ข้ามไปเนื้อหา

อัสปาซียา มาโนส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัสปาซียา มาโนส
เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก
พระราชชายาในพระมหากษัตริย์แห่งชาวเฮเลนส์
ดำรงพระยศ17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1920
ประสูติ4 กันยายน ค.ศ. 1896(1896-09-04)
เอเธนส์ ราชอาณาจักรกรีซ
สิ้นพระชนม์7 สิงหาคม ค.ศ. 1972(1972-08-07) (75 ปี)
เวนิส ประเทศอิตาลี
คู่อภิเษกพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ
พระธิดาสมเด็จพระราชินีอเล็กซันดราแห่งยูโกสลาเวีย
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระบิดาเปรตรอส มาโนส
พระมารดามารีอา อาร์จีโลปูโลส

เจ้สหญิงอัสปาซียาแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระนามเดิม อัสปาซียา มาโนส (กรีก: Ασπασία Μάνου ประสูติ 4 กันยายน ค.ศ. 1896 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ – สิ้นพระชนม์ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1972 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี) พระราชชายาในพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ เนื่องด้วยเกิดการขัดแย้งกันจากการอภิเษกสมรสของเธอ หลังจากการสวรรคตของพระสวามี เธอจึงมีอิสริยยศเป็นเพียง เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก[note 1] และเธอมิได้รับอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

พระประวัติ

[แก้]

อัสปาซียา มาโนส เป็นธิดาของพันเอกเปตรอส มาโนส กับนางมารีอา อาร์จีโรปูโลส โดยต้นตระกูลของเธอสืบเชื้อสายมาจากตระกูลฟานาริโอต์ (กรีก: Φαναριώτες) ซึ่งเป็นชาวกรีกจากเมืองคอนสแตนตินโนเปิล ต้นตระกูลของเธอสืบเชื้อสายวลัคและกรีกจากคาบสมุทรบอลข่าน โดยเฉพาะในพื้นที่ราชรัฐดานูบ รวมไปถึงเปลาปอนเนสและคอนสแตนตินโนเปิล[1]

ตระกูลของเธอบางส่วนได้เป็นผู้นำสงครามการเรียกร้องอิสรภาพของกรีก และบางส่วนเป็นผู้นำของกลุ่มเฮลเลนิกที่อาศัยในเมืองคอนสแตนตินโนเปิลซึ่งขณะนั้นถูกปกครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน และบางส่วนก็ได้เป็นเจ้าในแถบจังหวัดดานูบ เธอจึงเป็นหนึ่งในครอบครัวอภิชนาธิปไตยตระกูลหนึ่งของกรีซ และเธอจึงได้เป็นพระวรราชชายาในพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ กษัตริย์แห่งกรีซ แต่เธอก็ไม่ได้รับตำแหน่งอันสูงศักดิ์ในพระราชวงศ์เลย

นอกจากนี้อีเลียนา มาโนส (เกิดในปี ค.ศ. 1971) พระญาติวงศ์ของพระองค์ ได้เสกสมรสกับ เจ้าชายชาลส์ หลุยส์ ดยุกแห่งชาร์ท

อภิเษกสมรส

[แก้]

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 เธอได้และพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ ได้อภิเษกสมรสกันตามกฎหมายแต่เป็นการลับ[2] การแต่งงานของทั้งคู่ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ด้วยเหตุนี้ทั้งสองจึงได้เสด็จไปประทับด้วยกันในกรุงปารีส ด้วยเหตุที่เธอไม่มีอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินี เธอจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ มาดามมาโนส ทั้งที่เธออภิเษกแล้วก็ตาม[3] แต่หลังจากการอภิเษกสมรสได้ไม่นานพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซก็เสด็จสวรรคต พระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ จึงได้เสด็จนิวัติกลับมาจากการลี้ภัย มาครองราชย์ต่อจากพระราชโอรสที่สวรรคตไปภายในเดือนนั้นเอง และปฏิบัติหน้าที่การปกครองต่อจากพระโอรสต่อไป และหมายความว่า การอภิเษกสมรสของพระโอรสและเธอนั้นไม่ได้รับการยินยอมจากพระราชบิดา ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย การอภิเษกที่ถือเป็นโมฆะ และพระโอรส-ธิดาที่จะประสูติการเบื้องหน้าที่เกิดหลังจากการมรณกรรมจะถือเป็นบุตรนอกกฎหมาย

ส่วนสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ ได้ออกกฎมณเทียรบาลในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1922 ให้บุคคลที่จะสามารถขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่มีพื้นฐานมาจากพระบรมวงศานุวงศ์พระราชวงศ์เท่านั้น กฎที่ออกมานี้มีผลย้อนหลังด้วย[3] เพราะฉะนั้นพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ จึงได้มีพระบรมราชโองการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1922 ในกรณีของพระเจ้าอาเลกซันโดรส กับอัสปาเซีย ต่อแต่นี้ไปเธอและพระราชโอรส-ธิดา จะมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก ในระดับ Royal Highness[4] ซึ่งคำนำหน้าพระนามถือเป็นเรื่องปกติในพระราชวงศ์กรีซ ซึ่งเป็นสาขาของพระราชวงศ์เดนมาร์ก

ประสูติกาลพระราชธิดา

[แก้]

หลังจากการสวรรคตของพระสวามี อัสปาเซียได้ให้ประสูติกาลพระราชธิดา พระนามว่า เจ้าหญิงเล็กซานดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก ที่เมืองตาตอย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1921 เมื่อพระราชธิดาเจริญวัยขึ้น ก็ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

อย่างไรก็ตามอัสปาเชีย มาโนส ก็เป็นพระมารดาในพระราชธิดาแห่งราชวงศ์กลึคส์บวร์คสายกรีซ ที่มีเชื้อสายกรีกเช่นเดียวพระราชวงศ์อื่นในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขณะที่ราชวงศ์กลึคส์บวร์คส่วนใหญ่มีเชื้อสายเยอรมัน

หลังจากพระราชธิดาอเล็กซานดราได้อภิเษกสมรสแล้ว พระราชธิดาและพระชามาดา (ลูกเขย) ได้มีปัญหาสุขภาพ การเงิน ครอบครัว อัสปาเซียจึงทำหน้าที่อภิบาลพระนัดดา เจ้าฟ้าชายอเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย[5] พระองค์มีความปลื้มปิติที่ยังมีพระชนม์ทันได้เห็นพระนัดดาอเล็กซานเดอร์อภิเษกสมรสกับมาเรีย ดา กลอเรียแห่งออร์เลออง-บรากันซา

สิ้นพระชนม์

[แก้]

เจ้าหญิงอัสปาซียาแห่งกรีซและเดนมาร์ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1972 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี สิริพระชนมายุได้ 75 ปี ซึ่งแต่เดิมได้ทำการฝังพระศพที่เกาะซานมีเกเลใกล้กับเมืองเวนิส ต่อมาได้มีการนำพระศพของพระองค์ไปฝัง ณ สุสานหลวงตาตอยใกล้กับเดเกเลีย (กรีก: Δεκέλεια) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเอเธนส์ประมาณ 23 กิโลเมตร

ลำดับพระตระกูล

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. มีพระยศที่ เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก ที่สถาปนาภายหลังการสวรรคตของพระภัสดา ไม่ใช่ที่ตำแหน่งเจ้าหญิงพระราชชายาฯ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ancestors of Aspasia Manos
  2. Hueck, Walter von, บ.ก. (1987). Genealogisches Handbuch des Adels Fürstliche Häuser Band XIII (ภาษาเยอรมัน). Limburg an der Lahn: C. A. Starke. p. 33.
  3. 3.0 3.1 Diesbach, Ghislain de (1967). Secrets of the Gotha. translated from the French by Margaret Crosland. London: Chapman & Hall. p. 225.
  4. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1973-03-06). Burke's Guide to the Royal Family. London: Burke's Peerage. ISBN 0-220-66222-3.
  5. Diesbach, Ghislain de (1967). Secrets of the Gotha. translated from the French by Margaret Crosland. London: Chapman & Hall. p. 337.
ก่อนหน้า อัสปาซียา มาโนส ถัดไป
สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ
พระวรราชชายาในพระมหากษัตริย์แห่งเฮลเลนส์
(ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค)

(4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1920)
สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ