

ผู้เล่นที่ปล่อยยืม

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 MF แองโกลา เอลแดร์ คอสตา (at Al-Ittihad จนจบฤดูกาล)
26 MF อังกฤษ Lewis Bate (at Oxford United จนจบฤดูกาล)
39 MF สกอตแลนด์ Stuart McKinstry (at Motherwell จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
44 MF โปแลนด์ Mateusz Bogusz (at Ibiza จนจบฤดูกาล)
47 MF อังกฤษ Jack Jenkins (at Salford City จนจบฤดูกาล)
MF อังกฤษ Ian Poveda (at Blackpool จนจบฤดูกาล)
FW เวลส์ Tyler Roberts (at Queens Park Rangers จนจบฤดูกาล)

100 ผู้เล่นที่ดีที่สุดตลอดกาลของสโมสร

[แก้]

[5]

  1. สกอตแลนด์ บิลลี เบรมเนอร์
  2. เวลส์ จอห์น ชาร์ลส์
  3. สกอตแลนด์ เอ็ดดี เกรย์
  4. สกอตแลนด์ Bobby Collins
  5. อังกฤษ Allan Clarke
  6. อังกฤษ Jack Charlton
  7. อังกฤษ นอร์แมน ฮันเตอร์
  8. อังกฤษ Paul Reaney
  9. สกอตแลนด์ Peter Lorimer
  10. อังกฤษ Mick Jones
  11. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ Johnny Giles
  12. อังกฤษ Paul Madeley
  13. อังกฤษ เทอร์รี คูเปอร์
  14. สกอตแลนด์ กอร์ดอน สตรัคคั่น
  15. อังกฤษ ไนเจล มาร์ติน
  16. แอฟริกาใต้ รูคัส ราเดเบ้
  17. แอฟริกาใต้ Albert Johanneson
  18. อังกฤษ Tony Currie
  19. อังกฤษ Grenville Hair
  20. สกอตแลนด์ Joe Jordan
  21. อังกฤษ Mick Bates
  22. สกอตแลนด์ แกรี่ แม็คอัลลิสเตอร์
  23. เวลส์ แกรี สปีด
  24. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ แกรี่ เคลลี่
  25. อังกฤษ เฟเบียน เดลฟ์
  1. ออสเตรเลีย มาร์ค วิดูก้า
  2. อังกฤษ Lee Chapman
  3. เวลส์ Gary Sprake
  4. อังกฤษ Duncan McKenzie
  5. อังกฤษ Trevor Cherry
  6. อังกฤษ อลัน สมิธ
  7. สกอตแลนด์ เดวิด ฮาร์วีย์
  8. อังกฤษ Tony Dorigo
  9. อังกฤษ เดวิด แบ๊ตตี้
  10. ฝรั่งเศส เอริค คันโตน่า
  11. อังกฤษ Mel Sterland
  12. กานา Tony Yeboah
  13. อังกฤษ โจนาธาน วู๊ตเกต
  14. อังกฤษ ลี โบวเยอร์
  15. อังกฤษ Mervyn Day
  16. ออสเตรเลีย แฮร์รี คีเวลล์
  17. สกอตแลนด์ Gordon McQueen
  18. สกอตแลนด์ โดมินิค มัตเตโอ
  19. อังกฤษ ไมเคิล บริดจ์
  20. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เอียน ฮาร์ท
  21. อังกฤษ ดอน เรวี่
  22. อังกฤษ ไบรอัน กรีนฮอฟฟ์
  23. อังกฤษ Chris Fairclough
  24. อังกฤษ John Lukic
  1. สกอตแลนด์ แฟรงค์ เกรย์
  2. อังกฤษ Imre Varadi
  3. อังกฤษ Rod Wallace
  4. อังกฤษ พอล โรบินสัน
  5. สกอตแลนด์ อาร์เธอร์ เกรย์แฮม
  6. อังกฤษ Andy Ritchie
  7. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ร็อบบี คีน
  8. เวลส์ Brian Flynn
  9. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ John Sheridan
  10. เวลส์ Vinnie Jones
  11. อังกฤษ David Wetherall
  12. สกอตแลนด์ Tom Jennings
  13. อังกฤษ Charlie Keetley
  14. อังกฤษ Ian Snodin
  15. สกอตแลนด์ Kenny Burns
  16. อังกฤษ Scott Sellars
  17. อังกฤษ ไบรอัน ดีน
  18. เวลส์ Carl Harris
  19. อังกฤษ โอเอล วีแลน
  20. สกอตแลนด์ John Hendrie
  21. อังกฤษ แดนนี มิลด์
  22. อังกฤษ Russell Wainscoat
  23. อังกฤษ Carl Shutt
  24. อังกฤษ ร็อบบี ฟาวเลอร์
  25. อังกฤษ Neil Aspin
  1. อาร์เจนตินา Alex Sabella
  2. อังกฤษ เดวิด โรคาสเซิ่ล
  3. อังกฤษ Ernie Hart
  4. สกอตแลนด์ Tommy Wright
  5. สกอตแลนด์ Jimmy Dunn
  6. อังกฤษ Ian Baird
  7. อังกฤษ Paul Hart
  8. อังกฤษ Jack Milburn
  9. อังกฤษ เทร์รี คอนเนอร์
  10. ไอร์แลนด์เหนือ John McClelland
  11. นอร์เวย์ อาล์ฟ-อิงเก้ ฮาแลนด์
  12. อังกฤษ Chris Kamara
  13. อังกฤษ Kevin Hird
  14. อังกฤษ Chris Whyte
  15. อังกฤษ Frank Worthington
  16. อังกฤษ Mike O'Grady
  17. สกอตแลนด์ Willie Bell
  18. อังกฤษ Brendan Ormsby
  19. อังกฤษ Bobby Davison
  20. สกอตแลนด์ David Stewart
  21. อังกฤษ Ray Hankin
  22. อังกฤษ Peter Haddock
  23. อังกฤษ Eric Kerfoot
  24. อังกฤษ Willis Edwards
  25. สวีเดน Tomas Brolin

ชื่อของผู้เล่นที่เป็น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ได้รับการโหวตให้อยู่ใน "ทีมที่ดีที่สุดตลอดกาลของลีดส์ยูไนเต็ด"

ผู้บริหารและทีมงาน

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร มัสซีโม เซลลิโน
รองประธานสโมสร Jayne McGuinness
ผู้จัดการทีม ดานีเอล ฟาร์เคอ
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม Steve Staunton
โค้ช Neil McDonald

การลงเล่นในลีก

[แก้]
กราฟแสดงผลงานในลีกของลีดส์ยูไนเต็ด
  • 1920–1924: ดิวิชันสอง
  • 1924–1927: ดิวิชันหนึ่ง
  • 1927–1928: ดิวิชันสอง
  • 1928–1931: ดิวิชันหนึ่ง
  • 1931–1932: ดิวิชันสอง
  • 1932–1947: ดิวิชันหนึ่ง
  • 1947–1956: ดิวิชันสอง
  • 1956–1960: ดิวิชันหนึ่ง
 

เกียรติประวัติ

[แก้]

อังกฤษ ระดับประเทศ

[แก้]
  • เอฟเอคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 1971–72
    • รองชนะเลิศ (3): 1964–65, 1969–70, 1972–73

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

[แก้]

รายการอื่น ๆ

[แก้]
  • เอฟเอยูธคัพ
    • ชนะเลิศ (2): 1993, 1997
  • โทรฟีเพลยออฟ
    • รองชนะเลิศ (1): 1971
(Decided who kept the trophy when the competition was replaced by the UEFA Cup)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 20. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  2. "Leeds United confirm fresh 49ers Enterprises investment and increased Elland Road control". www.leeds-live.co.uk. 5 November 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  3. "Leeds United F.C. History". Leeds United.com.
  4. "First Team". Leeds United F.C. สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.
  5. "Leeds Leeds Leeds 100 Greatest Leeds Players". LeedsUnited.com. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2006. Alternative Link

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]