เจเอ็นอาร์ คลาสซีเอ็กซ์ 50

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ซึ่งจอดรอในโรงรถจักรธนบุรี
ประเภทและที่มา
รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศไทย ชั้นญี่ปุ่นแปซิฟิค
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรไอน้ำ
ผู้สร้างสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
หมายเลขตัวรถ81 - 85 (ประเทศจอร์แดน)
283 - 292 (ประเทศไทย)
821 - 850 (ประเทศไทย)
จำนวนผลิต45 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AAR4-6-2 4-6-2 (แปซิฟิค)
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความยาว19,335 mm (761.2 in)
ความกว้าง3,850 mm (152 in)
ความสูง2,750 mm (108 in)
น้ำหนักกดเพลา10.5 ตัน
Adhesive weight31.5 ตัน
Loco weight51.3 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง10 m3 (350 cu ft)
Train brakesลมดูด (ดั้งเดิม, ประเทศไทย)
ลมอัด (ประเทศไทย, เฉพาะหมายเลข 824 และ 850 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และ หมายเลข 81 - 85 ของประเทศจอร์แดน)
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด75 km/h (47 mph)
กำลังขาออก1,280 แรงม้า (950 กิโลวัตต์)
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟฮิญาซ
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488 (หมายเลข 283 - 292, ประเทศไทย)
พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 (หมายเลข 821 - 850, ประเทศไทย)
พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2502 (หมายเลข 81 - 85, ประเทศจอร์แดน)
ปลดประจำการ40 คัน
การจัดการประจำการในปัจจุบัน 5 คัน

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค (Japanese Pacific steam locomotive) (SRT Class Japanese Pacific) (ญี่ปุ่น: CX50形)[1] ส่วนใหญ่เรียกว่ารถจักรนี้ว่า รถจักรไอน้ำแปซิฟิค เป็นชุดรถจักรไอน้ำสุดท้ายของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในประเทศไทย และเป็นรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นคันแรกของประเทศจอร์แดน สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2502 รถจักรไอน้ำรุ่นนี้มีทั้งหมด 45 คัน จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการลากจูงขบวนรถไฟโดยสารเช่น ขบวนรถด่วน ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถเร็ว เป็นต้น ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค เหลือส่วนห้องขับทั้งหมด 2 ห้องที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ได้แก่ของหมายเลข 823 และ 841 และเหลือการใช้งาน 2 คัน คือหมายเลข 824 และ 850 ซึ่งจะวิ่งในวันสำคัญต่างๆ[2] รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค มีการนำมาใช้งานในประเทศไทย จำนวนรถทั้งสิ้น 40 คัน คือหมายเลขรถ 283 - 292 และ 821 - 850 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้

นอกจากนี้ ยังมีรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิคสำรองวิ่งที่ยังมีใช้งานที่ประเทศจอร์แดนอีก 5 คัน ซึ่งบริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด ได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2496 และพร้อมทีจะขายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยใช้หมายเลข 851 - 855 แต่การรถไฟฯ ไม่รับรถจักรที่เป็นรถสำรองวิ่งจึงขายให้ประเทศจอร์แดนโดยใช้หมายเลข 81 - 85 ในปี พ.ศ. 2502[4]

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ถูกสร้างขึ้นโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Railway Industry) ซึ่งในสมาคมจะประกอบไปด้วยบริษัทผู้สร้างหลายบริษัทด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อมีคำสั่งให้ผลิตรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ทาง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น จะกระจายคำสั่งการผลิตนี้ให้กับ 3 บริษัทที่รับผิดชอบในการสร้างรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ดังนี้

1. บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครนาโงยะ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2, ล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และล็อตประเทศจอร์แดน)

2. บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ระหว่างนครโคเบะ และ เขตมินาโตะ (โตเกียว), ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น และต่อมาได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2515)

3. บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน) โรงงานตั้งอยู่ที่ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตล็อตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น)

ประวัติ[แก้]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่า “รถจักรไอน้ำแมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ

ชิ้นส่วนของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นหมายเลข 283 - 292 ใช้ร่วมกับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด รุ่นหมายเลข 351 - 378

ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ทางการได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น 50 คัน และในปีถัดไปอีก 50 คัน เป็นรถจักรแบบมิกาโดและแปซิฟิค เหมือนกันกับรถจักรที่เคยซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้นอีก

รถจักรจำนวน 100 คันนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่จะมีใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรถไฟฯ มีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้การแทนรถจักรไอน้ำ

ในระยะเวลาประมาณ 3 ใน 4 ของศตวรรษ รถจักรไอน้ำได้รับการปรับปรุงโดยเฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ เป็นไปตามการปรับปรุงหลายรายการ จากการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ ในด้านสมรรถนะการใช้การนั้น แม้ว่าตัวรถจักรจะได้รับการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่และประสิทธิภาพดีขึ้นก็ตาม แต่ก็กระทำได้ภายในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากทางรถไฟของการรถไฟฯ มีขีดจำกัดความสามารถในการรับน้ำหนักรถได้เพียง 10.5 เมตริกตันต่อเพลาในขณะนั้น ถ้าหากว่ามีสูงกว่านั้นแล้ว สมรรถนะของรถจักรย่อมจะสูงขึ้น เช่น ลากจูงรถได้มาก มีความเร็วสูงขึ้น และมีรัศมีทำการไกล[5]

แบบล้อของรถจักรไอน้ำแปซิฟิค

ขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 901 902 903 904 907 และ 908[แก้]

กรุงเทพ - อยุทยา ฉะเชิงเทราและนครปฐม[แก้]

อนึ่ง ก่อนที่จะมีขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 903/904 (กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ) และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 907/908 (กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ) ในปี พ.ศ. 2553 การรถไฟฯ ได้โครงการพาพ่อนั่งรถจักรไอน้ำ 3 จังหวัด 4-5-6 ธันวาคม ลากจูงโดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 โดยใช้เลขขบวน "9901" โดยวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ และวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ หลังจากนั้นมาก็เริ่มเดินรถเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และเริ่มเดินรถในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่นั้น

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 เคยได้เดินขบวนรถนอกวันสำคัญทางราชการมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนั้นเป็นขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพ - กาญจนบุรี - สะพานข้ามแม่น้ำแคว - วังโพ เมื่อราวๆปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 โดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2542 และ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2543 และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำที่ 907/908 กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ เนื่องในวันลอยกระทง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จนกระทั่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2563 - 2564 ขบวนพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำได้หยุดเดินรถชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เรื่อยๆมา จนกระทั่งหยุดเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 12 สิงหาคม 2564 และ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แต่ครั้งนี้กลับมาในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ หลังที่ไม่ได้เดินรถในเส้นทางนี้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 (ส่วนขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้งดเดินรถไป 2 ปี นับตั้งแต่เดินรถครั้งแรกในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และกลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน)

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 284, 287, 288, 289, 291, 292, 821, 824, 828, 829, 840, 841 และ 850[6][แก้]

เดิมใช้การในเส้นทางรถไฟสายใต้ ประจำการแขวงหาดใหญ่และทุ่งสง รถจักรไอน้ำเริ่มทำขบวนตั้งแต่จากตั้งแต่สถานีรถไฟบางกอกน้อย (สถานีรถไฟธนบุรี) ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถเร็วไปถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ บางครั้งก็ทำขบวนรถโดยสารจากสถานีรถไฟกรุงเทพ, ทางรถไฟสายเหนือ, ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ, ทางรถไฟสายตะวันออก และทางรถไฟสายใต้ในสมัยนั้นด้วย หลังจากนั้น ก่อนปลดระวางก็กลับมาใช้การบนเส้นทางเส้นทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปี พ.ศ. 2525 หลังจากที่การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2525 รถจักร 2 คันนี้ได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 แต่ก็ยังใช้งานทำขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ในช่วง 7 ปีสุดท้ายของรถจักรไอน้ำ จนถึงปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็นรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด 2 คันคือ 953 และ 950 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค 2 คันคือ 824 และ 850 และรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 หมายเลข 713 และ 715 โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นายสวัสดิ์ ม้าไว เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง สุเมธ หนูงาม ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ โรงรถจักรทุ่งสง และโรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 และ 953  จาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 และ 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529 ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทยครบรอบ 90 ปีในครั้งนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 เดินขบวนรถพิเศษในเที่ยวขึ้น กรุงเทพ - อยุธยา ส่วนในเที่ยวล่อง อยุธยา-กรุงเทพ ได้ใช้รถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 หมายเลข 713 พหุกับ 715 ทำขบวนโดยมีรถอะแดปเตอร์คั่นระหว่าง รถจักรกับรถโดยสาร เนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 ใช้ขอพ่วงชนิดขอสับ ส่วนรถโดยสารใช้ขอพ่วงอัตโนมัติ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2525 เป็นระยะเวลา 4 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนายชำนาญ ล้ำเลิศ (เสียชีวิตแล้ว) นายกุล กุลมณี (เสียชีวิตแล้ว) และต่อมาได้จัดเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2529 โดยรถจักรไอน้ำทำขบวนเป็นขบวนพิเศษนำทางขบวนเสด็จจาก กรุงเทพกาญจนบุรีท่ากิเลน และไปจอดรอที่ป้ายหยุดรถวังสิงห์ หมายกำหนดการ ใช้รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 พหุกับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ลากจูงขบวนเสด็จจาก สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ไปถึงสถานีกาญจนบุรี โดย นายชำนาญ ล้ำเลิศ เป็น พนักงานขับรถคันนำ เมื่อทำขบวนเสด็จถึงสถานีกาญจนบุรี จอดเทียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชบริพาร ประชาชนเฝ้าเสด็จ และทางการรถไฟฯ ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำใหม่โดยนำเอาหัวรถจักรไอน้ำ ซี 56 หมายเลข 713 พหุ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจาก สถานีกาญจนบุรี ไป ที่สถานีท่ากิเลน และเสด็จทางรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่ากิเลนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. พนักงานรถจักรที่มีหน้าที่ขับรถชื่อนายกุล มณีกุล

การบูรณะ[6][แก้]

รถจักรไอน้ำได้มีการบำรุงรักษากันมาตลอดจนถึงต้นปี 2554 สภาพรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824, หมายเลข 850 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 สภาพหม้อน้ำโดยเฉพาะเปลือกที่จุดเหนือเตาที่เชื้อเพลิงเผาผลานความร้อนสูง เนื้อเหล็กหนา 5 มม. ปกติหนา 14 มม. และเหล็กยึดรั้งหม้อน้ำขาด ผุกร่อนจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนเคลื่อนไหวรั่ว แหวนแป้นสูบกำลังหักเป็นต้น ส่วนรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 950 ที่ได้ตัดบัญชีราวปี พ.ศ. 2530-2539 ได้ถูกย้ายจากโรงรถจักรธนบุรีไปยังโครงการสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยทางโรงรถจักรธนบุรี โดย สรจ.ธบ.นายศรีศักดิ์ ไผ่ศิริ ได้รายงานให้ผู้บังบัญชาตามลำชั้นทราบ จึงอนุมัติให้ บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มาตรวจสอบหม้อน้ำ โดยการนำของนายอุทัย สุนทรเอกจิต กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิสซ์-ชาญวิทย์ เป็นผู้เข้ามาตรวจสอบ วิเคราะห์และรายงานผลและยึดโยงกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเรื่องของหม้อน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าไม่สามารถเดินรถจักรไอน้ำโดยเฉพาะรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824, รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 และ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 เมื่อไม่มีรถจักรไอน้ำใช้การก็ขาดสีสัน ของการรถไฟฯ ประชาชนเรียกร้องต้องการเห็นรถจักรไอน้ำเดินขบวนในวันสำคัญๆ เพื่อให้เยาวชน ลูกหลานรู้เข้าใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ระบบหลักการทำงาน รวมทั้งเห็นของจริง โดยนายช่างสิทธิพงษ์ พรมลา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล ได้นำเสนอขออนุมัติ ผู้ว่าการรถแห่งประเทศไทยในขณะนั้นคือนายยุทธนา ทัพเจริญ เพื่อบูรณะรถจักรไอน้ำจำนวน 2 คันคือ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ในราคาประมาณ 25 ล้านบาท คำสั่งเฉพาะที่ ชก.ก.102/1144 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 และดูแลงานที่บริษัทเป็นเข้ามาดำเนินรับจ้างซ่อม คือบริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้เป็นไปตามสัญญาว่า ซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 เลขที่ ชก.1/2555/02 ลงวันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้ว่าจ้าง นายสิทธิพงษ์ พรมลา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล, หัวหน้าชุดดำเนินการครั้งนี้ คือ ผทน.10 นายปลื้ม เพชรทองเกลี้ยง, นายอุทัย สุนทรเอกจิต ผู้รับจ้าง (บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) วันที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 09.09 น. ทาง บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ร่วมกับ โรงรถจักรธนบุรี ทำพิธี บวงสรวง กราบไหว้ ขอขมา รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 และรัชกาลที่ 5, กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ หลวงพ่อโบสถ์น้อยก่อนที่จะทำการรื้อซ่อมรถจักรไอน้ำ สิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนไปคือ ทางช่างได้ดัดแปลงระบบห้ามล้อใหม่จากระบบลมดูด เป็นระบบลมอัด เพื่อความปลอดภัยและจัดสรรรถพ่วงในการทำขบวนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถพ่วงส่วนมากของการรถไฟฯ ใช้เป็นระบบลมอัด นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการทำความร้อนในเตาเผาด้วย

รถจักรไอน้ำทั้ง 2 บูรณะเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 แล้วเริ่มการทดสอบรถจักรไอน้ำเส้นทาง ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นั้นเริ่มการทดสอบขบวนพิเศษทดลองรถจักรไอน้ำที่ 901/902 กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ โดยใช้ตู้โดยสาร 8 ตู้แล้วเสร็จ จึงออกให้บริการประชาชนในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

รายชื่อหมายเลขรถจักร[4][7][แก้]

หมายเหตุ: การส่งมอบรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด จะเป็นผู้สร้างตัวรถจักร รถลำเลียง หม้อน้ำ ล้อ มาให้ประเทศไทยก่อน จากนั้นจึงให้ประเทศไทยจะเป็นผู้ประกอบอะไหล่โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่โรงงานมักกะสัน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2488 เพราะช่วงเวลนั้นคือระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้านำเข้ามาตรงๆสำเร็จรูปจากญี่ปุ่น ไม่เช่นนั้นกองเรือดำน้ำของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประจำการอินโดจีนยิงเรือที่เป็นทหารและไม่ใช่ทหารตกทะเลจีนใต้และอ่าวไทย

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
หมายเลขรถจักร ผู้ผลิต ปีที่เข้าประจำการ หมายเลขที่ผลิต ขนาดความกว้างของรางรถไฟ หมายเหตุ
283 Hitachi พ.ศ. 2484 1444 1.000 เมตร (Metre gauge) 5 คันสร้างปี พ.ศ. 2486[7]
284 1445
285 1446
286 1447
287 1448
288 Nippon Sharyo พ.ศ. 2485 1035 3 คัน สร้างปี พ.ศ. 2487, 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2488 และอีก 1 คันสร้างปี พ.ศ. 2489[7]
289 1036
290 1037
291 1038
292 1039

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หมายเลขรถจักร ผู้ผลิต ปีที่เข้าประจำการ หมายเลขที่ผลิต ขนาดความกว้างของรางรถไฟ หมายเหตุ
821 Nippon Sharyo พ.ศ. 2492 1522 1.000 เมตร (Metre gauge) เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
822 1523 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
823 1524 ใช้น้ำมันเตา

ปัจจุบันเหลือซากโครงประธานห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร

824 1525 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง

ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี[2][5][6][7]

825 1526 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
826 1527
827 1528 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
828 1529 ใช้น้ำมันเตา
829 1530 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
830 1531 ใช้น้ำมันเตา
831 พ.ศ. 2493 1538 ใช้ฟืน
832 1539
833 1540
834 1541
835 Kawasaki 3194 ใช้ฟืน

ภายหลังนำเนมเพลตที่อยู่ด้านขวาของกระบังควันรถจักรไปติดตั้งบนด้านขวาของกระบังควันรถจักรของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850[7]

836 3195 เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
837 Nippon Sharyo 1542
838 1543 ใช้ฟืน
839 1544 ใช้น้ำมันเตา
840 1545 ใช้น้ำมันเตา
841 1546 ใช้น้ำมันเตา

ปัจจุบันเหลือซากโครงประธานห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร

842 Kawasaki 3196 ใช้น้ำมันเตา
843 3197 ใช้ฟืน
844 3200
845 3198 ใช้น้ำมันเตา
846 3199
847 3201
848 3202 ใช้น้ำมันเตา
849 3203 ใช้น้ำมันเตา
850 Nippon Sharyo 1547 ใช้น้ำมันเตาตั้งแต่เริ่มแรกประจำการ

ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี แต่ที่ขวามือของกระบังควันมีเนมเพลตของบริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัดที่ติดอยู่กระบังควันไปยำอะไหล่มาจากหมายเลข 835[2][5][6][7]

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ประเทศจอร์แดน[แก้]

รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ประเทศจอร์แดน
หมายเลขรถจักร ผู้ผลิต ปีที่สร้าง ปีที่เข้าประจำการ หมายเลขที่ผลิต ขนาดความกว้างของรางรถไฟ หมายเหตุ
81 Nippon Sharyo พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2502 1609 1.05
82 1610
83 1611 ตัดบัญชีไปก่อนราวๆก่อนปี พ.ศ. 2526[4]
84 1612
85 1613

แกลลอรี่[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง...แฝด...ของรถจักรไทย". portal.rotfaithai.com.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประวัติความเป็นมา "รถจักรไอน้ำแปซิฟิก 824 และ 850"". ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย. 21 มีนาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5368
  4. 4.0 4.1 4.2 "Steam Locomotives in Jordan, 2015". www.internationalsteam.co.uk.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท". portal.rotfaithai.com.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "ย้อนดูการรถไฟไทยในอดีต หัวรถจักรไอน้ำไทยคันแรก และ รถจักรไอน้ำคันสุดท้าย". Pantip.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Ramaer, R. (2009). The railways of Thailand (2. expanded ed ed.). Bangkok: White Lotus Pr. ISBN 978-974-480-151-7. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)