กุรุ
อาณาจักรกุรุ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
c. 1200 BCE – c. 500 BCE | |||||||||||
Kuru and other kingdoms in the Late Vedic period. | |||||||||||
อาณาจักรกุรุและอาณาจักรอื่นๆ ในยุคพระเวท | |||||||||||
เมืองหลวง | Āsandīvat, ในภายหลังคือ หัสตินาปุระ และ อินทรปรัสถ์ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | เวทสันสกฤต | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาพราหมณ์ | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ราชา (King or Chief) | |||||||||||
• 12th–9th centuries BCE | ปรีกษิต | ||||||||||
• 12th–9th centuries BCE | พระเจ้าชเนมชยะ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคหิน | ||||||||||
• ก่อตั้ง | c. 1200 BCE | ||||||||||
• สิ้นสุด | c. 500 BCE | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินเดีย |
อาณาจักรกุรุ (อักษรโรมัน: Kuru, สันสกฤต: कुरु) เป็นชื่ออาณาจักรของชนเผ่าชาวอินโด-อารยัน อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย ในยุคหิน, ปัจจุบันมีอาณาบริเวณครอบคลุมไปถึง เดลี, รัฐหรยาณา, ปัญจาบ มีอาณาเขตทางตะวันตกผ่าน รัฐอุตตรประเทศ, ปรากฏอยู่ในยุคพระเวทตอนกลาง[1][2] (c. 1200 – c. 900 BCE)[3][note 1][4]
อาณาจักรกุรุได้เปลี่ยนแปลงประเพณีทางศาสนาของพวกเขาให้แตกต่างจากช่วงยุคพระเวทตอนต้นอย่างเด็ดขาด โดยจัดเรียง และรวบรวมบทสวดพิธีกรรมของพวกเขาที่เรียกว่าพระเวท จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมที่โดดเด่นของสมัยพระเวทตอนกลางในรัชสมัยของ ปรีกษิต และ พระเจ้าชเนมชยะ[3] แต่กลับลดความสำคัญลงในช่วงปลายยุคพระเวท (c. 900 – c. 500 BCE) และกลายเป็น "แหล่งน้ำนิ่ง"[4] ในยุคมหาชนบท ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช อย่างไรก็ตามประเพณีและตำนานเกี่ยวกับอาณาจักรกุรุ ยังคงดำเนินต่อไปในช่วงยุคพระเวทตอนปลายโดยเป็นพื้นฐานสำหรับเรื่องราวมหากาพย์มหาภารตะ[3]
แหล่งข้อมูลร่วมสมัยหลักในการทำความเข้าใจอาณาจักรกุรุ ได้แก่ พระเวท ซึ่งมีรายละเอียดของชีวิตในช่วงเวลานี้และการพาดพิงถึงบุคคลในประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ต่างๆ[3] ช่วงเวลาและขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรกุรุ (ตามที่กำหนดโดย การศึกษาทางปรัชญา ของวรรณคดีพระเวท)[4]
แคว้นกุรุ ในทางพระพุทธศาสนา
[แก้]แคว้นกุรุ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นปัญจาละ ทางเหนือของแคว้นสุรเสนะและตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นมัจฉะ พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นในสมัยพุทธกาลคือ พระเจ้าโกรัพยะ เทียบกับปัจจุบันแคว้นกุรุได้แก่เขตของเดลี นครหลวงของอินเดียขณะนี้ กับเขตใกล้เคียงอื่น ๆ คือจังหวัดมีรัต ของรัฐอุตตรประเทศ และพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป ที่รวมเรียกว่ากุรุเกษตร หรือฐาเนศวระ อันได้แก่เขตของโสนะปัต ปานีปัต และกรนาล ของรัฐหรยานะ ในปัจจุบันเมืองหลวงของแคว้นกุรุในพุทธสมัย คือ อินทปัฏฐ์ หรือ อินทปัตถ์ ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านอินทรปัต ในเขตจังหวัดเดลี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา ห่างจากกรุงเดลีออกไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร หรือ 2 ไมล์แคว้นกุรุสมัยพุทธกาล ไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดุมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่ในธรรม ฉลาด และมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวว่า นี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะ มีข้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก เช่น มหานิทานสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ พระพุทธองค์เคยเสด็จแคว้นกุรุหลายครั้ง และปรากฏว่า นิคมชื่อกัมมาสธัมมะหรือ กัมมาสทัมมะ เป็นที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับมากที่สุด พระสูตรสำคัญทั้งสองสูตรที่กล่าวถึง ก็ทรงแสดงที่กัมมาสธัมมะนี้ พระนางมาคันทิยา มเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทนแห่งโกสัมพี เป็นบุตรพราหมณ์มาคันทิยะแห่งกัมมาสธัมมะนี้พระสาวกผู้ใหญ่ของพระพุทธองค์ท่านหนึ่ง คือ พระรัฏฐปาละ ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะหรือ เป็นยอดของภิกษุ ผู้ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นบุตรผู้มีสกุลแห่ง นิคมถุลลโกฏฐิตะ แคว้นกุรุนี้ ประวัติกล่าวว่า ท่านได้แสดงธรรมเรื่องธรรมุทเทศสี่ แก่พระเจ้าโกรัพยะ แห่งแคว้นกุรุ จนพระเจ้าโกรัพยะ ทรงพอพระทัยและเลื่อมใสอย่างมาก[5]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Also in B. Kölver (ed.)(1997), Recht, Staat und Verwaltung im klassischen Indien [The state, the Law, and Administration in Classical India]. München: R. Oldenbourg. pp. 27–52.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pletcher 2010, p. 63.
- ↑ Witzel 1995, p. 6. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWitzel1995 (help)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Witzel 1995. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWitzel1995 (help)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Samuel 2010. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFSamuel2010 (help)
- ↑ มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ vichadham.com
- Hiltebeitel, Alf (2002), Hinduism. In: Joseph Kitagawa, "The Religious Traditions of Asia: Religion, History, and Culture", Routledge
- Pletcher, Kenneth (2010), The History of India, The Rosen Publishing Group
- Samuel, Geoffrey (2010), The Origins of Yoga and Tantra. Indic Religions to the Thirteenth Century, Cambridge University Press
- Witzel, Michael (1995), "Early Sanskritization: Origin and Development of the Kuru state" (PDF), EJVS, 1 (4), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Witzel, Michael (1995), "Early Sanskritization: Origin and Development of the Kuru state" (PDF), EJVS, 1 (4), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007
- Samuel, Geoffrey (2010), The Origins of Yoga and Tantra. Indic Religions to the Thirteenth Century, Cambridge University Press
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kuru Kingdom
- Mahabharata of Krishna Dwaipayana Vyasa, translated to English by Kisari Mohan Ganguli
- The Kuru race in Sri Lanka - Web site of Kshatriya Maha Sabha
- Coins of Kuru janapada