แอซวูดีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | 捷倍安, 双新艾克 |
ชื่ออื่น | 2′-deoxy-2′-β-fluoro-4′-azidocytidine (FNC), RO-0622 |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 83% (หนู, สุนัข)[2] |
การเปลี่ยนแปลงยา | ที่ตับ (CYP3A)[1] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 4 ชั่วโมง (สุนัข)[2] |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEMBL | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C9H11FN6O4 |
มวลต่อโมล | 286.223 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
แอซวูดีน (อังกฤษ: Azvudine, จีน: 阿兹夫定; พินอิน: Āzīfūdìng, RO-0622, FNC[3]) เป็นยาต้านไวรัสสองเป้าหมายซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์รีเวิร์สทรานสคริปเตสและโปรตีนเสริม Vif ของไวรัส[4][5] พัฒนาขึ้นเพื่อรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี และได้รับการพิจารณาเพื่อใช้กับโรคไวรัสอื่น ๆ เช่นโรคเอดส์ และโควิด-19[1][6] วิจัยพัฒนาโดยบริษัทเหอหนานเจินฉือเชิงอู่เค่อจี้ (河南真实生物科技, Henan Zhenzhen Biotechnology)[3] เป็นยาโมเลกุลเล็กที่เป็นอนุพันธุ์ของไซทิดีน (cytidine)[7]
ผู้วิจัยและพัฒนา
[แก้]ผู้คิดค้นยาเม็ดแอซวูดีน คือศาสตราจารย์ฉาง จุ้นเปียว (常俊标, Cháng Jùnbiāo) จากมหาวิทยาลัยเจิ้งโจว และยาได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Henan Zhenzhen Biotechnology โดยมีทีมวิจัยประกอบด้วย ตู้ จิ่นฟา (杜锦发, Dù Jǐnfā) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของบริษัท, เจี่ยง เจี้ยนตง (蒋建东, Jiǎng Jiàndōng) จากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน (中国医学科学院), จาง ฝูเจี๋ย (张福杰, Zhāng Fújié) จากโรงพยาบาลเป่ย์จิงตี้ถาน (北京地坛医院) ในสังกัดของมหาวิทยาลัยการแพทย์นครหลวง (首都医科大学), อี๋ จู่เจียง (余祖江, Yú Zǔjiāng) และเริ่น จื้อกัง (任志刚, Rèn Zhìgāng) จากโรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยเจิ้งโจวแห่งที่หนึ่ง (郑州大学第一附属医院) เป็นต้น[3]
การทดลองทางคลินิก
[แก้]เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 แอซวูดีนได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีน สำหรับใช้เป็นยาต้านโรคเอดส์[8] ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พบว่า Azvudine มีฤทธิ์ต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้[9] ในเดือนเมษายนของปี 2563 ยา Azvudine ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีนให้ทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 สำหรับการรักษา COVID-19 ตั้งแต่นั้นมีการดำเนินการทดลองระยะที่ 3 อย่างต่อเนื่องในประเทศจีน, บราซิล และรัสเซีย โดยมีผู้ป่วยที่ลงทะเบียนมากกว่า 800 ราย โดยมีทั้งผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, อาการปานกลาง และไม่รุนแรง[3]
การทดลองทางคลินิกที่ครอบคลุม แสดงให้เห็นว่าในวันที่ 7 หลังจากการให้ยาครั้งแรก สัดส่วนของผู้ที่มีอาการทางคลินิกดีขึ้นคือ 40.43% ในกลุ่มที่ได้รับยา azvudine และ 10.87% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ค่า P < 0.001) เวลาเฉลี่ยในการฟื้นตัวระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา azvudine และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)[8] ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ายาเม็ด Azvudine สามารถย่นระยะเวลาการฟื้นตัวในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการในระดับปานกลางได้อย่างมีนัยสำคัญ[8] และมีผลในการยับยั้งการทำงานของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2[3] โดยเวลาในการกำจัดไวรัสจากร่างกายประมาณ 5 วัน[8] ในแง่ของความปลอดภัยของยา Azvudine โดยทั่วไปผู้ร่วมการทดลองสามารถทนต่อยาได้ดี และไม่มีความแตกต่างทางสถิติในอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา Azvudine กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และไม่เพิ่มความเสี่ยงของอาสาสมัคร[3]
ฉาง จุ้นเปียว ผู้คิดค้นยา Azvudine กล่าวว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้, การทดลองทางคลินิก และผลทางคลินิกในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่ายานี้มีผลการรักษาที่ดีมากในผู้ป่วยวิกฤตบางราย และมีเป้าหมายต่อต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ (แอลฟา, เบตา, เดลตา, โอมิครอน เป็นต้น) ยา Azvudine มีคุณลักษณะคือปริมาณยาที่ใช้มีขนาดต่ำ, ให้ผลการรักษาที่ดี และไวรัสมีการลดจำนวนอย่างรวดเร็ว[3]
ราคา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2565 ยาเม็ดแอซวูดีนสำหรับรักษาโรคเอดส์มีราคาอยู่ที่ 25.86 หยวน/มิลลิกรัม สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ตามการเปิดเผยข้อมูลการใช้จริง ต้องใช้ยา Azvudine ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อวัน โดยชุดการรักษาใช้ยาทั้งหมด 35 มิลลิกรัม ราคาที่สอดคล้องสำหรับหนึ่งชุดการรักษาสำหรับโรคโควิด-19 โดยประมาณมากกว่า 900 หยวน และคาดว่าราคาจะลดลงเหลือ 240 หยวนต่อชุดการรักษา หลังจากมีการนำมาใช้ในปริมาณมาก[9]
หน่วยผลิต
[แก้]- 北京协和药厂有限公司 (Beijing Union Pharmaceutical Factory Co., Ltd.)[10][11] เขตต้าซิง (大兴区) กรุงปักกิ่ง
- 河南真实生物科技有限公司 (Henan Zhenzhen Biotechnology Co., Ltd.)[10][11] เมืองผิงติ่งชาน (平顶山市) มณฑลเหอหนาน
การขึ้นทะเบียน
[แก้]เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีนได้ประกาศว่า ได้ทำการอนุมัติขึ้นทะเบียนยาเม็ดแอซวูดีนอย่างมีเงื่อนไข สำหรับการรักษาโรคโควิด-19[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Liu Y, Liu B, Zhang Y, Peng Y, Huang C, Wang N, และคณะ (กรกฎาคม 2017). "Intestinal absorption mechanisms of 2'-deoxy-2'-β-fluoro-4'-azidocytidine, a cytidine analog for AIDS treatment, and its interaction with P-glycoprotein, multidrug resistance-associated protein 2 and breast cancer resistance protein". European Journal of Pharmaceutical Sciences. 105: 150–158. doi:10.1016/j.ejps.2017.05.009. PMID 28487144. S2CID 4252337.
- ↑ 2.0 2.1 Peng, Y; Cheng, T; Dong, L; Zhang, Y; Chen, X; Jiang, J; Zhang, J; Guo, X; Guo, M; Chang, J; Wang, Q (September 2014). "Quantification of 2'-deoxy-2'-β-fluoro-4'-azidocytidine in rat and dog plasma using liquid chromatography-quadrupole time-of-flight and liquid chromatography-triple quadrupole mass spectrometry: Application to bioavailability and pharmacokinetic studies". Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis. 98: 379–86. doi:10.1016/j.jpba.2014.06.019. PMID 24999865.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 河南广播电视台新乡记者站 (25 กรกฎาคม 2022). 杨薇薇 (บ.ก.). “阿兹夫定(FNC)”获批上市:用量小、效果好、病毒下降速度快. hnr.cn (ภาษาจีน). 大象新闻. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2023.
- ↑ Smith DB, Kalayanov G, Sund C, Winqvist A, Maltseva T, Leveque VJ, และคณะ (พฤษภาคม 2009). "The design, synthesis, and antiviral activity of monofluoro and difluoro analogues of 4'-azidocytidine against hepatitis C virus replication: the discovery of 4'-azido-2'-deoxy-2'-fluorocytidine and 4'-azido-2'-dideoxy-2',2'-difluorocytidine". Journal of Medicinal Chemistry. 52 (9): 2971–8. doi:10.1021/jm801595c. PMID 19341305.
- ↑ Wang RR, Yang QH, Luo RH, Peng YM, Dai SX, Zhang XJ, และคณะ (2014). "Azvudine, a novel nucleoside reverse transcriptase inhibitor showed good drug combination features and better inhibition on drug-resistant strains than lamivudine in vitro". PLOS ON. 9 (8): e105617. doi:10.1371/journal.pone.0105617. PMID 25144636.
- ↑ Harrison C (27 กุมภาพันธ์ 2020). "Coronavirus puts drug repurposing on the fast track". Nature Biotechnology News. 38 (4): 379–381. doi:10.1038/d41587-020-00003-1. PMID 32205870.
- ↑ "郑州大学常俊标教授团队研发的首个国产抗新冠口服药获批上市". 郑州大学. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "首个国产抗新冠口服药附条件获批上市". 新华网. 证券日报. 26 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
- ↑ 9.0 9.1 叶志远 (25 กรกฎาคม 2022). "概念追踪 | 首款国产新冠口服药获批上市!这些上市公司背后有合作(附概念股)". 智通财经. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
- ↑ 10.0 10.1 "国产药品 ——"国药准字H20210035"基本信息". 国家药品监督管理局. 20 กรกฎาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
- ↑ 11.0 11.1 "国产药品 ——"国药准字H20210036"基本信息". 国家药品监督管理局. 20 กรกฎาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
- ↑ "国家药监局应急附条件批准河南真实生物科技有限公司阿兹夫定片增加新冠肺炎治疗适应症注册申请". 中国国家药品监督管理局. 25 กรกฎาคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอกสารกำกับยา Azvudine (ในภาษาจีน)