เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รถจักรไอน้ำ C58, รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 (JNR Class C58) | |
---|---|
![]() รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 หมายเลข 764 (C58-136) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อทางการ | รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น C58 |
ชนิด | รถจักรไอน้ำ |
แรงม้า | 880 แรงม้า |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 100.20 ตัน ทำงาน 58.70 ตัน กดเพลา 13.50 ตัน |
การจัดวางล้อ | 2-6-2 (แพรรี่) |
พิกัดตัวรถ | กว้าง 1,520 มม. สูง 3,900 มม. ยาว 18,275 มม. |
ระบบห้ามล้อ | สุญญากาศ (ลมดูด) (ประเทศไทย) ลมอัด (ประเทศญี่ปุ่น) |
ความเร็วสูงสุด | 85 กม./ชม. |
ผู้สร้าง | สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ![]() |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2490 (ประเทศญี่ปุ่น) พ.ศ. 2489 (ประเทศไทย) |
จำนวนคันทั้งหมด | 427 คัน |
หมายเลข | C58-1 - C58-427 (ประเทศญี่ปุ่น) 761 - 764 (ประเทศไทย) |
ใช้งานใน | ![]() ![]() |
ระบบห้องขับ | มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง |
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี | 425 คัน |
จำนวนคันที่คงเหลือใช้งาน | 2 คัน |
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด | 85 ปี |
รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58[1] หรือ รถจักรไอน้ำ C58 (JNR Class C58) (ญี่ปุ่น: C58形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C58 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489[2] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในมลายู[3] (หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมา รถจักรไอน้ำแพรรี่ทั้ง 4 คัน ประกอบด้วย C58-52, C58-54, C58-130 และ C58-136 จึงขายให้ประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อหมายเลขรถจักรชุดนี้คือ 761 ถึง 764 ตามลำดับ
ประวัติ[แก้]
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟหลวงได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")
รถจักรไอน้ำ รุ่น C58 เป็นรถจักรที่มีการจัดวางล้อแบบ 2-6-2 สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2490 โดยบริษัท Kawasaki และ บริษัท Kisha Seizo มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 427 คัน , น้ำหนักของรถจักรพร้อมใช้งาน 58.7 ตัน , แรงดันไอน้ำ 16 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร , น้ำหนักกดเพลา 13.5 ตัน , เส้นผ่านศูนย์กลางล้อกำลังและล้อโยง 1,520 มิลลิเมตร , มีความยาวของรถจักรและรถลำเลียงรวมกัน 18.27 เมตร ใช้กับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร
เนื่องจากรถจักรรุ่นนี้ส่วนหนึ่งถูกสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้นมา ทำให้เมื่อเกิดสงครามขึ้นมาแล้ว กองทัพญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถจักรไอน้ำจำนวนหนึ่งเพื่อการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถจักรไอน้ำ C56 ดังที่เคยได้อธิบายไปแล้ว และปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนมากมาย รวมทั้งเราเองก็ยังมีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่ส่วนหนึ่ง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ารถจักรไอน้ำ C58 รุ่นนี้ ก็เป็นหนึ่งในรถจักรที่ถูกส่งมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการขนส่งลำเลียงกองทัพญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน มีการปรับปรุงแก้ไขรถจักรเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรถพ่วงที่ใช้อยู่ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียงเช่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ C56 อาทิเช่น เปลี่ยนขอพ่วงจากเดิมที่เป็นขอพ่วงอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วงเอบีซี , ติดตั้งเครื่องไล่ลม หรือ เครื่องสร้างสูญญากาศเพื่อใช้สั่งการกับระบบห้ามล้อรถพ่วง , เปลี่ยนขนาดล้อของรถจักรและรถลำเลียงเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรางกว้าง 1 เมตร โดยใช้วิธีเดียวกันกับแบบรถจักรไอน้ำ C56 คือ การใช้แว่นล้อเดิมที่ใช้งานกับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร แต่เปลี่ยนปลอกล้อใหม่ให้มีความกว้างของพื้นล้อมากขึ้นเพื่อให้เกาะกับรางกว้าง 1 เมตร ซึ่งวิธีการนี้เองทำให้พื้นล้อกำลังของรถจักรไอน้ำทั้งสองรุ่นนี้กว้างกว่างรถจักรไอน้ำแบบอื่นที่ประเทศไทยเคยใช้การมา
รถจักรไอน้ำ C58 ที่ดัดแปลงเหล่านี้มีจำนวนทั้งหมด 51 คัน โดยทำการดัดแปลงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2487 สถานที่ที่ใช้ในการดัดแปลงรถนั้นประกอบไปด้วย โอมิยะ (Omiya) , ฮามะมะทสึ (Hamamatsu) , ทาคาโทริ (Takatori) และ โคคุระ (Kokura) จากนั้นจึงนำมาลงเรือที่ท่าเรือโกเบและท่าเรือโมจิเพื่อขนส่งมายังประเทศไทย โดยชุดแรกทำการขนลงเรือมา 25 คัน ซึ่งใช้เรือขนส่งหลายลำกระจายกันไป แต่การขนส่งนั้นไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเพราะอยู่ในช่วงของปลายสงคราม มีกองทัพของพันธมิตรคอยขัดขวางกองเรือลำเลียงเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองเรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกา จนในที่สุดเรือที่ทำการลำเลียงรถจักรไอน้ำ C58 จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อมาส่งยังประเทศไทยนั้นก็ถูกยิงจมลงไปเกือบทั้งหมด เหลือรอดมาได้เพียง 4 คันเท่านั้นจากทั้งหมด 25 คัน ที่ส่งมาในระยะแรก การสูญเสียนี้จึงทำให้มีการระงับการขนส่งรถจักรที่เหลืออีก 28 คัน ซึ่งในที่สุดรถจักรชุดหลังนี้ก็ไม่ได้ถูกขนส่งมายังประเทศไทยและเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆกลับคืนเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นตามเดิม
รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คัน ที่รอดจากการถูกยิงจมทะเลมาได้นั้น ประกอบไปด้วย
- C58-52 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 761 )
- C58-54 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 762 )
- C58-130 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 763 )
- C58-136 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 764 )
หมายเลข 761 และ 762 นั้น สร้างโดย Kawasaki ในปี พ.ศ. 2481 / ส่วนหมายเลข 763 และ 764 สร้างโดย Kisha Seizo ในปี พ.ศ. 2482
อย่างไรก็ตาม รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คันนี้ก็ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากมีน้ำหนักกดเพลาถึง 13.5 ตัน ในขณะที่รางรถไฟของไทยในสมัยนั้นรับน้ำหนักกดเพลาได้เพียง 10.5 ตันเท่านั้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง รถจักรเหล่านี้ยังคงอยู่ใช้งานในประเทศไทย แต่น้ำหนักรถจักรที่มากนั้นทำให้ต้องกำหนดขอบเขตการใช้งาน จนในที่สุดก็ปลดระวางใช้งานไปก่อนกำหนดและไม่เหลือซากให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว สำหรับภาพถ่ายของรถจักรรุ่นนี้ในช่วงที่ใช้งานอยู่ที่ประเทศไทยนั้นก็หายากมากที่สุด
รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ในปัจจุบัน และบัญชีรถจักรไอน้ำแพรี่ C58 ในประเทศไทย[แก้]
ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 ในประเทศไทย ถูกตัดบัญชีทั้งหมด 4 คันแล้ว แต่ส่วนในประเทศญี่ปุ่นซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันมีเพียงแค่ 2 คันเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ได้แก่
ประเทศไทย (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.000 เมตร) (Metre gauge)[แก้]
หมายเลข รฟท. | หมายเลข JNR | ผู้ผลิต | ปีที่ผลิต | ขนาดความกว้างของรางรถไฟ |
---|---|---|---|---|
761 | C58-52 | Kawasaki[4] | พ.ศ. 2481[5] | 1.000 เมตร (Metre gauge) |
762 | C58-54 | |||
763 | C58-130 | Kisha Seizo[6] | พ.ศ. 2482[7] | |
764 | C58-136 |
ประเทศญี่ปุ่น (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.067 เมตร) (Cape gauge)[แก้]
- C58-1 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟ Umekoji ในส่วนของพิพิธภัณฑ์รถไฟเกียวโต ในนครเกียวโต
- C58-5 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Tochinoki Family Land ในเมืองอุตสึโนมิยะ ในจังหวัดโทจิงิ
- C58-12 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองทากามัตสึ, จังหวัดคานางาวะ
- C58-16 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในตำบลมินามิซันริกุ, อำเภอโมโตโยชิ จังหวัดมิยางิ
- C58-19 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58-33 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคิโยซาโตะ, จังหวัดฮกไกโด
- C58-36 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องสมุดเทศบาล ในเมืองมาย, จังหวัดยามางูจิ
- C58-48 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องโถงศตวรรษที่ 19 ในสถานีรถไฟโทโระคะโคะ, จังหวัดเกียวโต
- C58-49 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะใน เมืองคะเกะงะวะ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58-51 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองมัตสึซากะ, จังหวัดมิเอะ
- C58-56 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Poppo Land No. 2 ในเมืองฟูกูจิยามะ, จังหวัดเกียวโต
- C58-66 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Park Goryo ในเมืองโอซากะ, จังหวัดโอซากะ
- C58-82 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์กีฬาในเมืองมิโฮโระ, จังหวัดฮกไกโด
- C58-98 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองฟูคากาว่า, จังหวัดฮกไกโด
- C58-103 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมในเมืองอิชิโนะเซะกิ, จังหวัดอิวาเตะ
- C58-106 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคูชิโระ, จังหวัดฮกไกโด
- C58-112 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองชิบูชิ, จังหวัดคาโงชิมะ
- C58-113 จอดอยู่ที่เมืองไมซูรุ, จังหวัดเกียวโต
- C58-114 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58-119 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะ SL ในเมืองคิตามิ, จังหวัดฮกไกโด
- C58-139 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองยูเบะซุ, จังหวัดฮกไกโด
- C58-170 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียน Hidaka Elementary ในเมืองโทะโยกะ, จังหวัดเฮียวโงะ
- C58-171 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโอบามะ, จังหวัดฟูกูอิ
- C58-212 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองสึรุงะ, จังหวัดฟูกูอิ
- C58-215 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียน Bange Elementary ในเมือง Aizubange, จังหวัดฟูกูชิมะ
- C58-217 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอาซาฮิ, จังหวัดชิบะ
- C58-228 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอิชิโนมากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58-231 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคะมิโนะยะมะ, จังหวัดยามางาตะ
- C58-239 รถจักรไอน้ำคันนี้สร้างขื้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 ปลดประจำการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ตั้งเป็นอนุสรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ที่บริเวณสวนสาธารณะในเมืองโมริโอกะ, จังหวัดอิวาเตะ ปัจจุบันใช้งานโดยเจอาร์-อีสต์ ในขบวนรถนำเที่ยว SL Ginga
- C58-244 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์พัฒนาในเมืองทะดะมิ, จังหวัดฟูกูชิมะ
- C58-275 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคาซามะ, จังหวัดอิบารากิ
- C58-277 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโคบายาชิ, จังหวัดมิยาซากิ
- C58-280 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาในเมืองมิโนกาโมะ, จังหวัดกิฟุ
- C58-295 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองซาคาอิเดะ, จังหวัดคากาวะ
- C58-304 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองชินโจะ, จังหวัดยามางาตะ
- C58-322 จอดอยู่ที่เมืองมิชิมะ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58-333 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ JR Shikoku Tadotsu Works ในเมืองทาโดะซุ, จังหวัดคากาวะ
- C58-335 จอดอยู่ที่เมืองโคจิ
- C58-342 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคิตากามิ, จังหวัดอิวาเตะ
- C58-353 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมือง Nachikatsuura, จังหวัดวากายามะ
- C58-354 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองริฟะ, จังหวัดมิยางิ
- C58-356 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟ Nakayama daira onsen ในเมืองโอซากิ, จังหวัดมิยางิ
- C58-359 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะคาเมยามะในเมืองคาเมยามะ, จังหวัดมิเอะ
- C58-363 ปัจจุบันใช้งานโดยชิชิบู ในขบวนรถด่วน Paleo
- C58-365 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าโรงซ่อมของชิงกันเซ็งในเมืองริฟะ, จังหวัดมิยางิ
- C58-389 จอดเป็นนอนุสรณ์อยู่ที่สถานีรถไฟ Tenryū-Futamata Station ในนครฮามามัตสึ, จังหวัดชิซูโอกะ
- C58-390 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะคะยะในเมืองโยซะโนะ, จังหวัดเกียวโต
- C58-395 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสัตว์ฮามูรในเมืองฮามูระ, กรุงโตเกียว
- C58-407 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะโอซุกะไดในแขวงโทชิมะ, กรุงโตเกียว
- C58-414 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองทะมะกิ, จังหวัดมิเอะ
รูปภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://locosiam.blogspot.com/2014/01/blog-post.html
- ↑ http://trainthai.blogspot.com/2013/01/blog-post_17.html
- ↑ https://locosiam.blogspot.com/2014/01/blog-post.html
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3855&postdays=0&postorder=asc&start=20