ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7
จิตรกรรมภาพวาดในพระชนมายุ 42 พรรษาของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7
พระบรมสาทิสลักษณ์โดย
เอากุสท์ ซิเอต ป. 1850
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์20 มกราคม 1848– 15 พฤศจิกายน 1863
(15 ปี 299 วัน)
ก่อนหน้าคริสเตียนที่ 8
ถัดไปคริสเตียนที่ 9
พระราชสมภพ6 ตุลาคม ค.ศ. 1808(1808-10-06)
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863(1863-11-15) (55 ปี)
กลึคส์บวร์ค ดัชชีฮ็อลชไตน์
ฝังพระศพอาสนวิหารรอสกิลด์
คู่อภิเษก
พระนามเต็ม
เฟรเดอริก คาร์ล คริสเตียน
ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค
พระราชบิดาคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาดัชเชสชาร์ล็อทเทอ ฟรีเดอรีเคอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 (เดนมาร์ก: Frederik Carl Christian; 6 ตุลาคม ค.ศ. 1808 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1848 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์สุดท้ายซึ่งสืบราชสันตติวงศ์จากราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค และเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในรัชกาลของพระองค์ ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวเดนมาร์กซึ่งทำให้มีการจัดตั้งรัฐสภาขึ้นและเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์แรกในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คำขวัญของพระองค์คือ เพื่อความรักของผู้คน ความแข็งแกร่งของฉัน (เดนมาร์ก: Folkets Kærlighed, min Styrke) หรือ (อังกฤษ: the People's Love, My Strength)[1]

พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสละพระราชอำนาจบางส่วน ทำให้พระองค์กลายเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์เดนมาร์กที่ประชาชนรักมากที่สุด ทั้งๆ ที่ในเอกสารหลายฉบับจากรัชสมัยของพระองค์จะกล่าวไว้ว่า โปรดการเสวยน้ำจัณฑ์และทรงพฤติกรรมนอกรีต พระองค์มีพระบุคลิกเรียบง่ายและจริงใจอย่างแท้จริง พระองค์ทรงมักปรากฏพระองค์อย่าง "เรียบง่ายโดยยังคงเกียรติภูมิแห่งพระมหากษัตริย์" พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วเดนมาร์กและมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนทั่วไป พระองค์ทรงกระตือรือร้นการค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุและทรงเป็นที่ยอมรับจากปีเตอร์ กล็อบ นักโบราณคดีว่า "พระองค์ เป็นผู้ซึ่งจุดประการความนิยมด้านโบราณวัตถุให้แพร่หลายมากกว่าผู้ใด ""[2]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

เฟรเดอริกพระราชสมภพในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1808 ณ พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก เป็นพระราชโอรสในคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์กซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงเป็นเจ้าชายคริสเตียนกับดัชเชสชาร์ล็อทเทอ ฟรีเดอรีเคอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน พระมเหสีพระองค์แรกซึ่งเป็นพระธิดาในฟรีดริช ฟรันทซ์ที่ 1 แกรนด์ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีนกับเจ้าหญิงลูอีเซอแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค ต่อมาหลังจากเฟรเดอริกพระราชสมภพเพียง 1 ปี ดัชเชสชาร์ล็อทเทอ พระราชมารดาทรงมีเรื่องอื้อฉาวกับนักร้องชาวสวิส คือ ฌ็อง แบ็ปติสท์ เอตัวอาร์ต ดู พีย์ เมื่อเจ้าชายคริสเตียนทรงรู้เข้าพระองค์ก็ทรงพิโรธมากและทรงหย่ากับดัชเชสชาร์ล็อทเทอในปี ค.ศ. 1810 หลังจากทรงอภิเษกสมรสมาเป็นเวลา 4 ปี และพระองค์ทรงไม่อนุญาตให้ดัชเชาพบกับพระราชโอรสอีก แม้พระนางจะทรงวิงวอนก็ตาม หลังจากนั้นพระนางก็ยังทรงมีเรื่องอื้อฉาวมากมายจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เฟรเดอริกทรงได้รับการอุปการะจากพระปิตุลาและพระปิตุจฉา ในปี ค.ศ. 1828 พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ผู้เป็นพระปิตุลามีพระราชประสงค์ให้เฟรเดอริกเสด็จเยือนฝรั่งเศส, อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้เจ้าชายทรงได้เข้ารับการศึกษาด้านภาษา,วิชารัฐศาสตร์และกิจการด้านการทหาร ในขณะที่ทรงประทับอยู่ที่เจนีวาที่ซึ่งทรงได้รับการเสนอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์เนื่องจากทรงเป็นที่นิยมของประชาชนมากระหว่างทรงประทับอยู่ที่เมืองนี้

อภิเษกสมรส

[แก้]

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 พระปิตุลาทรงจัดให้เจ้าชายเฟรเดอริกอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงวิลเฮ็ลมีเนอ มารีแห่งเดนมาร์ก พระญาติซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1828 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้มีการประพันธ์และแสดงละครเรื่อง "เนินเขาแห่งเอลฟ์(Elverhøj)" เพื่อถวายพระเกียรติในพระพิธีอภิเษกสมรส อย่างไรก็ตามการอภิเษกสมรสได้สร้างความไม่พอพระทัยจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ซึ่งเรื่องเกิดจากเฟรเดอริกเองทรงประพฤติพระองค์เกินขอบเขตและขาดความยั้งคิดโดยพระองค์ทรงทราบเรื่องมาจากพระราชธิดา จนกระทั่งพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ทรงขาดความอดทนในปี ค.ศ. 1834 พระองค์ได้สั่งเนรเทศเฟรเดอริกออกจากพระราชวังและทรงกดดันให้หย่าขาดจากพระราชธิดาของพระองค์ เนื่องจากระหว่างทรงประทับที่พระราชวังเฟรเดอริกเบอร์ก เฟรเดอริกได้มีความสัมพันธ์กับนางกำนัลนามว่า ลูอีส ลัสมุสเซิน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "เคาน์เตส แดนเนอร์" และต่อมานางมีความสำคัญต่อพระองค์มาก เฟรเดอริกทรงหย่าขาดกับเจ้าหญิงวิลเฮ็ลมีเนอ มารีในปี ค.ศ. 1837 หลังจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 พระปิตุลาเสด็จสวรรคต พระราชบิดาของเจ้าชายเฟรเดอริกทรงครองราชย์สืบต่อ พระนาม พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1839 และทรงแต่งตั้งเฟรเดอริกเป็นมกุฎราชกุมาร ทรงประกาศยกเลิกการเนรเทศมกุฎราชกุมารและให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการแห่งฟูเนน ซึ่งเป็นตำแหน่งก่อนที่พระบิดาจะทรงขึ้นครองราชย์ มกุฎราชกุมารทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1841 อภิเษกกับดัชเชสคาโรลีเนอ มารีอาเนอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ พระราชธิดาในเกออร์คแกรนด์ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์กับเจ้าหญิงมารีแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล การอภิเษกสมรสครั้งนี้สร้างความไม่พอพระทัยแก่มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกอีกครั้ง ทั้งสองพระองค์ทรงประทับแยกกันและทรงหย่าขาดกันในปี ค.ศ. 1845 ต่อมามีพระประสงค์ที่จะอภิเษกสมรสกับลูอีส ลัสมุสเซิน ทำให้ทรงถูกคัดค้านอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามหลังจากทรงขึ้นครองราชย์พระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกับนาง

ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1850 ณ พระราชวังเฟรเดอริกเบอร์ก เฟรเดอริกทรงอภิเษกสมรสกับลูอีส ลัสมุสเซิน ในปีเดียวกันพระองค์ทรงสถาปนานางขึ้นเป็นลันด์เกรวีนเดนเนอร์(ในเดนมาร์กรู้จักในชื่อ เคาน์เตสเดนเนอร์) ลูอีส ลัสมุสเซอนเคยเป็นอดีตนักบัลเล่ต์และเคยเป็นช่างทำหมวกสามัญชน เธอมีความสัมพันธ์กับเฟรเดอริกมานานหลายปี ชีวิตสมรสเป็นไปอย่างมีความสุข แม้ว่าจะเป็นที่ตระหนกตกใจยิ่งในหมู่ชนชั้นขุนนางและชนชั้นกระฎมพี เคาน์เตสเดนเนอร์ถูกประณามอย่างหยาบคายโดยศัตรูของเธอ แต่ความเป็นคนแข็งแกร่งและวางเฉยทำให้ได้รับการสรรเสริญจากผู้ที่ชื่นชมเธอว่าเป็น "บุตรีแห่งประชาชน" ลักษณะพิเศษเหล่านี้น่าจะส่งผลกระทบที่น่าประทับใจต่อพระองค์ เธอเป็นผู้ทำให้พระองค์เป็นที่นิยมมากขึ้นโดยการให้พระองค์ "เยี่ยมเยือนพสกนิกร" ตามจังหวัดต่างๆ

สัมพันธภาพนอกสมรสและทายาทที่เป็นไปได้

[แก้]

การที่พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวและแพร่กระจายไปในวงกว้าง แต่เป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลไม่ค่อยออกมาแสดงความคิดเห็นหรือสถานะมากนัก ได้มีข่าวลือว่าองค์เหนือหัวทรงมีบุตรไม่ได้ ในช่วงรัชสมัยของพระราชบิดาของพระเจ้าเฟรเดอริก คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์กปัญหาการสืบราชบัลลังก์จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ยุ่งยากในภายภาคหน้า

เอลเซ มาร์เกรเธ บอนโด(ขวา) ผู้ซึ่งเชื่อว่าเธอเองเป็นพระปนัดดาในเฟรเดอริกที่ 7(ซ้าย) และเธอได้อ้างสิทธิเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค

เคยมีการรายงานว่าองค์เหนือหัวมีพระราชโอรสอยู่ 1 พระองค์คือ เฟรเดอริก คาร์ล คริสเตียน พอลเซน ซึ่งเกิดในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1843 โดยครั้งนั้นพระองค์มีความสัมพันธ์กับนางเอลเซ มาเรีย กูล์ดบอร์ก ปีเดอเซน (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี พอลเซน) ที่ซึ่งความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นในช่วงการอภิเษกสมรส 2 ครั้งที่ไม่มีความสุข เรื่องราวนี้ได้มีการตีพิมพ์เป็นหนังสือในปี ค.ศ. 1994 และตีพิมพอีกครั้งในปี ค.ศ. 2009 จากบทความในหนังสือพิมพ์ Politiken เจ้าของหนังสือคือ นางเอลเซ มาร์เกรเธ บอนโด ผู้ซึ่งเชื่อว่าเธอเองเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 และเธอได้อ้างสิทธิเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก เธอได้อ้างจากจดหมายลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ที่ทรงเขียนถึงมารี พอลเซนโดยทรงยินยอมรับเป็นพระบิดาของเฟรเดอริก คาร์ล คริสเตียน พอลเซน จดหมายเหล่านี้ได้ถูกอ้างอิงในหนังสือด้วย[3][4][5] แต่อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายสัมพันธภาพนอกสมรสและทายาทที่เกิดมาจะไม่มีสิทธิสืบราชสันตติวงศ์ในราชบัลลังก์เดนมาร์กทุกกรณี

มีการกล่าวหาว่าองค์เหนือหัวทรงเป็นพวกรักร่วมเพศโดยทรงมีความสัมพันธ์กับคาร์ล เบอร์ลิง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์Berlingske Tidende เบอร์ลิงเป็นพวกรักร่วมสองเพศโดยมีบุตรนอกกฎหมายกับลูอีส ลัสมุสเซิน ชื่อว่า คาร์ล คริสเตียนซึ่งเป็นที่โปรดปรานขององค์เหนือหัวมาก พระองค์ทรงเลือกวันที่จะลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตรงกับวันเกิดครอบรอบ 8 ปีของคาร์ล คริสเตียนในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1849 เพื่อต้องการรักษาธรรมเนียมอันชอบธรรม พระองค์อภิเษกสมรสกับลูอีส ลัสมุสเซิน และทั้งงามคนได้ย้ายเข้าอาศัยในพระราชวังที่ซึ่งเบอร์ลิงได้รับแต่งตั้งให้เป็นมหาดเล็กจนกระทั่ง ค.ศ. 1861 การอภิเษกสมรสโดยต่างฐานันดรศักดิ์ครั้งนี้ได้รับการกล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกันดี แต่สาเหตุที่มีไม่ค่อยได้รับการอธิบายอย่างละเอียด[6][7]

รัชสมัย

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1849

พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1848 ณ พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก สิริพระชนมายุ 61 พรรษา เฟรเดอริกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ด้วยพระชนมายุ 39 พรรษา พระองค์ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากสาธารณะในช่วงแรกจากการที่ทรงไม่มีประสบการณ์ พระองค์ทรงเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกฤษฎีกาแห่งเดนมาร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1848 แต่ก็ไม่ทรงแสดงออกว่าทรงสนพระทัยการเมือง อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ปวงชนชาวเดนมาร์กรักและเป็นที่นิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์เดนมาร์ก อันเนื่องมาจากทรงยกเลิกระบอบการปกครองที่ดำรงมาอย่างยาวนานเมื่อครั้งอดีตและพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งเดนมาร์กที่เสรีภาพในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1849 ผลกระทบจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848 ได้ส่งผลถึงเดนมาร์ก และในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1848 เยอรมันเรียกร้องสิทธิในดัชชีชเลสวิชให้รวมอยู่ในสมาพันธรัฐเยอรมันและเรื่องดัชชีนี้ได้รับการไกล่เกลี่ยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เสรี ข้อเรียกร้องเหล่านี้ทำให้มีการประชุมของพรรคเสรีแห่งชาติเดนมาร์กในวันที่ 20 มีนาคม เรียกว่า การประชุมคาสิโน เนื่องจากประชุมที่โรงละครคาสิโนที่ซึ่งการพูดคุยกันทำให้สับสน ออร์ลา เลห์มานน์ได้เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีของพระมหากษัตริย์จัดสรรรัฐธรรมนูญที่เสรีแก่ทั้งเดนมาร์กและชเลสวิช ออร์ลาได้กล่าวว่า "พวกเราไม่เชื่อว่าฝ่าพระบาทจะทรงขับเคลื่อนประเทศนี้ซึ่งสิ้นหวังในการช่วยเหลือตนเองได้" ภายใต้คำขวัญที่ว่า "Danmark til Ejderen" ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงโดยผู้แทนพลเมืองในวันถัดมาที่จตุรัสหน้าพระราชวัง รัฐบาลได้ลาออกอย่างฉลาดโดยลาออกก่อนครบวาระและพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จไปพบปะกับกลุ่มผู้ประท้วงโดยมีพระราชดำรัสว่า "ข้าพเจ้ายินดีที่ได้บอกพวกท่านว่าข้าพเจ้าเข้าใจในเรื่องที่ซึ่งพวกเขาได้บอกแก่ข้าพเจ้าแล้ว คณะรัฐมนตรีชุดเก่าได้สิ้นสุดลงแล้ว" การปฏิวัติเดือนมีนาคมจึงสำเร็จ

ใน 2 วันถัดมาได้มีการเลือกคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยมีทั้งฝ่ายเสรีภาพและอนุรักษนิยมเข้าร่วมประชุมด้วย พระเจ้าเฟรเดอริกทรงประกาศต่อต้านคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ซึ่งทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นการล้มล้างระบอบเก่าแก่แต่โบราณและพระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยทรงประกาศว่า "กษัตริย์จะเข้ารับฟังการประชุมของทางรัฐเมื่อได้รับเชิญเท่านั้น" หลังจากองค์เหนือหัวทรงเข้ารับการประชุมที่น่าเบื่อพระองค์มีพระราชดำรัสออกมาอย่างสั้นๆว่า "ในตอนนี้ ฉันสามารถนอนได้ตราบใดที่ฉันรู้สึกอยาก"

ช่วงปี ค.ศ. 1830 เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวเยอรมันซึ่งต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นเสรีแก่รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ที่ซึ่งรัฐชเลสวิชอันเป็นดินแดนของราชอาณาจักรเดนมาร์กจะถูกรวมเข้ากับสมาพันธรัฐเยอรมัน ส่วนรัฐฮ็อลชไตน์และเลาว์บูร์กได้เข้าร่วมแล้ว และได้กำหนดแนวพรมแดนระหว่างรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์โดยใช้แม่น้ำคองเกียและแม่น้ำเอลเบอ และเหตุนี้ได้นำไปสู่ความเห็นของขบวนการแห่งชาติเดนมาร์ก พรรคเสรีแห่งชาติเดนมาร์กได้เสนอให้ล้มล้างดัชชีแห่งชเลสวิชและรวมเข้ากับราชอาณาจักรเดนมาร์ก คาบสมุทรจัตแลนด์ควรจะกำหนดพรมแดนทางใต้ไว้ที่แม่น้ำอีเดอร์ รัฐชเลสวิชให้เป็นชายแดนทางภาษาระหว่างเดนิชและเยอรมัน รัฐบาลเดนมาร์กยืนยันว่ารัฐชเลสวิชจักต้องอยู่ภายในราชอาณาจักรเดนมาร์กต่อไปส่วนรัฐฮ็อลชไตน์ยินดีที่ถอนตัวจากเดนมาร์กและเข้าร่วมในสมาพันธรัฐเยอรมัน ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1848 ชาวเยอรมันในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ก่อการจลาจลต่อต้านรัฐบาลใหม่แห่งเดนมาร์กและก่อตั้งรัฐบาลของตนเองที่เมืองคีล ซึ่งนำไปสู่ สงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่งหรือสงครามสามปี ระหว่างเดนมาร์กกับกองกำลังพันธมิตรของชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ซึ่งได้แก่ ปรัสเซียและสมาพันธรัฐเยอรมัน ผลปรากฏว่ากองทัพเดนมาร์กได้ชัยชนะและเข้าครอบครองรัฐชเลสวิชได้ที่แม่น้ำอีเดอร์

กองทัพเดนมาร์กเดินทางกลับสู่โคเปนเฮเกนพร้อมการต้อนรับที่ยิ่งใหญ่จากการรบชนะสมาพันธรัฐเยอรมันในสงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1840 ภาพวาดโดย ออตโต บาช จิตรกรชาวเดนมาร์ก

สงครามนำมาซึ่งชัยชนะของกองทัพเดนมาร์กแต่เสถียรภาพของการเมืองยังคงเหมือนเดิม ชาวเดนส์ยกเลิกการส่งทหารที่แม่น้ำอีเดอร์ และในปี ค.ศ. 1855 ฝ่านอนุรักษนิยมได้แนะนำให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก,ชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ แต่ 3 ปีให้หลังจากการประกาศให้ฮ็อลชไตน์เป็นสมาชิกในสมาพันธรัฐเยอรมันกลับไม่ถูกต้องเพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎข้อตกลงสากลที่เดนมาร์กได้ลงนามหลังจากสงครามสามปียุติ ปรัสเซียได้สนับสนุนชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ให้รวมกับสมาพันธรัฐเยอรมัน ในขณะที่เดนมาร์กต้องการรวมชเลสวิชเข้าในราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1863 ฝ่ายเสรีแห่งชาติได้ประกาศ Novemberforfatningen หรือ รัฐธรรมนูญพฤศจิกายน แทนที่รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1855 อย่างไรก็ตามพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จสวรรคตในเดือนนั้นก่อนที่จะทรงลงพระปรมาภิไธยใน Novemberforfatningen ให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ในระหว่างสงครามได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยสภาที่ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เสรี พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยลงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1849 เป็นกฎหมายพื้นฐาน แม้ว่าพระองค์จะทรงแคลงพระทัยในกฎข้อบังคับบางประการ นับเป็นเวลา 187 ปีแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 เดนมาร์กได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย

สวรรคต

[แก้]

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 เสด็จสวรรคตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ณ กลึคส์บวร์ค ดัชชีฮ็อลชไตน์ สิริพระชนมายุ 55 พรรษา พระบรมศพถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลค์ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค เนื่องจากทรงไม่มีรัชทายาททำให้เกิดวิกฤตราชบัลลังก์เดนมาร์กในกาลต่อมา

วิกฤตการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงฉลองพระองค์ประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์แห่งฟรีเมสัน ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงอภิเษกสมรส 3 ครั้ง แต่ไม่ทรงมีรัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในความเป็นจริงพระองค์ทรงเจริญพระชันษาสู่วัยกลางคนโดยปราศจากทายาท ซึ่งหมายความว่า เจ้าชายคริสทีอันแห่งกลึคส์บวร์ค (ค.ศ. 1818–1906) ผู้ซึ่งเป็นทายาทสืบเชื้อสายจากพระญาติของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6ได้ถูกเลือกให้เป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิสืบราชบัลลังก์โดยชอบธรรมในปี ค.ศ. 1851 เมื่อพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1863 เจ้าชายคริสทีอันได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็นคริสเตียนที่ 9

เนื่องมาจากกฎหมายแซลิกการสืบราชบัลลังก์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกซึ่งไร้รัชทายาทยังเป็นปัญหาที่ยังถกเถียง ซึ่งเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นแต่ก็เกิดสงครามขึ้น กลุ่มชาตินิยมของประชาชนผู้ใช้ภาษาเยอรมันในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ตั้งใจว่าจะไม่มีการแก้ปัญหาซึ่งให้ดัชชีรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเดนมาร์กซึ่งเป็นที่พอใจมาก ดัชชีทั้งสองต้องการประมุขที่สืบสายพระโลหิตตามกฎหมายแซลิกในหมู่ทายาทของเฮลวิก ผู้อาวุโสของราชสกุลได้ประกาศตั้งตนเป็นเจ้าชายฟรีดริช ดยุกแห่งเอากุสเทินบวร์ค (ผู้ซึ่งตั้งตนเป็น ฟรีดริชที่ 8 ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริก) เจ้าชายฟรีดริชแห่งเอากุสเทินบวร์คพระองค์นี้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของชาตินิยมเยอรมันในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพแก่รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ตั้งแต่ในสมัยของพระบิดาของพระองค์ซึ่งทรงแลกกับเงินโดยทรงยอมสละสิทธิในราชบัลลังก์ทั้งชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ตามมาด้วยการทำพิธีสารลอนดอนในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1851 ที่ซึ่งจัดทำหลังสิ้นสุดสงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่ง เนื่องมาจากพระบิดาทรงสละสิทธิ ส่งผลให้เจ้าชายฟรีดริชทรงถูกเห็นว่าขาดคุณสมบัติที่จะสืบราชบัลลังก์

เดนมาร์กอยู่ภายใต้กฎหมายแซลิก แต่จำกัดสิทธิที่ทายาทเชื้อสายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์กเท่านั้น(ผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบสืบราชสันตติวงศ์ โดยก่อนรัชสมัยของพระองค์กษัตริย์จะมาจากการเลือกตั้ง) ในขณะนั้นสมาชิกในราชสกุลชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์สายเอากุสเทินบวร์คและกลึคส์บวร์คซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายชายขององค์เหนือหัวไม่ได้รับการอนุญาตให้มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ภายใต้ข้อบัญญัติ การสืบราชบัลลังก์ทรงฝ่ายชายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ได้มาสิ้นสุดลงหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 และในจุดนั้น กฎหมายว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ประกาศใช้โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ได้รวมการสืบราชบัลลังก์แบบ "กฎหมายกึ่งแซลิก" อย่างไรก็ตามมีการทดแทนในการสืบราชสันตติวงศ์ที่เป็นไปได้ไม่ว่าจะเป็นพระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดที่สุด ปัญหาจะได้รับการแก้ไขโดยการเลือกตั้งหรือการแบกกฎหมายเพื่อยอมรับรัชทายาทองค์ใหม่

เจ้าชายคริสทีอันได้สืบราชบัลลังก์เป็นคริสเตียนที่ 9 หลังจากการสวรรคตของเฟรเดอริกที่ 7 ส่งผลให้สิ้นสุดราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค สายตรงและวิกฤตการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก

พระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุดคือ เจ้าหญิงลูอีส ชาร์ล็อตตูแห่งเดนมาร์กพระปิตุจฉาของพระองค์ ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับลันด์กราฟแห่งเฮ็สเซิน อย่างไรก็ตามทรงมิใช่เชื้อสายที่สืบทอดทางบุรุษและทรงไม่มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ในชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ รัชทายาทซึ่งเป็นราชนิกุลฝ่ายหญิงได้มีการกำหนดมาจากสิทธิของบุตรหัวปีโดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 จากการไร้บุตรของพระราชธิดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 หลังจากการเริ่มต้นของสิทธิของบุตรหัวปีได้ส่งผลถึงสิทธิของทายาทในเจ้าหญิงลูอีส เอากุสเตแห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับดยุกแห่งเอากุสเทินบวร์ค ทายาทของสายนั้นก็เหมือนกับเจ้าชายฟรีดรอชแห่งเอากุสเทินบวร์คแต่โอกาสของพระองค์มาถึงหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ใน ค.ศ. 1863

บางสิทธิได้เป็นของสายกลึคส์บวร์คซึ่งเป็นสายที่ยังอ่อนอาวุโสมากในราชวงศ์ สายตระกูลนี้เป็นทายาทของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ผ่านทางบรรพบุรุษหญิงซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กและมีทายาทชายอ่อนอาวุโสซึ่งมีสิทธิในชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ซึ่งก็คือ เจ้าชายคริสทีอันแห่งกลึคส์บวร์ค (ค.ศ. 1818–1906)และพระเชษฐาสองพระองค์ พระองค์โตทรงไร้รัชทายาทแต่พระองค์รองมีพระโอรส

เจ้าชายคริสทีอันแห่งกลึคส์บวร์ค (ค.ศ. 1818–1906) เป็นพระนัดดาบุญธรรมในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6กับสมเด็จพระราชินีมารี โซฟี ดังนั้นทำให้ทรงคุ้นเคยดีกับพระราชประเพณีและธรรมเนียมของราชวงศ์ เจ้าชายคริสทีอันเป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระราชินีมารี โซฟีและทรงเป็นเชื้อสายของพระญาติชั้นหนึ่งในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 พระองค์ถูกส่งมายังเดนมาร์กเพื่อประทับในพระราชวงศ์และตรัสภาษาเดนมาร์กและไม่ทรงเป็นชาตินิยมเยอรมัน แม้ว่าสิ่งที่ทางราชวงศ์ทำจะไม่เป็นไปตามกฎหมาย แต่ราชวงศ์ทำให้เจ้าชายทรงเป็นที่นิยมและเป็นจุดสนใจในชาวเดนมาร์ก ในขณะเป็นทายาทชายซึ่งอ่อนอาวุโส พระองค์ทรงมีสิทธิในราชบัลลังก์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แต่ไม่ใช่พระองค์แรกในราชสันตติวงศ์ เนื่องจากทรงเป็นเชื้อสายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ทำให้ทรงมีสิทธิสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก แต่ก็ไม่ใช่พระองค์แรกในราชสันตติวงศ์ อย่างไรก็ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ยังไม่ชัดเจน

เจ้าชายคริสทีอันแห่งกลึคส์บวร์คภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงลูอีเซอแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิลพระธิดาองค์โตในเจ้าหญิงลูอีส ชาร์ล็อตตูแห่งเดนมาร์ก พระปิตุจฉาของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุด พระมารดาและพระอนุชาของเจ้าหญิงลูอีเซอได้สละสิทธิในการสืบราชบัลลังก์แก่เจ้าหญิงลูอีอผวอและพระสวามี ทำให้พระชายาในเจ้าชายคริสทีอันเป็นพระญาติซึ่งใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุด

"กฎหมายกึ่งแซลิก"ในการสืบราชสันตติวงศ์ที่สลับซับซ้อนได้ถูกแก้ปัญหาโดยเจ้าชายคริสทีอันแห่งกลึคส์บวร์คได้ถูกเลือกในปี ค.ศ. 1852 ให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1863 เจ้าชายคริสทีอันได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็นพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1863 เจ้าชายฟรดริชแห่งเอากุสเทินบวร์คทรงอ้างสิทธิเหนือรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์โดยสืบบัลลังก์ดัชชีทั้งสองต่อจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ปรัสเซียและออสเตรียประกาศสงครามชเลสวิชครั้งที่สองกับเดนมาร์ก ซึ่งผลของสงครามคือ เดนมาร์กพ่ายแพ้และสูญเสียดัชชีทั้งสอง

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. เฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงโซฟี มัคดาเลเนอแห่งบรันเดินบวร์ค-คุล์มบัค
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. แฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
9. ดัชเชสยูลีอาเนอ มารีอา แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงออทัวเนเทอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟึนบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
2. คริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. คริสทีอัน ลูทวิชที่ 2 ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน (=24)
 
 
 
 
 
 
 
10. ดยุกลูทวิชแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน (=12)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. ดัชเชสกุสทาเวอ คาโรลีเนอ แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ (=25)
 
 
 
 
 
 
 
5. ดัชเชสโซฟี ฟรีเดอรีเคอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟรันทซ์ โยซีอัส ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ (=26)
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงชาร์ล็อทเทอ โซฟีแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ (=13)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงอันนา โซฟีแห่งชวาร์ซบวร์ค-รูดอลชตัดท์ (=27)
 
 
 
 
 
 
 
1. เฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คริสทีอัน ลูทวิชที่ 2 ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน (=20)
 
 
 
 
 
 
 
12. ดยุกลูทวิชแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน (=10)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. ดัชเชสกุสทาเวอ คาโนลีเนอ แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ (=21)
 
 
 
 
 
 
 
6. ฟรีดริช ฟรันทซ์ที่ 1 แกรนด์ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ฟรันทซ์ โยซีอัส ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ (=22)
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงชาร์ล็อทเทอ โซฟีแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ (=11)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงอันนา โซฟีแห่งชวาซบวร์ค-รูดอลชตัดท์ (=23)
 
 
 
 
 
 
 
3. ดัชเชสชาร์ล็อทเทอ ฟรีเดอรีเคอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. ฟรีดริชที่ 2 ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายโยฮันน์ เอากุสท์แห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงมัคดาเลเนอ เอากุสเทอ แห่งอัลฮัลท์-ชับซ์
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงลูอีเซอแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ไฮน์ริชที่ 1 เคานต์แห่งฮ็อยช์-ชายซ์
 
 
 
 
 
 
 
15. เคาน์เตสลูอีเซอแห่งฮ็อยส์-ชายซ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เคาน์เตสยูลีอาเนอ โดโรเทอา แห่งเลอเวินชไตน์-แวร์ทไฮม์-เชอเนอบวร์ค
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Frederick VII, Konge af Denmark". Salmonsens konversationleksikon. สืบค้นเมื่อ August 15, 2016.
  2. P.V. Glob (1969). The Bog People: Iron Age Man Preserved. London: Faber and Faber Limited. Page 68-69.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gete
  4. [1]
  5. Gete Bondo Oldenborg Maaløe: Getes Erindringer, Ådalen, 2009, ISBN 978-87-91365-44-7
  6. DIS-Forum :: AneEfterlysning :: Louise Rasmussen (Danner)
  7. P. Fr. Suhm: Hemmelige Efterretninger om de danske Konger efter souveraineteten, Copenhagen 1918
ก่อนหน้า พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
คริสเตียนที่ 8
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
(20 มกราคม ค.ศ. 1848 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963)
คริสเตียนที่ 9
คริสเตียนที่ 8
ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
(ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค)

(20 มกราคม ค.ศ. 1848 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863)
คริสเตียนที่ 9
คริสเตียนที่ 8
ดยุกแห่งซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค
(ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค)

(20 มกราคม ค.ศ. 1848 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863)
คริสเตียนที่ 9