สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ | |
---|---|
![]() | |
พระนามาภิไธย | เฟรเดอริกา หลุยส์ ไธรา วิกตอเรีย โอลกา ซิซิลี อิสซาเบล คริสตินา |
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ |
พระอิสริยยศ | เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์ สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งกรีซ |
ราชวงศ์ | ฮันโนเฟอร์ ชเลวิก -โฮลสไตน์ - ซอนเดอร์เบิร์ก - กวอกเบิร์ก |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
พระราชสมภพ | 18 เมษายน พ.ศ. 2460 บรานเคนเบิร์ก อาร์ม ฮาร์ส,ฮาร์ส,ประเทศเยอรมนี |
สวรรคต | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 มาดริด,ประเทศสเปน (พระชนมายุ 63 พรรษา) |
พระราชบิดา | ดยุตเออร์เนสต์ ออกุสตุสแห่งบรันสวิก |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย |
พระราชสวามี | สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ |
พระราชบุตร | สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก |
หมายเหตุ | ![]() |
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ (กรีก: Φρειδερίκη των Ελλήνων) หรือพระนามจริงคือ ฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์ (เยอรมัน: Friederike von Hannover) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์กรีซในฐานะพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ พระนางจึงมีพระยศเป็นสมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ
ช่วงต้นของชีวิต[แก้]
เจ้าหญิงเฟรเดอริกาประสูติในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ เมืองบรานเคนเบิร์ก อาร์ม ฮาร์ส ประเทศเยอรมนี พระนางเป็นพระราชธิดาในดยุตเออร์เนสต์ ออกุสตุสแห่งบรันสวิกและเจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย ผู้ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีกับเจ้าหญิงออกัสตา วิคตอเรียแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เจ้าหญิงเฟรเดอริกาทรงเป็นธิดาในเจ้าชายสายราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ พระนางจึงมีพระยศเป็น เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์,สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และทรงเป็นดัสเชสเฟรเดอริกาแห่งบรันสวิก - ลุนเบิร์ก
พระนางเป็นพระปนัดดาใน จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี ผู้ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
จากความสัมพันธ์นี้พระนางเป็นพระญาติห่างๆในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นพระญาติห่าง ๆ ในเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระด้วย พระนางทรงเป็นทายาทโดยผ่านทางพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อประสูติพระนางจึงอยู่ในลำดับที่ 34 ในการสืบราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าทรงไม่เคยได้รับพระยศแบบอังกฤษ
อภิเษกสมรส[แก้]
ในปีพ.ศ. 2479 มกุฎราชกุมารพอลแห่งกรีซ ได้ขออภิเษกสมรสพระนางที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อพระองค์เสด็จไปที่นั่นเพื่อเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 การหมั้นของทั้ง 2 พระองค์ได้ประกาศขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2480 ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481 ทรงอภิเษกสมรสกันที่กรุงเอเธนส์ เจ้าชายปัฟโลสเป็นพระโอรสในพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซและเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย ผู้เป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เจ้าชายปัฟโลสทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์เนื่องจากพระเชษฐาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซทรงไม่มีทายาท
ในช่วงต้นของการอภิเษกสมรสทรงประทับอยู่ที่ วิลลา ฟิไซโก ในกรุงเอเธนส์ 10 เดือนหลังการอภิเษกสมรสทรงให้กำเนิดพระธิดา 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงโซเฟีย ซึ่งในอนาคตคือ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน และกำเนิดพระโอรสคือ เจ้าชายคอนสแตนติน
สงครามและการลี้ภัย[แก้]
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2484 พระราชวงศ์กรีกได้อพยพไปที่เกาะครีตโดยเรือเหาะซันเดอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 และพระราชวงศ์ที่เหลือได้ตั้งถิ่นฐานที่แอฟริกาใต้ ที่นี่พระธิดาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์กได้ประสูติขึ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 แจน สมุทส์ผู้นำแอฟริกาใต้ได้รับพระธิดามาอุปถัมภ์
หลังจากนั้นไม่นานกองทัพเยอรมันได้โจมตีเกาะครีต พระนางและพระราชวงศ์ต้องอพยพอีกครั้ง ได้ตั้งคณะรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่ลอนดอน ในตอนท้ายพระราชวงศ์ได้ตั้งถิ่นฐานในอียิปต์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2489 ชาวกรีกได้มีประชามติฟื้นฟูราชวงศ์ พระเจ้าจอร์จได้ขึ้นครองราชย์ มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีได้กลับไปอยู่ที่วิลลา ฟิไซโก
พระสวามีครองราชย์[แก้]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490 พระสวามีของพระนางฟรีแดรีกีได้ขึ้นครองราชสมบัติพระนาม สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ พระนางได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินี ความไม่มั่นคงของการเมืองคอมมิวนิสต์ในทางเหนือของกรีซนำไปสู่ สงครามกลางเมืองกรีซ กษัตริย์และพระราชินีได้เสด็จไปยังทางตอนเหนือของกรีซภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเพื่อร้องขอความจงรักภัคดีในฤดูร้อน พ.ศ. 2490
ระหว่างสงครามกลางเมือง พระราชินีฟรีแดรีกีทรงก่อตั้งค่ายราชินี หรือเมืองเด็ก มีเครือข่าย 53 ค่าย ทั่วกรีซ พระนางทรงจัดตั้งเพื่อดูแลเด็กกำพร้าและเด็กจากครอบครัวยากไร้ ในค่ายมีที่พัก,อาหาร,การศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็ก
สงครามกลางเมืองกรีกจบลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2492 เป็นโอกาสที่ดีของเหล่าผู้ปกครองที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบกษัตริย์ ทั้ง 2 พระองค์ให้ความสำคัญกับการเยือนต่างประเทศคือ โจซิป โบรซ ติโตในเบลเกรด ประธานาธิบดีลุยกิ อายเนาดีแห่งอิตาลีที่โรม ธีโอดอร์ เฮิสแห่งเยอรมนีตะวันตก เบชารา เอล โควรีแห่งเลบานอน สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย จักรกาวาตี ราชาโกปาลาชาลีแห่งอินเดีย สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และทรงเป็นแขกของประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา
ในวันที่ 16 พฤศจิกายนร พ.ศ. 2496 พระนางปรากฏในนิตยสารไลฟ์ของอเมริกาในฐานะแขกของอเมริกา พระนางทรงเดินทางไปทั่วโลก ในปีนั้นพระนางปรากฏอยู่บนปกนิตยสารไทม์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 พระธิดาองค์โต เจ้าหญิงโซเฟียได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฆวน คาร์โลสแห่งสเปนที่กรุงเอเธนส์
สมเด็จพระพันปีหลวง[แก้]
ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2507 สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ เสด็จสวรรคต และพระโอรสของพระนางได้สืบราชสมบัติต่อเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์กหลังจากปีนั้นในวันที่ 18 กันยายน สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีสำคัญเช่นการรับศีลล้างบาปของพระนัดดาทั้งที่กรีซและสเปน
เสด็จลี้ภัย[แก้]
ความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินกับนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูลทำให้เกิดการปฏิวัติโดยทหารในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2510 ทำให้เกิดยุครุ่งเรืองของรัฐบาลทหารกรีซ ในขั้นต้นพระราชาธิบดีคอนสแตนตินทรงร่วมมือกับรัฐบาลทหาร ทีได้สาบานว่าจะสนับสนุนระบอบกษัตริย์ แต่ในตอนหลังพระองค์มีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยแต่ล้มเหลวทำให้ต้องเสด็จออกจากประเทศ
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 รัฐบาลทหารได้ทำการล้มล้างสถาบันกษัตริย์กรีซโดยปราศจากการเห็นชอบจากประชาชน ประชาชนได้เห็นชอบกับระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้นประมุขใหม่ของกรีซคือ ประธานาธิบดีจอร์จ ปาปาโดเปาลอส
รัฐบาลเผด็จการได้สิ้นสุดในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 และไม่มีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ได้มีการลงประชามติเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนติน ร้อยละ 70 สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
บั้นปลาย[แก้]
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีสวรรคตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ในช่วงการลี้ภัยที่กรุงมาดริดในระหว่างการผ่าตัดดวงพระเนตร ได้มีการรายงานการสวรรคตของพระนางในหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ว่าทรงสวรรคตระหว่างการผ่าตัดเปลือกพระเนตรที่ซึ่งทรงไปผ่าตัดบ่อยๆ แต่มีข่าวลือว่าพระนางสวรรคตจากการศัลยกรรมพระเนตร บางแหล่งข่าวรายงานว่า พระนางสวรรคตจากภาวะพระหทัยวาย พระศพของพระนางได้ฝังที่ พระราชวังตาโตย
พระอิศริยยศ[แก้]
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 9 มกราคม พ.ศ. 2481: เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์
- 9 มกราคม พ.ศ. 2481 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490: มกุฎราชกุมารีแห่งกรีซ
- 1 เมษายน พ.ศ. 2490 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2507: สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2507 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524: สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ
พระราชตระกูล[แก้]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย | ![]() |
![]() สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2507) |
![]() |
เจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์ก |