กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
Department of Rural Development
ตราสัญลักษณ์ของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 เมษายน พ.ศ. 2509
หน่วยงานก่อนหน้า
ยุบเลิก3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
หน่วยงานสืบทอด
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร

กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2509 มีหน้าที่รับผิดชอบงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (ถนน โครงสร้าง แหล่งน้ำ) ตามแผนงานพัฒนาชนบท ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท พ.ศ. 2543[1] และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ยุบรวมกิจการของกรมโยธาธิการบางส่วน และกรมเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็น "กรมทางหลวงชนบท" สังกัดกระทรวงคมนาคม

ป้ายชื่อโครงการก่อสร้างทาง สะพาน ถนนในหมู่บ้าน ระหว่างบ้านหัวดง - บ้านเขารูปช้าง จังหวัดพิจิตร และมีตราสัญลักษณ์ รพช. อยู่มุมซ้ายของป้าย
หลักกิโลเมตรของทางหลวงชนบทในความดูแลของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีอักษรย่อ รพช.

ทำเนียบเลขาธิการคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท[แก้]

  1. ประสงค์ สุขุม (2509-2511)
  2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (2511–2514)
  3. วิฑุร จักกะพาก (2514–2515)
  4. ชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (2515–2517)
  5. ชลอ วนะภูติ (2517–2520)
  6. เอนก สิทธิประศาสน์ (2520–2526)
  7. อนันต์ อนันตกูล (2526–2529)
  8. เจริญจิตต์ ณ สงขลา (2529–2530)
  9. สนั่น วงศ์พัวพันธุ์ (2530-2531)
  10. โชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์ (2531–2534)
  11. เฉลิม พรหมเลิศ (2534–2535)
  12. เชาวน์วัศ สุดลาภา (2535–2536)
  13. ประมวล รุจนเสรี (2536–2538)
  14. ศักดิ์ เตชาชาญ (2538-2540)
  15. ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ (2540–2543)

ทำเนียบอธิบดีกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท[แก้]

  1. สุดจิต นิมิตกุล (2544–2545)

หน่วยงาน[แก้]

  • ส่วนกลาง
    • สำนักงานเลขานุการกรม
    • กองการเงินและบัญชี
    • กองการเจ้าหน้าที่
    • กองก่อสร้างทางและโครงสร้าง
    • กองพัฒนาแหล่งน้ำ
    • กองควบคุมเครื่องจักรกล
    • กองโรงงานเครื่องจักรกล
    • กองบูรณะและซ่อมบำรุง
    • กองเยาวชนชนบท
    • กองส่งเสริมอาชีพและรายได้
    • กองการพัสดุและจัดซื้อ
    • กองแผนงานและโครงการ
    • กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
    • กองฝึกอบรม
    • กองวิจัยและประเมินผล
    • กองสำรวจและออกแบบ
    • ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท (10 ศูนย์)
  • ส่วนภูมิภาค
    • สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด (75 จังหวัด)

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-05.

ดูเพิ่ม[แก้]