พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล)
พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) | |
---|---|
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2478 - 31 มกราคม 2490 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) |
ถัดไป | หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์โป๊ะ 12 มกราคม พ.ศ. 2434 |
เสียชีวิต | 3 มกราคม พ.ศ. 2509 (74 ปี) |
บิดา | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ |
มารดา | หม่อมกลิ่น มาลากุล ณ อยุธยา |
คู่สมรส | คุณหญิงเพี้ยง ประทีปเสน นางจำนวน บุนนาค คุณหญิงบัญญัติ บุนนาค |
บุตร | 11 คน |
มหาเสวกตรี พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) (12 มกราคม พ.ศ. 2434 - 3 มกราคม พ.ศ. 2509) อดีตเลขาธิการพระราชวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประวัติ[แก้]
พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2434 เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์กับหม่อมกลิ่น มาลากุล ณ อยุธยา มีพี่น้องร่วมพระบิดาทั้งสิ้น 11 คน
ในสมัยรัชกาลที่ 6 หม่อมราชวงศ์โป๊ะ ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นนายวรการบัญชา ได้เข้าเป็นสมาชิกกองเสือป่า ได้รับพระราชทานยศเป็น นายหมู่โท[1] ต่อมาหลังจากการปรับปรุงฐานะกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2478 พระยาชาติเดชอุดมจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพระราชวังคนแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 31 มกราคม 2490
พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2509[2]
ครอบครัว[แก้]
พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) สมรสกับคุณหญิงเพี้ยง (สกุลเดิม:ประทีปเสน) ธิดาพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (เทียน ประทีปะเสน) กับคุณหญิงผัน วิสูตรสาครดิษฐ์ มีบุตรธิดา 6 คน คือ
- หม่อมหลวงหญิงปลื้มใจ บุนนาค สมรสกับ หลวงไพรัชพากย์ภักดี (จริง บุนนาค)
- หม่อมหลวงปัทม์ มาลากุล
- หม่อมหลวงหญิงปฤถา มาลากุล สมรสกับ นายปราโมท ศิขรินทร์
- หม่อมหลวงหญิงปิยา มาลากุล
- หม่อมหลวงประกุล มาลากุล สมรสกับ นางชวนพิศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิมิหุต)
- หม่อมหลวงหญิงประอร มาลากุล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน และสมรสครั้งที่สองกับร้อยเอก หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
สมรสกับจำนวน บุนนาค ธิดาพระยาวิสุทธิราชรังสรรค์ (ใหญ่ บุนนาค) กับคุณหญิงจำรัส วิสุทธิราชรังสรรค์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ
- หม่อมหลวงประสพศิลป์ มาลากุล สมรสกับ นางรัตนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เสมาทอง)
- หม่อมหลวงหญิงปลุกปลื้ม ศรีประเสริฐ สมรสกับ พลอากาศเอก วีระ ศรีประเสริฐ
- หม่อมหลวงปราการ มาลากุล
สมรสกับคุณหญิงบัญญัติ บุนนาค ธิดาพระยาวิสุทธิราชรังสรรค์ (ใหญ่ บุนนาค) กับคุณหญิงจำรัส วิสุทธิราชรังสรรค์ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- หม่อมหลวงหญิงปริญญา อัศวอารีย์ สมรสกับ นายสุรินทร์ อัศวอารีย์
- หม่อมหลวงหญิงประกาย พิจารณ์จิตร สมรสกับ นาวาเอก อัมพร พิจารณ์จิตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2484 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2474 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2466 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2485 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[7]
- พ.ศ. 2480 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2456 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2474 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[10]
- พ.ศ. 2481 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[11]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ วรชาติ มีชูบท. ฝากเรื่องราวไว้กับน้องๆ ๑๔๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๑๔)
- ↑ คำกลอนถวายโอวาท: สุนทรภู่ แต่งถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาชาติเดชอุดม (ม.ร.ว.โป๊ะ มาลากุล). กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภา, พ.ศ. 2509. 18 หน้า. หน้า หน้าที่.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๘, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๑, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๘, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๗, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๓, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๑, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
ก่อนหน้า | พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง |
![]() |
![]() เลขาธิการพระราชวัง (1 เมษายน 2478 - 31 มกราคม 2490) |
![]() |
หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) |