รูปแบบเภสัชภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[1] รูปแบบเภสัชภัณฑ์ (อังกฤษ: Dosage form) คือรูปแบบทางกายภาพของสารประกอบทางเคมีที่นำมาใช้เป็นยา สารเคมีแต่ละกลุ่มที่นำมาใช้เป็นยานั้นมีการออกฤทธิ์และส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นรูปแบบเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ตรงกับบริเวณเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความถูกต้องตามเภสัชตำรับ

หลักเกณฑ์การจำแนก[แก้]

ในทางเภสัชกรรมมีการจำแนกรูปแบบเภสัชภัณฑ์ต่างๆ โดยอาจใช้ลักษณะในการจำแนกได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ อาทิ ลักษณะทางกายภาพของเภสัชภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย ยาเตรียมประเภทของเหลว (Liquid Dosage Forms), ยาเตรียมประเภทของแข็ง (Solid Dosage Form), ยาเตรียมประเภทกึ่งแข็ง (Semisolid Dosage Form), ยาเตรียมประเภทอื่นๆ (Miscellaneous Dosage Form) ลักษณะการนำตัวยาสู่ร่างกาย ประกอบด้วย ปาก (Oral), สูดดม (Inhalational), ฉีด (Parenteral Injection), ยาใช้ภายนอก (Topical) และยาเหน็บ (Suppository) เป็นต้น

ยาเตรียมประเภทของเหลว[แก้]

ยาเตรียมประเภทของเหลวยังนำมาจัดจำแนกตามลักษณะการละลายน้ำและยาประเภทกระจายตัวอีกดังต่อไปนี้

ยาน้ำสารละลาย[แก้]

ตัวทำละลายที่ใช้น้ำ[แก้]

  • ยาน้ำปรุง (Aroma Waters) เป็นสารอิ่มตัวของน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) หรือน้ำมันหอมระเหย (essential oil) หรือสารที่มีกลิ่นหอม (aromatic substances) ละลายในน้ำ มีลักษณะใส มีกลิ่นหอมโดยใช้สารแต่งกลิ่น
  • ยาน้ำใส (Solutions) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาสารละลาย คือยาเตรียมในรูปแบบยาน้ำใสโดยประกอบด้วยตัวยาหรือส่วนประกอบอื่นๆ ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปละลายในน้ำ ส่วนมากตัวยาเป็นสารไม่ระเหยและละลายน้ำได้ดีผสมกันอยู่ในยา ตัวทำละลายที่เป็นที่นิยมของยาประเภทนี้คือน้ำ ส่วนตัวทำละลายอื่นๆอาจมีการนำมาใช้บ้าง อาทิ แอลกอฮอล์และกลีเซอรีน
  • ยาน้ำเชื่อม (Syrups) คือยาน้ำรับประทานที่มีการแต่งรสหวานด้วยน้ำตาลหรือสารที่ใช้แทนน้ำตาล ลักษณะทางกายภาพมีความข้น หวาน อาจใช้การแต่งรสอื่นๆร่วมด้วยได้

ตัวทำละลายที่ไม่ใช้น้ำ[แก้]

ยาน้ำกระจายตัว[แก้]

กระจายผงยา[แก้]

แขวนลอยผงยาที่ไม่ละลายน้ำ[แก้]

  • ยาน้ำแขวนตะกอน
  • ยาอิมัลชั่น

ยาเตรียมประเภทของแข็ง[แก้]

ใช้จำนวนแบ่งส่วน[แก้]

ยาใช้ภายนอก[แก้]

  • ยาห่อ
  • ยาแคปซูล
  • ยาคาเซ่ต์
  • ยาลูกกลอน
  • ยาเม็ด
  • ยาอมชนิดลูกกวาด
  • ยาเม็ดอม

ยาใช้ภายใน[แก้]

  • ยาเหน็บ

ใช้จำนวนมาก[แก้]

ยาใช้ภายใน[แก้]

  • ยาผงรับประทาน
  • ยาแกรนูล
  • ยาผงฟู

ยาใช้ภายนอก[แก้]

  • ยาผงโรยแผล
  • ยาสีฟันผง
  • ยานัตถุ์
  • ยาพ่น

ยาเตรียมประเภทกึ่งของแข็ง[แก้]

  • ยาขี้ผึ้ง
  • ครีม
  • เพสท์

ยาเตรียมประเภทอื่นๆ[แก้]

  • แอโรซอล
  • สเปรย์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เภสัชวิทยา 1 (Pharmacology 1) ภก.พยงค์ เทพอักษร และคณะ