ข้ามไปเนื้อหา

โอลิมปิกฤดูร้อน 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอลิมปิก 2016)
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31
Jogos da XXVII Olimpíada
เมืองเจ้าภาพบราซิล รีโอเดจาเนโร บราซิล
คำขวัญโลกใบใหม่
(โปรตุเกส: Um mundo novo)
ประเทศเข้าร่วม207
นักกีฬาเข้าร่วม11,551 คน
กีฬา28
พิธีเปิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พิธีปิด21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ประธานพิธีมีแชล เตเมร์
(รักษาราชการประธานาธิบดีแห่งบราซิล)
นักกีฬาปฏิญาณRobert Scheidt
ผู้ตัดสินปฏิญาณมาร์ชิญญู โนบรี
ผู้จุดคบเพลิงวังแดร์เลย์ โกร์เดย์รู จี ลีมา
สนามกีฬาหลักสนามกีฬามารากานัง
โอลิมปิกฤดูร้อน 2016
IOC · COB · ROCOG

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 (โปรตุเกส: Jogos Olímpicos de Verão de 2016) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ รีโอ 2016 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ซึ่งจัดในที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 การแข่งขันครั้งนี้มีจำนวนนักกีฬามากกว่า 10,500 คนจาก 207 ประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งครั้งนี้เป็นการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของประเทศคอซอวอและประเทศซูดานใต้ มีการชิงชัยทั้งหมด 307 เหรียญในกีฬาโอลิมปิกทั้งหมด 28 กีฬา — อาทิ กีฬารักบี้ 7 คน และกีฬากอล์ฟ ซึ่งถูกบรรจุโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ใน พ.ศ. 2551 จัดการแข่งขันทั้งหมดใน 33 สนาม ในเมืองเจ้าภาพ และอีก 5 สนาม คือ เซาเปาลู (เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศบราซิล), เบลูโอรีซองชี, ซัลวาดอร์, บราซิเลีย (เมืองหลวงประเทศบราซิล) และมาเนาช์

การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่อยู่ในภายใต้การดูแลของโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล นครรีโอเดจาเนโร ได้ถูกประกาศชื่อเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลครั้งที่ 121 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 นครรีโอเดจาเนโรนั้นเป็นเมืองแรกของทวีปอเมริกาใต้และประเทศแรกในกลุ่มภาษาโปรตุเกสที่ได้จัดโอลิมปิกฤดูร้อน และเป็นเมืองเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกที่จัดในฤดูหนาว (ซึ่งในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้เริ่มจัดการแข่งขันในวันที่ 15 กันยายน – ซึ่งอีก 5 วันถัดไป จะเป็นวสันตวิษุวัต ในซีกโลกใต้) รวมถึงเป็นเมืองแรกในรอบ 16 ปี และเป็นเมืองที่ 3 ที่เป็นเจ้าภาพในซีกโลกใต้

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]
แผนที่แสดงประเทศที่ได้เข้าร่วมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก 2016

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งนี้มีผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพหลายเมือง แต่มีเมืองที่ได้รับการคัดเลือกรอบสุดท้าย 4 เมือง[1] ได้แก่

มีการประกาศผลเมืองที่ได้เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 121 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยการประชุมครั้งนี้มีประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลประเทศ ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพเดินทางเพื่อร่วมเสนอแผนขั้นสุดท้ายก่อนลงคะแนนครบทุกประเทศ ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 และสมเด็จพระราชินีโซเฟีย พระมหากษัตริย์สเปน ยูกิโอะ ฮาโตยามะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประธานาธิบดีบารัก โอบามาแห่งสหรัฐอเมริกา พร้อมมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง และลูอิซ อีนาซีอู ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล การประกาศผลมีขึ้นในเวลาประมาณ 18.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ผลการคัดเลือก

[แก้]
รีโอเดจาเนโรได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552
การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก 2016[2]
เมือง ประเทศ รอบที่ 1 รอบที่ 2 รอบที่ 3
รีโอเดจาเนโร ธงของประเทศบราซิล บราซิล 26 46 66
มาดริด ธงของประเทศสเปน สเปน 28 29 32
โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 22 20
ชิคาโก  สหรัฐ 18

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

[แก้]
แผนที่ของสนามกีฬาในนครรีโอเดจาเนโร เพื่อจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 มีรายงานจากเว็บไซต์ AroundTheRings.com ว่านายโรเดร์เลย์ เฌเนราลี ประธานฝ่ายปฏิบัติการของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รีโอเดจาเนโร 2016 ได้ลาออกเพียงหนึ่งปีหลังจากเริ่มต้นการทำงาน ต่อจากนั้นได้แต่งตั้งนายฟลาวีอู เปสตานา มาทำหน้าที่แทน แต่อีกห้าเดือนถัดมาเขาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลส่วนตัว[3]ในระหว่างการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยปัจจุบันนายเรนาตู ซีอูชิง ได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รีโอเดจาเนโร 2016[4]

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]
สนามกีฬามารากานัง สถานที่จัดพิธีเปิด และพิธีปิด รวมถึงการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ

ในนครรีโอเดจาเนโร เขตบาร์ราดาชีฌูกา เป็นเขตที่มีจำนวนสถานที่จัดการแข่งขันของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิเกมส์ในปี 2016 มากที่สุด โดยส่วนที่เหลือของสถานที่จัดการแข่งขันจะตั้งอยู่ในสามเขตหลัก ๆ คือ ชายหาดกอปากาบานา, เขตมารากานัง และเขตเดโอดอรู นอกจากนั้นเขตบาร์ราดาชีฌูกาจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนักกีฬาในโอลิมปิกครั้งนี้

ซึ่งในตัวเมืองที่เป็นย่านประวัติศาสตร์ในนครรีโอเดจาเนโรได้มีการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำ โดยได้ตั้งโครงการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า โปร์ตูมาราวิลยา[5] โดยโครงการนี้ฟื้นฟูได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5 ตารางกิโลเมตร 2 (1.9 ตารางไมล์) โครงก​​ารนี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบริเวณท่าเรือ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของนครรีโอเดจาเนโรในเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้มีการปรับปรุงฟื้นฟูในบริเวณนครรีโอเดจาเนโรอีกมากมาย อาทิ การปรับปรุงเครือข่ายสาธารณะต่างๆ ทั้งระบบประปา, ระบบสุขาภิบาล, ระบบระบายน้ำ, ระบบไฟฟ้า, ระบบพลังงาน และระบบโทรคมนาคม ในระยะ 700 กิโลเมตร (430 ไมล์) รวมถึงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่างๆทั้ง การปรับปรุงอุโมงค์, ถนน, ทางเท้า เส้นทางจักรยาน จนกระทั่งการเพาะปลูก ฟื้นฟูต้นไม้ในบริเวณนครรีโอเดจาเนโร ในจำนวนทั้งหมด 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์), 70 กม. (43 ไมล์), 650 ตารางกิโลเมตร 2 (250 ตารางไมล์) 17 กม. (11 ไมล์) และ 15,000 ต้น ตามลำดับ และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้ง การสร้างระบบรถรางแห่งใหม่ โดยเส้นทางของรถรางนั้นได้เริ่มจากสนามบินซังตุส ดูมงต์ ไปยังสถานีขนส่งภายในนครรีโอเดจาเนโร ซึ่งกำหนดที่จะเปิดให้ใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559[6] นอกจากนั้นยังมีการสร้างรั้วเหล็ก เพื่อรักษาความปลอดภัย โดยมีระยะทางทั้งหมด 200 กิโลเมตร และได้สร้างคลังสินค้าทั้ง 2 แห่ง ในเขตบาร์รา และเขตดูกีจีกาเชียส เพื่อเก็บอุปกรณ์ในหมู่บ้านนักกีฬา และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการแข่งขันตามลำดับ[7]

ในขณะที่นครรีโอเดจาเนโรอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อจัดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ แต่ก็ยังมีความกังวลว่าบางส่วนของโครงการจะไม่เป็นรูปธรรม[8]

หมู่บ้านนักกีฬา

[แก้]

หมู่บ้านนักกีฬาในโอลิมปิกครั้งนี้ถือว่าจเป็นหมู่บ้านนักกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งมีอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ เก้าอี้จำนวน 80,000 ตัว, โต๊ะจำนวน 70,000 ตัว, ที่นอนจำนวน 29,000 ที่, ไม้แขวนเสื้อ 60,000 อัน, โทรทัศน์ 6,000 เครื่อง และสมาร์ทโฟน 10,000 เครื่อง[7]

กีฬาฟุตบอล

[แก้]

นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่จะจัดแข่งขันภายใน 5 สนามจาก 5 เมือง นอกนครรีโอเดจาเนโร คือ เซาเปาลู, เบลูโอรีซองชี, ซัลวาดอร์, กรุงบราซิเลีย และมาเนาช์

เทคโนโลยี

[แก้]
สวนสาธารณะในนครรีโอเดจาเนโร
ศูนย์กีฬาในร่มมารากานังซิญญู สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ทะเลสาบโรดรีกูจีเฟรย์ตัส สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเรือพาย และกีฬาเรือแคนู

กีฬาโอลิมปิกครั้งนี้จะมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์แบบใหม่ที่สร้างขึ้นโดยมาร์กรอเบิร์ตโมชันคันโทรล ที่จะช่วยช่างภาพให้ได้ภาพที่ทั่วถึงในสถานที่ต่าง ๆ[9]

ความปลอดภัย

[แก้]

นับตั้งแต่ที่นครรีโอเดจาเนโรได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เทศบาลนครรีโอเดจาเนโรได้เอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมมากขึ้น ในขณะนั้นนายกเทศมนตรีของนครรีโอเดจาเนโรได้ยอมรับว่า "ปัญหาใหญ่" ของการแข่งขันครั้งนี้คือความปลอดภัยที่ปราศจากความรุนแรง อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวเกี่ยวกับความกังวล และปัญหาที่จะเผชิญ ขณะเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกแก่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล[10] ผู้ว่าราชการของนครรีโอเดจาเนโรยังเน้นความจริงที่ว่ากรุงลอนดอนต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัย เนื่องจากมีการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เพียงไม่กี่ชั่วโมง

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้แสดงความคิดเห็นในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถของเมืองเจ้าภาพ และประเทศของบราซิลที่มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยบอกว่า เจ็ดปีเป็นเวลามากพอสำหรับนครรีโอเดจาเนโรในการกวาดล้างปัญหาอาชญากรรม[11] นายมาร์ก แอดัมส์ โฆษกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บอกแก่สื่อว่า "เรามีความเชื่อมั่นในความสามารถของพวกเขาที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกที่ปลอดภัยในรอบเจ็ดปี การรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไม่ว่ามันอยู่ที่ไหนในโลก โดยปัญหานี้เป็นวาระดับชาติ ภูมิภาค รวมถึงเมืองเจ้าภาพ และเจ้าหน้าที่"[12] [13][14] นายลูลา ดา ซิลวา อดีตประธานาธิบดีบราซิลตั้งข้อสังเกตว่าการที่ได้เป็นเมืองเจ้าภาพนั้น เจ้าภาพจะต้องเห็นความสำคัญในรายระเอียดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอย่างการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันเกมส์ 2007[15]

หน่วยงานในนครรีโอเดจาเนโรกำลังวางแผนที่จะทำให้ นครรีโอเดจาเนโรและละแวกใกล้เคียงหรือชุมชนแออัดให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งมีหน่วยตำรวจชุมชน (UPPs) ที่จะสร้างความไว้วางใจในแต่ละชุมชน โดยการลาดตระเวนตามท้องถนนและการทำงานของเทศบาล[16] นอกจากนี้สถาบันความปลอดภัยภายในท้องถิ่นรายงานว่าอัตราการฆาตกรรมในนครรีโอเดจาเนโรภายใน 5 เดือนแรกของ พ.ศ. 2555 อยู่ในช่วงต่ำที่สุดในรอบ 21 ปี โดยมีคดีฆาตกรรม 10.9 คดีต่อประชากรทั้งหมด 100,000 คน[17][18] อย่างไรก็ตามแม้จะมีการลดลงในคดีฆาตกรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังมีการสังเกตการณ์การวิสามัญฆาตกรรมในประเทศบราซิล[19]

ความกังวลหลังการแข่งขัน

[แก้]

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หนังสือพิมพ์ ลอนดอนอีฟนิงสแตนดาร์ด รายงานว่านายจอห์น โคตส์ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้กล่าวเกี่ยวกับการเตรียมการของบราซิลว่า "เป็นที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ฉันเคยประสบมา" และได้กล่าวกับการก่อสร้างและโครงการโครงสร้างพื้นฐานของโอลิมปิกครั้งนี้มีความล่าช้ากว่ากำหนดการว่า "คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้จัดตั้งทีมงานพิเศษโดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้การเตรียมการครั้งนี้รวดเร็วกว่าเดิม ในสถานการณ์ที่วิกฤต"[20][21][22]

แม้จะมีความกังวลเหล่านี้ แต่คณะกรรมการโอลิมปิกรีโอได้รายงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่าสถานที่จัดการแข่งขันส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ยกเว้นสนามรีโอโอลิมปิกเวโลโดรม (เสร็จเพียงร้อยละ 76) และสนามกีฬาเยาวชนเดโอดอรู (เสร็จเพียงร้อยละ 75)

งบประมาณ

[แก้]
แผนที่ระบบขนส่งสาธารณะในนครรีโอเดจาเนโร ในเขตโอลิมปิกบาร์รา
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ในสนามบินนานาชาติรีโอเดจาเนโร โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่การแข่งขันโอลิมปิกได้
รีโอเดจาเนโรเมโทร

ระยะที่ 1 – เมืองผู้สมัครเจ้าภาพโอลิมปิก

[แก้]
แหล่งเงินทุน รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น รวม
กองทุนภาครัฐ 3,022,097.88 เรอัลบราซิล 3,279,984.98 เรอัลบราซิล 6,302,082.86 เรอัลบราซิล
กองทุนภาคเอกชน 2,804,822.16 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด 9,106,905.02 เรอัลบราซิล

ระยะที่ 2 – เมืองคัดเลือกเจ้าภาพสุดท้าย

[แก้]

งบประมาณภาครัฐ

แหล่งเงินทุน กองทุนภาครัฐ
รัฐบาลกลาง 47,402,531.75 เรอัลบราซิล
รัฐบาลท้องถิ่น (รัฐ) 3,617,556.00 เรอัลบราซิล
รัฐบาลท้องถิ่น (เมือง) 4,995,620.93 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด 56,015,708.68 เรอัลบราซิล

งบประมาณภาคเอกชน

แหล่งเงินทุน กองทุนภาคเอกชน
อีบีเอ็กซ์ 13,000,000.00 เรอัลบราซิล
นายอีเก ปาติสตา 10,000,000.00 เรอัลบราซิล
บราเดสโก 3,500,000.00 เรอัลบราซิล
โอเดอเบรชท์ 3,300,000.00 เรอัลบราซิล
เอ็มบราเทล 3,000,000.00 เรอัลบราซิล
สายการบินทีเอเอ็ม¹ 1,233,726.00 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด 34,033,726.00 เรอัลบราซิล

¹ สายการบินทีเอเอ็ม ลงทุนทั้งหมด 1,233,726.00 เรอัลบราซิล ด้วยการลดตั๋วเครื่องบิน

หมายเหตุ: โดยเงินทุนที่เหลือจะนำมาใช้ในคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกรีโอ 2016 ในช่วงหนึ่งเดือนแรก[23]

การลงทุน

[แก้]
โอลิมปิก/เมือง การลงทุน ภาครัฐ ภาคเอกชน
โอลิมปิกพาร์ก 5.6 แสนล้านเรอัลบราซิล 1.46 แสนล้านเรอัลบราซิล 4.18 แสนล้านเรอัลบราซิล
ระบบขนส่งสาธารณะ 24 แสนล้านเรอัลบราซิล 13.7 แสนล้านเรอัลบราซิล 10.3 แสนล้านเรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด 29.6 แสนล้านเรอัลบราซิล 15.16 แสนล้านเรอัลบราซิล 14.48 แสนล้านเรอัลบราซิล

หมายเหตุ: จำนวนเงินทั้งหมดในการลงทุนโอลิมปิกพาร์กและระบบขนส่งสาธารณะ ในนครรีโอเดจาเนโรในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016[24]

การวิ่งคบเพลิง

[แก้]
การวิ่งคบเพลิงที่วิหารแห่งบราซิเลีย ในกรุงบราซิเลีย และวังเดร์เลย์ โกร์เดย์รู จี ลีมา นักวิ่งมาราธอน

เพลิงโอลิมปิกได้ถูกจุดที่วิหารฮีรา ในเมืองโอลิมเปีย เมื่อวันที่ April 21, 2016 ซึ่งเป็นสถานที่จุดเพลิง ตามประเพณีโอลิมปิก หลังจากนั้นวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 เพลิงโอลิมปิกได้ถูกส่งมอบให้กับประเทศบราซิลที่สนามกีฬาแพแนทิเนอิกในกรุงเอเธนส์ แล้วนำเพลิงโอลิมปิกไปยังสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกในเมืองโลซาน และสำนักงานสหประชาชาติที่เจนีวา[25]

การวิ่งคบเพลิงในประเทศบราซิลได้เริ่มต้นที่กรุงบราซิเลีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิลในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 การวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้ได้ผ่านเมืองทั้งหมดมากกว่า 300 เมืองในประเทศบราซิล (ประกอบไปด้วย 26 รัฐ และเขตการปกครองพิเศษ)[26] สุดท้ายของการวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้จะถูกจุดที่สนามกีฬามารากานัง ขณะพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ในนครรีโอเดจาเนโร

การจองตั๋ว

[แก้]

การแข่งขัน

[แก้]

พิธีเปิด

[แก้]

พิธีเปิดจะมีขึ้นที่สนามกีฬามารากานัง ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2016

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 28 ชนิด รวมทั้งหมดคิดเป็น 41 ประเภท จาก 306 เหรียญทอง และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของกีฬาแต่ละรายการ

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน

[แก้]
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

[แก้]

ปฏิทินนี้เป็นฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับการประกาศขายตั๋วเข้าชมอย่างเป็นทางการ[27]

เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขัน 1 จำนวนเหรียญทอง EG พิธีการจัดเลี้ยง ปิด พิธีปิด
สิงหาคม 3
พ.
4
พฤ.
5
ศ.
6
ส.
7
อา.
8
จ.
9
อ.
10
พ.
11
พฤ.
12
ศ.
13
ส.
14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
ศ.
20
ส.
21
อา.
เหรียญทอง
พิธีการ (พิธีเปิด / พิธีปิด) เปิด ปิด
ยิงธนู 1 1 1 1 4
กรีฑา 3 5 4 5 5 4 6 7 7 1 47
แบดมินตัน 1 1 2 1 5
บาสเกตบอล 1 1 2
มวยสากลสมัครเล่น 1 1 1 1 1 1 3 4 11
แคนู สลาลม 1 1 2 16
สปรินท์ 4 4 4
จักรยาน ประเภทถนน 1 1 2 18
ประเภทลู่ 1 2 2 1 1 3
บีเอ็มเอ็กซ์ 2
เสือภูเขา 1 1
กระโดดน้ำ 1 1 1 1 1 1 1 1 8
ขี่ม้า 2 1 1 1 1 6
ฟันดาบ 1 1 1 1 2 1 1 1 1 10
ฮอกกี้ 1 1 2
ฟุตบอล 1 1 2
กอล์ฟ 1 1 2
ยิมนาสติก สากล 1 1 1 1 4 3 3 EG 18
ลีลา 1 1
แทรมโพลีน 1 1
แฮนด์บอล 1 1 2
ยูโด 2 2 2 2 2 2 2 14
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 1 1 2
เรือพาย 2 4 4 4 14
รักบี้ 7 คน 1 1 2
เรือใบ 2 2 2 2 2 11
ยิงปืน 2 2 2 1 2 1 2 2 1 15
ว่ายน้ำ 4 4 4 4 4 4 4 4 1 1 34
ระบำใต้น้ำ 1 1 2
เทเบิลเทนนิส 1 1 1 1 4
เทควันโด 2 2 2 2 8
เทนนิส 1 1 3 4
ไตรกีฬา 1 1 2
วอลเลย์บอล ชายหาด 1 1 4
ในร่ม 1 1
โปโลน้ำ 1 1 2
ยกน้ำหนัก 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 15
มวยปล้ำ 2 2 2 3 3 2 2 2 15
รวมเหรียญทอง 12 14 14 15 20 19 24 21 22 17 25 16 23 22 30 12 306
รวมการสะสมจากวันก่อน 12 26 40 55 75 94 118 139 161 178 203 219 242 264 294 306
สิงหาคม 3
พ.
4
พฤ.
5
ศ.
6
ส.
7
อา.
8
จ.
9
อ.
10
พ.
11
พฤ.
12
ศ.
13
ส.
14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
ศ.
20
ส.
21
อา.
จำนวนเหรียญทอง


สัญลักษณ์

[แก้]

สัญลักษณ์ของการแข่งขันออกแบบโดยบริษัทบราซิล Tatíl Design โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553[28] โดยในมุมหนึ่งเป็นรูปเสมือนคนสามคนจับมือกันเต้นรำเป็นวงกลม โดยมี 3 สี คือ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีเขียว ตามสีธงชาติบราซิล และอีกมุมหนึ่งจำลองลักษณะของภูเขาชุการ์โลฟ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเมืองรีโอ ในขณะที่อีกมุมหนึ่งเป็นข้อความจำลองคำว่า R I O[29] แนวคิดของสัญลักษณ์มาจากแนวความคิด 4 เรื่องได้แก่ พลังที่ส่งถึงกัน ความหลากหลายที่กลมกลืน ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และจิตวิญญาณโอลิมปิก[30]

พิธีปิด

[แก้]

พิธีปิดจะมีขึ้นที่สนามกีฬามารากานัง ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016

สถิติโลก

[แก้]

มีการบันทึกสถิติโลกใหม่ 27 รายการและบันทึกสถิติโอลิมปิกใหม่ 91 รายการในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 สถิติได้รับการบันทึกในการแข่งขัน ยิงธนู, กรีฑา, แคนู, จักรยานประเภทลู่, ปัญจกีฬาสมัยใหม่, เรือพาย, ยิงปืน, ว่ายน้ำ และยกน้ำหนัก

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]
      ประเทศบราซิล (เจ้าภาพ)
      ไทย
แผนที่โลกแสดงการได้รับเหรียญของแต่ละประเทศระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
สัญลักษณ์:
      สีทอง หมายถึง ประเทศนั้นได้อย่างน้อยหนึ่งเหรียญทอง
      สีเงิน หมายถึง ประเทศนั้นได้อย่างน้อยหนึ่งเหรียญเงิน
      สีทองแดง หมายถึง ประเทศนั้นได้อย่างน้อยหนึ่งเหรียญทองแดง
      สีน้ำเงิน หมายถึง ประเทศนั้นไม่ได้เหรียญใดๆ
      สีแดง หมายถึง ประเทศนั้นไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
โอลิมปิกฤดูร้อน 2016
IOC · COB · ROCOG

สรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นรายชื่อของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจัดอันดับตามจำนวนเหรียญที่ได้รับระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม – 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016

ประเทศเวียดนาม, ประเทศคอซอวอ, ประเทศฟีจี, ประเทศสิงคโปร์และปวยร์โตรีโก ได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกเป็นครั้งแรก โดยที่ประเทศคอซอวอ และประเทศฟีจีได้รับเหรียญโอลิมปิกเป็นครั้งแรก[31][32][33][34][35][36]

ตารางสรุปเหรียญ

[แก้]

ด้านล่างนี้เป็นตารางสรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ตามการนับเหรียญของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล อันดับเหล่านี้เรียงตามจำนวนเหรียญทองที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติได้รับ จำนวนเหรียญเงินจะถูกพิจารณาเป็นลำดับถัดไป และสุดท้ายเป็นจำนวนเหรียญทองแดง หากเท่ากันทั้งเหรียญทอง เงินและทองแดง จะมีการให้อันดับเท่ากันและจะลงรายการตามตัวอักษรตามรหัสประเทศคณะกรรมการโอลิมปิกสากล แม้คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะให้สารสนเทศข้างต้นนี้ แต่คณะกรรมการฯ เองไม่ได้รับรองหรืออนุมัติระบบจัดอันดับใด ๆ[37]

  • ในกีฬามวยสากล (13 ประเภท) ยูโด (14) เทควันโด (8) และมวยปล้ำ (18) จะมีการมอบเหรียญทองแดงให้สองเหรียญในแต่ละขั้นน้ำหนัก (รวมเหรียญทองแดงเพิ่มเติม 53 เหรียญ)

  *  บราซิล

2016 Summer Olympics medal table[38][A]
ลำดับที่NOCทองเงินทองแดงรวม
1 สหรัฐ463738121
2 สหราชอาณาจักร27231767
3 จีน26182670
4 รัสเซีย19172056
5 เยอรมนี17101542
6 ญี่ปุ่น1282141
7 ฝรั่งเศส10181442
8 เกาหลีใต้93921
9 อิตาลี812828
10 ออสเตรเลีย8111029
11–86Remaining124150181455
รวม (86 NOC)306307359972

</onlyinclude>

อ้างอิง

[แก้]
  1. Associated Press (4 มิถุนายน 2008). "Chicago among finalists to host 2016 Olympics". sportsillustrated.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2022.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "GamesBids.com Past Olympic Host Cities Selection List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
  3. "Around the Rings - Articles Archive". aroundtherings.com. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.[ลิงก์เสีย]
  4. "Rio 2016™ contrata Renato Ciuchini como Diretor-Executivo Comercial" (ภาษาโปรตุเกส). Portal Fator Brasil. 5 September 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
  5. "Porto Maravilha" [ศาลากลางนครรีโอเดจาเนโร] (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ August 10, 2012.
  6. "Rio tram starts test running". Railway Gazette. November 26, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2016.
  7. 7.0 7.1 "8,400 shuttlecocks, 250 golf carts, 54 boats... the mind-blowing numbers behind the Rio 2016 Games". rio2016.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-07. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
  8. Jaroschewski, Julia (April 29, 2016). "Between hope and despair". D+C, development and cooperation. สืบค้นเมื่อ May 25, 2016.
  9. Simon, Johnny (4 June 2016). "Rio Games to have smart sports cameras". Mashable.com. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  10. "Rio's mayor expresses safety concerns for 2016 Olympics , ksdk.com , St. Louis, MO". ksdk.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2010.
  11. Wilson, Stephen (October 20, 2009). "IOC confident in Rio despite new wave of violence". Boston Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2009. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
  12. "Olympic Newsdesk — IOC Confident in Rio; Obama Addresses Critics". Aroundtherings.com. October 21, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2013. สืบค้นเมื่อ August 15, 2010.
  13. "Luiz Inácio Lula da Silva". สืบค้นเมื่อ February 19, 2016.
  14. "IOC show confidence in Brazil efforts". ESPN. October 20, 2009. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
  15. Downie, Andrew (October 19, 2009). "Brazil vows Olympic security after Rio violence". MinnPost. สืบค้นเมื่อ December 23, 2019 – โดยทาง Cristian Science Monitor.
  16. "Pacifying Rio's Favelas". latintelligence.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-26. สืบค้นเมื่อ June 22, 2011.
  17. Knott, Tracey (June 29, 2012). "Rio de Janeiro Homicides Reach 21-Year Low". InSight Crime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-28. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  18. "Homicidios en Río de Janeiro llegan a su nivel más bajo desde 1991". La Nueva Provincia (ภาษาสเปน). June 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  19. Stone, Hannah (June 19, 2012). "Human Rights Watch Praises, Criticizes Rio Govt". InSight Crime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-03. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  20. Moore-Bridger, Benedict (May 9, 2014). "Could Rio games come to London? Olympic bosses make secret plea to use 2012 venues". ลอนดอน อีฟนิง สแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  21. Gibson, Owen (April 29, 2014). "Rio 2016 Olympic preparations damned as 'worst ever' by IOC". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  22. "Rio's Olympic preparations 'worst' ever, says IOC's Coate". Reuters. April 29, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  23. "Frequently Asked Questions". รีโอ 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-28. สืบค้นเมื่อ October 31, 2015.
  24. "G1 - Passada crise com o COI, Paes diz que obras da Rio 2016 estão 'na mão' - notícias em Rio 450 anos". Rio 450 anos. สืบค้นเมื่อ October 31, 2015.
  25. "Greek fire lights up Rio 2016 Games... Olympic Torch lit in traditional ceremony at Olympia". เว็บไซต์รีโอ 2016. April 21, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-24. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  26. "Goiás will be the first state to receive the Rio 2016 Olympic Flame". Diário Mercantil. April 29, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
  27. "Tickets". NOC*NSF. 31 March 2015. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  28. Nudd, Tim (2012-08-14). "Hated the London 2012 Logo? You Might Like Rio 2016 Better Brazil's Tatíl Design tells story of its creation". Adweek. สืบค้นเมื่อ 2012-08-14.
  29. Making of Rio 2016 logo
  30. "2016 Summer Olympics Logo: Design and History". Famouslogos.us. 28 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  31. "2016 Rio Olympics Medals Tally". 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
  32. "Rio Olympics 2016: Vietnam win first ever Games gold". BBC.com. 6 August 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
  33. "Majlinda Kelmendi wins gold for Kosovo's historic first Olympic medal". CNN.com. 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
  34. "Fiji wins rugby sevens for nation's first Olympic gold". usatoday.com. 11 August 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
  35. "Olympics: Joseph Schooling's coronation complete as he wins Singapore's first gold". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
  36. "Rio Olympics 2016: Monica Puig wins Puerto Rico's first ever gold medal". BBC.com. 13 August 2016. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
  37. Shipley, Amy (25 August 2008). "China's Show of Power". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 28 August 2011.
  38. "Rio 2016 Olympic Medal Table – Gold, Silver & Bronze". International Olympic Committee. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2024. สืบค้นเมื่อ 7 August 2024.
  39. Sherman, Rodger (10 August 2016). "A Kuwaiti won gold, but the Olympic anthem played". SB Nation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  40. "IOC suspends Kuwait's national Olympic committee". USA Today. Associated Press. 26 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  41. Allen, Scott (27 November 2021). "The IOC banned his country, then raised its own flag after Kuwaiti wins gold". The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  42. Treacy, Dan (26 July 2024). "Who are independent Olympic athletes? Meet the group competing under the AIN flag at 2024 Summer Olympics". The Sporting News (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  1. Figures in table reflect all official changes in medal standings.
  2. The Independent Olympic Athletes team was composed of nine Kuwaiti athletes competing under the Olympic flag, as the Kuwait Olympic Committee had been suspended by the IOC due to political interference.[39][40][41] While the Refugee Olympic Team also competed under the Olympic flag, they were not considered independent.[42]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ความกังวลและข้อถกเถียง

[แก้]

ช่วงเตรียมความพร้อมไปสู่การแข่งขันได้ถูกตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของบราซิล การแพร่ระบาดของไวรัสซิกาและมลพิษที่สำคัญในอ่าวกวานาบารา และเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสารกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียซึ่งส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของนักกีฬาในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามไม่มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ได้รับเชื้อไวรัสซิกา[1] และการแข่งขันเกิดขึ้นตามปกติโดยไม่มีเหตุการณ์สำคัญใด ๆ[2][3][4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "U. study: Olympic athletes in Rio dodged Zika, but not West Nile and other mosquito-borne illnesses". The Salt Lake Tribune. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  2. "Have the Olympics been worth it for Rio?". The Guardian. 21 Aug 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019. For politicians and administrators who have staked their careers on these Games, there were no shortage of reasons to declare them a success: tourist numbers were reasonably high (in excess of the 500,000 target, according to the government), sales goals were reached, the infrastructure remained standing, Zika fears proved unfounded and Brazil won more medals than at any previous Games.
  3. "Has the Olympics been a success for Brazil?". BBC News. 20 Aug 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019. Indeed, for the second time in two years, Brazil has shown it can successfully stage a major international sporting jamboree.
  4. "How do we know that Rio 2016 was a success". International Olympic Committee. 6 Dec 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2012
(ลอนดอน สหราชอาณาจักร)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(5 สิงหาคม – 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2020
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น)