กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น
ครุป | |
---|---|
ชื่ออื่น | กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ (laryngotracheitis), กล่องเสียงอักเสบระดับใต้สายเสียง(subglottic laryngitis), กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (obstructive laryngitis), กล่องเสียงท่อลมและหลอดลมอักเสบ (laryngotracheobronchitis) |
ลักษณะตีบแคบบริเวณฝาปิดกล่องเสียง (steeple sign) ในภาพถ่ายรังสีบริเวณคอในท่าตรงของผู้ป่วยเด็กที่มีอาการกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น | |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | ไอเสียงก้อง, หายใจเสียงดัง, มีไข้, คัดจมูก[1] |
ระยะดำเนินโรค | ส่วนใหญ่หายใน 1–2 วัน, บางรายอาจเป็นนานถึง 7 วัน[2] |
สาเหตุ | ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ[3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ, สิ่งแปลกปลอมในทางหายใจ, ท่อลมอักเสบจากแบคทีเรีย[3][4] |
การป้องกัน | การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ[4] |
ยา | สเตอรอยด์, เอพิเนฟรีน[3][4] |
ความชุก | ร้อยละ 15 ของเด็กในบางช่วง[3][4] |
การเสียชีวิต | พบน้อย[1] |
ครุป[5] หรือ กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (อังกฤษ: croup, acute obstructive laryngitis) เป็นการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างหนึ่งที่มักเกิดจากไวรัส[1] ภาวะนี้จะทำให้ท่อลมบวม ขัดขวางการหายใจ และทำให้เกิดอาการสำคัญได้แก่ การไอเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า การมีเสียงฮี้ด (stridor) ขณะหายใจ และเสียงแหบ[1] ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้และน้ำมูกไหลร่วมด้วย[1] อาการของโรคมีทั้งเป็นเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง[2] มักเริ่มเป็นหรือเป็นมากเวลากลางคืน[1][2] ระยะเวลาของการเจ็บป่วยรวมแล้วประมาณ 1–2 วัน[6]
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของครุปมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา และไวรัสอินฟลูเอนซา (หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่)[1] แบคทีเรียก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่พบได้น้อยกว่า[4] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย ก่อนวินิจฉัยจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกเอาโรคอื่นที่อันตรายกว่า เช่น ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ออกไปให้ได้ก่อน[3] การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด การถ่ายภาพรังสี หรือการเพาะเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นนัก[3]
เชื้อที่เป็นสาเหตุของครุปบางส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อคอตีบ[4] การรักษาที่สำคัญคือการให้สเตอรอยด์ครั้งเดียว ซึ่งอาจให้กินหรือให้ฉีดก็ได้[1] ถ้าอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ยาเอพิเนฟรีนพ่นแบบฝอยละอองเข้าทางการหายใจ[1][7] ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นประมาณ 1–5% ของผู้ป่วยทั้งหมด[8]
โรคนี้ค่อนข้างพบได้บ่อย เด็กประมาณ 15% จะเคยป่วยโรคนี้[3] ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี แต่บางครั้งก็พบได้ในเด็กโตถึงอายุ 15 ปี[2][3][8] พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย[8] มักพบมากในฤดูใบไม้ร่วง[8] ในยุคก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนโรคนี้มักเกิดจากเชื้อคอตีบ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต[4][9] ปัจจุบันครุปจากเชื้อคอตีบพบได้น้อยมากเนื่องจากมีการให้วัคซีนโรคคอตีบอย่างกว้างขวาง[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Rajapaksa S, Starr M (May 2010). "Croup – assessment and management". Aust Fam Physician. 39 (5): 280–2. PMID 20485713.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Johnson D (2009). "Croup". Clin Evid (Online). 2009. PMC 2907784. PMID 19445760.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Everard ML (กุมภาพันธ์ 2009). "Acute bronchiolitis and croup". Pediatr. Clin. North Am. 56 (1): 119–33, x–xi. doi:10.1016/j.pcl.2008.10.007. PMID 19135584.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Cherry JD (2008). "Clinical practice. Croup". N. Engl. J. Med. 358 (4): 384–91. doi:10.1056/NEJMcp072022. PMID 18216359.
- ↑ J05 กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นเฉียบพลัน [ครุป] และฝากล่องเสียงอักเสบ (PDF). บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) เล่ม 1 ตารางการจัดกลุ่มโรค. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2009. p. 373. ISBN 978-616-11-0337-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-04-13. สืบค้นเมื่อ 2023-01-17.
- ↑ Thompson, M; Vodicka, TA; Blair, PS; Buckley, DI; Heneghan, C; Hay, AD; TARGET Programme Team (11 ธันวาคม 2013). "Duration of symptoms of respiratory tract infections in children: systematic review". BMJ (Clinical research ed.). 347: f7027. doi:10.1136/bmj.f7027. PMC 3898587. PMID 24335668.
- ↑ Bjornson, C; Russell, K; Vandermeer, B; Klassen, TP; Johnson, DW (10 ตุลาคม 2013). "Nebulized epinephrine for croup in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 10: CD006619. doi:10.1002/14651858.CD006619.pub3. PMID 24114291.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Bjornson, CL; Johnson, DW (15 October 2013). "Croup in children". CMAJ : Canadian Medical Association Journal. 185 (15): 1317–23. doi:10.1503/cmaj.121645. PMC 3796596. PMID 23939212.
- ↑ Steele, Volney (2005). Bleed, blister, and purge : a history of medicine on the American frontier. Missoula, Mont.: Mountain Press. p. 324. ISBN 978-0-87842-505-1.
- ↑ Feigin, Ralph D. (2004). Textbook of pediatric infectious diseases. Philadelphia: Saunders. p. 252. ISBN 0-7216-9329-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Croup", MayoClinic
- "Four kinds of Croup", Health Scout, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010
- "Clinical Management notes" (PDF), Alberta Medical Association, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 ตุลาคม 2009
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |