ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ SARS-CoV-2_49531042877.jpg ด้วย SARS-CoV-2_(yellow).jpg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{Infobox medical condition (new)
| name = {{PAGENAME}}
| synonyms = * COVID-19
* 2019-nCoV acute respiratory disease
* Novel coronavirus pneumonia<ref name=NHC2020Name/>
| image = Symptoms_of_coronavirus_disease_2019_2.0-th.svg
| alt =
| caption = อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
| pronounce =
| specialty = [[โรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง)]], วิทยาปอด, [[เวชศาสตร์ป้องกัน]]
| symptoms = มีไข้, ไอ, หายใจไม่สะดวก
| complications = [[ปอดบวม|ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส]], [[กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน]], [[ไตวายเฉียบพลัน]]
| onset =
| duration =
| types =
| causes = [[โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)|โคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2]]
| risks =
| diagnosis = [[ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส|ตรวจด้วยวิธี พีซีอาร์]], ภาพทางการแพทย์
| differential =
| prevention =
| treatment = รักษาตามอาการ
| medication =
| prognosis =
| frequency =
| deaths =
}}
'''โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019''' ({{lang-en|coronavirus disease 2019}}) หรือ '''โรคไวรัสโคโรนา 19'''<ref>{{cite web
'''โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019''' ({{lang-en|coronavirus disease 2019}}) หรือ '''โรคไวรัสโคโรนา 19'''<ref>{{cite web
|url=https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26459
|url=https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26459

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:27, 12 เมษายน 2563

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (อังกฤษ: coronavirus disease 2019) หรือ โรคไวรัสโคโรนา 19[1], COVID-19[2][3][4] เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีสายพันธุกรรมเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไวรัสที่ก่อโรคซาร์ส[5][6] โรคนี้ถูกค้นพบในช่วงเวลาและเป็นสาเหตุของการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี พ.ศ. 2562–2563[7][8] เคยเป็นที่รู้จักในชื่อโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน 2019-nCoV, โรคปอดบวมอู่ฮั่น (Wuhan pneumonia) รวมทั้งชื่ออื่น ๆ[9]

วิธีการติดต่อโรคหลักในมนุษย์คือการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดจากละอองสารคัดหลั่งจากระบบการหายใจของบุคคลที่ติดเชื้อ ซึ่งมีอาการไอ หรือจาม[10] มีระยะฟักตัวของโรคระหว่าง 2 ถึง 14 วัน[11] การส่งผ่านเชื้อสามารถจำกัดด้วยการล้างมือ และสุขอนามัยที่ดี[12][13]

ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่[10][13] โรคนี้อาจเริ่มปรากฏจากไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย แล้วอาจพัฒนาเป็นมีไข้, ไอ, หายใจลำบาก, ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย[14] ซึ่งการพัฒนาต่ออาจนำไปสู่อาการปอดอักเสบ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิต ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วความพยายามจำกัดอยู่ที่การรักษาตามอาการ และการประคับประคองการทำงานของระบบอวัยวะ[15]

เริ่มมีการระบุโรคในนครอู่ฮั่นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ต่อมามีรายงานการติดเชื้อทั่วโลก กรณีที่รายงานนอกประเทศจีนส่วนใหญ่อยู่ในคนที่เพิ่งเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ก็มีบางกรณีที่เกิดการถ่ายทอดเชื้อในท้องถิ่นเช่นกัน มีรายงานผู้เสียชีวิตหลายพันรายในจีนแผ่นดินใหญ่และในส่วนอื่น ๆ ของโลก[16] อย่างไรก็ตาม มีการสืบเสาะจนสามารถระบุตัวผู้ป่วยรายแรกได้ เป็นชายชาวอู่ฮั่นอายุ 55 ปี โดยถูกตรวจว่าติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[17]

องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้ผู้ที่สงสัยว่าพวกเขากำลังติดเชื้อไวรัสสวมหน้ากากป้องกันใบหน้า และขอคำแนะนำทางการแพทย์ด้วยการโทรศัพท์แทนที่จะไปที่คลินิกโดยตรงด้วยตนเอง[18][19] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี พ. ศ. 2562-2563 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC)[20][21] เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 มีเพียงจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ที่การแพร่กระจายของโรคในชุมชนยังคงดำเนินอยู่[22]

อาการและอาการแสดง

ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการเช่น มีไข้ ไอ หายใจถี่[23][24][25] อาการท้องเสีย หรืออาการของระบบหายใจส่วนบน (เช่น จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ) ซึ่งพบไม่มากนัก[26] ผู้ป่วยสามารถพัฒนาไปสู่โรคปอดอักเสบรุนแรง ความล้มเหลวของหลายอวัยวะ และการเสียชีวิต[7][27]

ระยะเวลาการฟักตัวของโรค เวลาสำหรับการเริ่มแสดงอาการประมาณ 2 ถึง 10 วันระบุโดยองค์การอนามัยโลก[28] และ 2 ถึง 14 วันระบุโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC)[25]

สาเหตุ

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดแสดงเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (สีเหลือง)

สาเหตุของโรคนี้คือไวรัสที่มีชื่อว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) หรือที่เรียกว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV)[5] เชื่อว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่รับมาจากสัตว์ (Zoonotic)[29]

รูปแบบการแพร่กระจายหลักของโรคคือผ่านละอองสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจจากบุคคลที่ติดเชื้อซึ่งได้ จาม หรือไอ หรือจากการหายใจออก[10] เจ้าหน้าที่ในนครเซี่ยงไฮ้ยืนยันรูปแบบการถ่ายทอดเชื้อหลายแบบรวมถึงการส่งผ่านโดยตรง, การส่งผ่านโดยการสัมผัส และผ่านละอองในอากาศ ซึ่งสองแบบหลังเกี่ยวโยงกับการส่งผ่านเมื่อ มีคนสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนด้วยละอองของสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ และการหายใจเอาอากาศที่มีการฟุ้งกระจายของละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจเข้าไป[30]

การวินิจฉัย

ชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับเชื้อไวรัส 2019-nCoV โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา[31]

องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เกณฑ์วิธีหลายอย่างสำหรับการทดสอบโรคนี้[32][33] การทดสอบใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับแบบเวลาจริง (rRT-PCR)[34] ซึ่งสามารถทำได้กับตัวอย่างสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจหรือตัวอย่างเลือด[35] โดยทั่วไปแล้วจะทราบผลภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน[36][37] นักวิทยาศาสตร์จีนสามารถแยกสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัส และเผยแพร่ลำดับพันธุกรรมของไวรัส เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทั่วโลกสามารถพัฒนาชุดทดสอบพีซีอาร์ อย่างอิสระเพื่อตรวจหาการติดเชื้อโดยไวรัส[7][38][39][40][41]

แนวทางการวินิจฉัยที่ออกโดยโรงพยาบาลจงหนาน ของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นแนะนำวิธีการตรวจหาการติดเชื้อตามลักษณะทางคลินิก และความเสี่ยงทางระบาดวิทยา สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการระบุผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสองอาการ (นอกเหนือจากประวัติของการเดินทางไปอู่ฮั่น หรือการติดต่อกับผู้ป่วยที่ติดเชื้ออื่น ๆ) คือ มีไข้, มีผลภาพทางการแพทย์ที่มีโรคปอดอักเสบ, นับเม็ดเลือดขาวได้ปกติหรือลดลง หรือนับเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ได้ลดลง[42]

การป้องกัน

องค์กรด้านสุขภาพระดับโลก ได้เผยแพร่มาตรการป้องกัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ คำแนะนำคล้ายกับที่เผยแพร่สำหรับเชื้อโคโรนาไวรัสอื่น ๆ และรวมถึง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ ห้ามสัมผัสดวงตา, จมูก หรือปากด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง และฝึกฝนสุขอนามัยของระบบทางเดินหายใจที่ดี[43][44]

ไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยโดยผู้ที่มีสุขภาพดีในสังคม[45][12][13]

เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ผู้ติดเชื้ออยู่ที่บ้าน ยกเว้นเดินทางเพื่อรับการรักษาทางการแพทย์ โดยโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าก่อนไปยังสถานที่ให้บริการดูแลสุขภาพ สวมหน้ากาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ), ปิดป้องการไอ และจามด้วยกระดาษชำระ, ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวภายในบ้านร่วมกัน[46]

การจัดการ

ในขณะที่ไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะสำหรับโรคนี้ อาการทางคลินิกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง[47] องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่คำแนะนำการรักษาอย่างละเอียด สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARI) เมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่[48] WHO ยังแนะนำให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในการทดลองที่มีการควบคุมแบบสุ่ม เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแนวทางการรักษาที่มีศักยภาพ[49]

การวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคที่มีศักยภาพได้เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 และวิธีการรักษาใหม่อาจใช้เวลาในการพัฒนาจนถึงปี พ.ศ. 2564[50] นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบตัวยับยั้งเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส หรือยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)[51][52][53] และอินเตอร์เฟียรอนเบตา[53] ในปลายเดือนมกราคม 2563 นักวิจัยการแพทย์จีนแสดงเจตจำนงที่จะเริ่มการทดสอบทางคลินิกเกี่ยวกับยา เรมเดซิเวียร์, คลอโรควิน (Chloroquine) และ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir)[54] เนื่องจากพวกมันมีผลการต่อต้านกับโคโรนาไวรัสชนิดอื่น[55][56] และกลไกการออกฤทธิ์ที่บ่งชี้ว่ายาเหล่านี้อาจจะมีประสิทธิภาพ[57] โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ เป็นเป้าหมายของการวิจัยและการวิเคราะห์ที่สำคัญ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนสาขาปักกิ่งเปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ โดยเแนะนำให้ใช้ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา[58] ยาเหล่านี้สามารถเบิกจ่ายได้ทางระบบประกันสุขภาพในบางประเทศ[59]

การแพทย์ทางเลือก

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนแนะนำให้ใช้การแพทย์แผนจีน (TCM) เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้นำแพทย์แผนจีน เข้าสู่แผนวินิจฉัยและการรักษา COVID ฉบับที่สาม[60] วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ของอู่ฮั่นสั่งให้ผู้ป่วยทุกคน ทำการรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีนโดยเฉพาะ[61][62] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ อู่ฮั่นเปิดโรงพยาบาลชั่วคราวที่มุ่งเน้นการรักษาด้วยการแพทย์จีนแผนโบราณ.[63] ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวิธีนี้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ในการรักษาการติดเชื้อโคโรนาไวรัส[64][65]

จิตวิทยา

บุคคลที่ติดเชื้ออาจประสบปัญหาเป็นทุกข์จากการถูกกักกัน, ข้อจำกัดในการเดินทาง, ผลข้างเคียงของการรักษา หรือความกลัวในการติดเชื้อ เพื่อแก้ไขข้อกังวลเหล่านี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ได้ตีพิมพ์แนวปฏิบัติระดับชาติสำหรับการแทรกแซงภาวะวิกฤตทางสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563[66][67]

การพยากรณ์โรค

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วย 137 คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในมณฑลหูเป่ย์ พบว่ามีผู้เสียชีวิต 16 ราย (12%)[47] ในบรรดาผู้ที่เสียชีวิตมีหลายคนที่มีอาการป่วยมาก่อน รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ[68]

ในกรณีแรก ๆ ที่ทำให้เสียชีวิต พบว่าเวลาเฉลี่ยของการดำเนินโรคอยู่ที่ 14 วันโดยมีพิสัยทั้งหมดอยู่ระหว่าง 6 ถึง 41 วัน[69]

วิทยาการระบาด

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก จากการวิเคราะห์กรณีผู้ป่วย 44,000 รายของโรคติดเชื้อ Covid-19 ในมณฑลหูเป่ย์พบว่าประมาณ 80% ของผู้ป่วยมีเพียงอาการที่ไม่รุนแรง, 14% เป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเช่นปอดอักเสบ, 5% มีอาการของโรคที่ร้ายแรง และ 2% ของผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต[70]

อัตราการเสียชีวิตและอัตราการเจ็บป่วยโดยรวมเนื่องจากการติดเชื้อ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ในขณะที่อัตราการตายของผู้ป่วยเปลี่ยนไปตามระยะเวลาในการระบาดของโรค ในปัจจุบันสัดส่วนของการติดเชื้อที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้ยังไม่ชัดเจน[71][72] อย่างไรก็ตามการวิจัยเบื้องต้นแสดงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 2% ถึง 3%[73] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก ให้ข้อสังเกตว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากโรคอยู่ที่ประมาณ 3%[74] และ 2% ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในหูเป่ย์[70] รายงานการศึกษาฉบับร่างของอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ที่ยังไม่ได้พิชญพิจารณ์ ในบรรดาผู้เสียชีวิต 55 ราย ระบุว่าการประเมินต้นของอัตราการเสียชีวิตอาจสูงเกินไปเนื่องจากไม่ได้รวมกรณีการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ พวกเขาประเมินค่าเฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ (อัตราการเสียชีวิตระหว่างติดเชื้อ) ช่วงพิสัยอยู่ระหว่าง 0.8% เมื่อรวมผู้ที่เป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการจนถึง 18% เมื่อรวมเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการจากมณฑลหูเป่ย์เท่านั้น[75]

ศัพท์บัญญัติ

องค์การอนามัยโลกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประกาศว่า "COVID-19" เป็นชื่อทางการของโรคนี้ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) แถลงว่า "co" มาจาก "corona", "vi" มาจาก "virus" และ "d" สำหรับ "disease" ในขณะที่ "19" เป็นปีที่มีการระบาดครั้งแรก ที่ถูกระบุในวันที่ 31ธันวาคม ค.ศ. 2019 เขาได้กล่าวว่า ชื่อดังกล่าวได้รับเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการอ้างอิงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์, สายพันธุ์สัตว์ หรือกลุ่มคน ที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของนานาชาติในการตั้งชื่อเพื่อป้องกันปัญหาการเลือกปฏิบัติ[76][77]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "รายงานข่าวกรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ประจำวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563". thaigov.go.th. รัฐบาลไทย. 12 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "Novel coronavirus to be called COVID-19, says WHO". 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  3. "Coronavirus disease named Covid-19". February 11, 2020 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  4. World Health Organization (2020). Novel Coronavirus (‎‎‎2019-nCoV)‎‎‎: situation report, 10 (PDF) (Report). World Health Organization.
  5. 5.0 5.1 Gorbalenya, Alexander E. (2020-02-11). "Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus – The species and its viruses, a statement of the Coronavirus Study Group". bioRxiv: 2020.02.07.937862. doi:10.1101/2020.02.07.937862. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  6. "Coronavirus disease named Covid-19". BBC News. 2020-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  7. 7.0 7.1 7.2 The continuing 2019-nCoV epidemic threat of novel coronaviruses to global health – The latest 2019 novel coronavirus outbreak in Wuhan, China. Int J Infect Dis. 2020 Jan 14;91:264–266. doi:10.1016/j.ijid.2020.01.009. PMID 31953166.
  8. "Q&A on coronaviruses". World Health Organization (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  9. "国家卫生健康委关于新型冠状病毒肺炎暂命名事宜的通知". 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Q & A on novel coronavirus". European Centre for Disease Prevention and Control (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  11. "Symptoms of Novel Coronavirus (2019-nCoV) | CDC". www.cdc.gov. 2020-02-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  12. 12.0 12.1 "MOH | Updates on 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV) Local Situation". www.moh.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  13. 13.0 13.1 13.2 Health, Australian Government Department of (2020-01-21). "Novel coronavirus (2019-nCoV)". Australian Government Department of Health. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  14. Wang D, Hu B, Hu C, Zhu F, Liu X, Zhang J, Wang B, Xiang H, Cheng Z, Xiong Y, Zhao Y, Li Y, Wang X, Peng Z (February 2020). "Clinical Characteristics of 138 Hospitalized Patients With 2019 Novel Coronavirus-Infected Pneumonia in Wuhan, China". JAMA. doi:10.1001/jama.2020.1585.
  15. "Prevention and Treatment". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 9 August 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  16. "Tracking coronavirus: Map, data and timeline". BNO News. 10 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  17. "เผยจีน สืบหาจนเจอ 'ผู้ป่วยรายที่หนึ่ง' ในหูเป่ย ติดโควิด-19 ได้แล้ว". ไทยรัฐ. 2020-03-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  18. CDC (2020-02-11). "2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV)". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  19. "Advice for public". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  20. "Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV)". www.who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  21. Shibani Mahtani; Miriam Berger; Siobhán O'Grady; Marisa Iati (บ.ก.). "Hundreds of evacuees to be held on bases in California; Hong Kong and Taiwan restrict travel from mainland China". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  22. "Areas with presumed ongoing community transmission of 2019-nCoV". European Centre for Disease Prevention and Control (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  23. Chen, Nanshan; Zhou, Min; Dong, Xuan; และคณะ (2020-01-30). "Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study". The Lancet. 0 (10223): 507–513. doi:10.1016/S0140-6736(20)30211-7. ISSN 0140-6736.
  24. Hessen, Margaret Trexler (27 January 2020). "Novel Coronavirus Information Center: Expert guidance and commentary". Elsevier Connect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  25. 25.0 25.1 "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Symptoms". Centers for Disease Control and Prevention. 10 February 2020.
  26. Huang, Chaolin; Wang, Yeming; Li, Xingwang; และคณะ (24 January 2020). "Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China". Lancet. 395 (10223): 497–506. doi:10.1016/S0140-6736(20)30183-5. ISSN 0140-6736. PMID 31986264.
  27. "Q&A on coronaviruses". who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  28. World Health Organization (2020). Novel Coronavirus (2019-nCoV): situation report, 6 (PDF) (Report). World Health Organization.
  29. Zhou, Peng; Yang, Xing-Lou; Wang, Xian-Guang; และคณะ (23 January 2020). "Discovery of a novel coronavirus associated with the recent pneumonia outbreak in humans and its potential bat origin". bioRxiv: 2020.01.22.914952. doi:10.1101/2020.01.22.914952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  30. 江巍. "Shanghai officials reveal novel coronavirus transmission modes - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  31. CDC (2020-02-05). "CDC Tests for 2019-nCoV". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
  32. Schirring, Lisa; 2020 (16 January 2020). "Japan has 1st novel coronavirus case; China reports another death". CIDRAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  33. "Laboratory testing for 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) in suspected human cases: Interim guidance". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  34. "2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation Summary". Centers for Disease Control and Prevention. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
  35. "Real-Time RT-PCR Panel for Detection 2019-nCoV". Centers for Disease Control and Prevention. 29 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  36. Brueck, Hilary (30 January 2020). "There's only one way to know if you have the coronavirus, and it involves machines full of spit and mucus". Business Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  37. "Curetis Group Company Ares Genetics and BGI Group Collaborate to Offer Next-Generation Sequencing and PCR-based Coronavirus (2019-nCoV) Testing in Europe". GlobeNewswire News Room. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  38. "Undiagnosed pneumonia – China (HU) (01): wildlife sales, market closed, RFI Archive Number: 20200102.6866757". Pro-MED-mail. International Society for Infectious Diseases. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2020. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  39. Cohen, Jon; Normile, Dennis (17 January 2020). "New SARS-like virus in China triggers alarm" (PDF). Science. 367 (6475): 234–235. doi:10.1126/science.367.6475.234. ISSN 0036-8075. PMID 31949058. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  40. Parry, Jane (January 2020). "China coronavirus: cases surge as official admits human to human transmission". British Medical Journal. 368: m236. doi:10.1136/bmj.m236. ISSN 1756-1833. PMID 31959587.
  41. Voytko, Lisette. "WHO Declares Coronavirus A Global Health Emergency, Praises China's 'Extraordinary Measures'". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  42. Jin, Ying-Hui; Cai, Lin; Cheng, Zhen-Shun; และคณะ (2020-02-06). "A rapid advice guideline for the diagnosis and treatment of 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) infected pneumonia (standard version)". Military Medical Research. 7 (1): 4. doi:10.1186/s40779-020-0233-6. ISSN 2054-9369.
  43. "Coronavirus | About | Prevention and Treatment | CDC". www.cdc.gov. 2020-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
  44. "Advice for public". www.who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
  45. Health, Australian Government Department of (2020-01-21). "Coronavirus (COVID-19)". Australian Government Department of Health. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  46. CDC (2020-02-11). "What to do if you are sick with 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV)". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  47. 47.0 47.1 Kui, Liu; Fang, Yuan-Yuan; Deng, Yan; และคณะ (2020). "Clinical characteristics of novel coronavirus cases in tertiary hospitals in Hubei Province". Chinese Medical Journal: 1. doi:10.1097/CM9.0000000000000744. ISSN 0366-6999.
  48. "Clinical management of severe acute respiratory infection when novel coronavirus (nCoV) infection is suspected". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  49. Nebehay, Stephanie; Kelland, Kate; Liu, Roxanne (2020-02-05). "WHO: 'no known effective' treatments for new coronavirus". Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
  50. Lu H. (28 January 2020). "Drug treatment options for the 2019-new coronavirus (2019-nCoV)". Biosci Trends. doi:10.5582/bst.2020.01020.
  51. Holshue, Michelle L.; DeBolt, Chas; Lindquist, Scott; และคณะ (2020-01-31). "First Case of 2019 Novel Coronavirus in the United States". New England Journal of Medicine: NEJMoa2001191. doi:10.1056/NEJMoa2001191. ISSN 0028-4793.
  52. Xu, Zhijian; Peng, Cheng; Shi, Yulong; และคณะ (28 January 2020). "Nelfinavir was predicted to be a potential inhibitor of 2019 nCov main protease by an integrative approach combining homology modelling, molecular docking and binding free energy calculation". bioRxiv: 2020.01.27.921627. doi:10.1101/2020.01.27.921627 – โดยทาง www.biorxiv.org.
  53. 53.0 53.1 Paules, Catharine I.; Marston, Hilary D.; Fauci, Anthony S. (23 January 2020). "Coronavirus Infections—More Than Just the Common Cold". JAMA. doi:10.1001/jama.2020.0757. PMID 31971553.
  54. Wang M; และคณะ (2020). "Remdesivir and chloroquine effectively inhibit the recently emerged novel coronavirus (2019-nCoV) in vitro". Cell Res. doi:10.1038/s41422-020-0282-0.
  55. Zumla, Alimuddin; Hui, David S.; Azhar, Esam I.; Memish, Ziad A.; Maeurer, Markus (2020-02-05). "Reducing mortality from 2019-nCoV: host-directed therapies should be an option". The Lancet. 0. doi:10.1016/S0140-6736(20)30305-6. ISSN 0140-6736.
  56. Yu, Fei; Du, Lanying; Ojcius, David M.; Pan, Chungen; Jiang, Shibo (2020-02-01). "Measures for diagnosing and treating infections by a novel coronavirus responsible for a pneumonia outbreak originating in Wuhan, China". Microbes and Infection. doi:10.1016/j.micinf.2020.01.003. ISSN 1286-4579.
  57. Lin, Shen; Shen, Runnan; Guo, Xushun (2020-02-03). "Molecular Modeling Evaluation of the Binding Abilities of Ritonavir and Lopinavir to Wuhan Pneumonia Coronavirus Proteases". bioRxiv: 2020.01.31.929695. doi:10.1101/2020.01.31.929695.
  58. "China names HIV drugs as part of treatment plan for Wuhan virus". The Japan Times Online. 2020-01-26. ISSN 0447-5763. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  59. "Interferon, Kaletra to get insurance benefit for new coronavirus treatment - Korea Biomedical Review". www.koreabiomed.com (ภาษาKorean). 2020-02-04. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  60. "新冠肺炎治疗:讲究实证的西医和自我定位的中药" [Treating the novel conoravirus: the empirical Western medicine and the self-positioning Chinese medicine]. BBC News (ภาษาChinese). 14 February 2020.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  61. "中医来了!8个防治"协定方" 辅助治疗新型冠状病毒感染肺炎" [Here comes Chinese medicine! 8 "agreed-on prescriptions" help prevent and treat the new coronavirus pneumonia]. CCTV News (ภาษาChinese). สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  62. "武汉要求所有患者必须吃中药 网民质疑" [Wuhan wants all patients put on TCM; Netizens question]. Epoch Times (ภาษาChinese). 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  63. "Virus-hit Wuhan opens first TCM-oriented temporary hospital". Xinhua.
  64. "Dispelling the myths around the new coronavirus outbreak". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  65. Wee, Sui-Lee (5 February 2020). "In Coronavirus, China Weighs Benefits of Buffalo Horn and Other Remedies". The New York Times.
  66. Xiang, Yu-Tao; Yang, Yuan; Li, Wen; และคณะ (4 February 2020). "Timely mental health care for the 2019 novel coronavirus outbreak is urgently needed". The Lancet Psychiatry (ภาษาอังกฤษ): S2215036620300468. doi:10.1016/S2215-0366(20)30046-8.
  67. Kang, Lijun; Li, Yi; Hu, Shaohua; และคณะ (5 February 2020). "The mental health of medical workers in Wuhan, China dealing with the 2019 novel coronavirus". The Lancet Psychiatry: S221503662030047X. doi:10.1016/S2215-0366(20)30047-X.
  68. "WHO Director-General's statement on the advice of the IHR Emergency Committee on Novel Coronavirus". who.int.
  69. Wang, Weier; Tang, Jianming; Wei, Fangqiang (2020). "Updated understanding of the outbreak of 2019 novel coronavirus (2019‐nCoV) in Wuhan, China". Journal of Medical Virology. doi:10.1002/jmv.25689. PMID 31994742.
  70. 70.0 70.1 Boseley, Sarah (17 February 2020). "Coronavirus causes mild disease in four in five patients, says WHO". The Guardian.
  71. "Limited data on coronavirus may be skewing assumptions about severity". STAT. 2020-01-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
  72. Sparrow, Annie. "How China's Coronavirus Is Spreading—and How to Stop It". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
  73. "Wuhan Coronavirus Death Rate - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
  74. "WHOが"致死率3%程度" 専門家「今後 注意が必要」". NHK. 24 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
  75. "Report 4: Severity of 2019-novel coronavirus (nCoV)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  76. "Novel coronavirus named 'Covid-19': WHO". TODAYonline. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  77. "The coronavirus spreads racism against—and among—ethnic Chinese". The Economist. 17 February 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น


การจำแนกโรค