โรคปอดอักเสบจาก pneumocystis jirovecii

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคปอดอักเสบ
จากเชื้อนิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ
(Pneumocystis jirovecii pneumonia)
ซิสต์ของเชื้อ Pneumocystis jirovecii ในน้ำล้างหลอดลมและถุงลม ย้อมด้วยสีย้อม Toluidin blue O stain
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B20.6
ICD-9136.3
DiseasesDB10160
MedlinePlus000671
eMedicinemed/1850
MeSHD011020

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ หรือ พีซีพี (อังกฤษ: pneumocystis jirovecii pneumonia, pneumocystis pneumonia, pneumocystosis, PCP) เป็นโรคปอดบวมอย่างหนึ่งที่เกิดจากเชื้อราลักษณะคล้ายยีสต์ชื่อ นิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ (Pneumocystis jirovecii) เชื้อนี้เป็นเชื้อพบเฉพาะมนุษย์ ไม่ติดในสัตว์ ในขณะที่สปีชีส์อื่นของ Pneumocystis สามารถพบเป็นปรสิตในสัตว์ได้ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น) แต่ไม่พบติดเชื้อในมนุษย์[1]

เชื้อนี้พบได้ทั่วไปในปอดของคนปกติ แต่จะเป็นแหล่งทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ โรคพีซีพีนี้พบบ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์ และผู้ป่วยที่ใช้ยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

เชื้อก่อโรคของโรคนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ P. jiroveci หรือ P. jirovecii ชื่อเดิมของเชื้อคือ Pneumocystis carinii ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องสำหรับสายพันธุ์ที่พบในมนุษย์ แต่ยังเป็นชื่อที่นิยมใช้เรียกอยู่ ทำให้โรคนี้เป็นที่รู้จักในชื่อต่างๆ ได้แก่ Pneumocystis pneumonia (PCP) , Pneumocystis jiroveci[i] pneumonia และ Pneumocystis carinii pneumonia.[2][3][4]

Pneumocystis เป็นจีนัสหนึ่งของเชื้อราชนิดเซลล์เดียวที่พบในทางเดินหายใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดรวมทั้งมนุษย์ มีความแตกต่างทางพันธุกรรมอย่างมากในสมาชิกของจีนัสต่างๆ ที่ทำให้มีความจำเพาะต่อโฮสต์แตกต่างกัน เชื้อนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1909 โดย Chagas และหลักจากนั้นโดย Delanöes ซึ่งได้ตั้งชื่อเชื้อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Carini ที่ได้แยกเชื้อนี้จากหนูที่ติดเชื้อ หลายปีต่อมา Dr. Otto Jirovec และคณะได้แยกเชื้อนี้ได้จากมนุษย์ เชื้อที่ก่อโรคพีซีพีจึงได้รับการตั้งชื่อตามเขา

เชื้อ Pneumocystis ได้รับความสนใจครั้งแรกหลังจากถูกพบเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอดอักเสบของเนื้อปอด (interstitial pneumonia) ในยุโรปตอนกลางและทางตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทารกที่ขาดสารอาหารอย่างมากและทารกคลอดก่อนกำหนด ก่อนทศวรรษ 1980 มีรายงานผู้ป่วยพีซีพีในสหรัฐอเมริกาน้อยกว่า 100 รายต่อปี โดยพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือผู้ป่วยรับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน ในปี ค.ศ. 1981 Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ได้รายงานโรคพีซีพีในชายรักร่วมเพศ 5 คนที่มีสุขภาพดีมาตลอด ในอเมริกา บริเวณลอสแอนเจลิส

ปัจจุบัน P. jirovecii เป็นหนึ่งในเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสที่มีความรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก ช่วงสิบปีแรกหลังจากมีการระบาดทั่วของเชื้อเอชไอวีมีรายงานโรคพีซีพีกว่า 100,000 รายในสหรัฐอเมริกา เฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่มีคำอธิบายอื่นสำหรับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อุบัติการณ์[แก้]

โรคพีซีพีพบได้น้อยมากในคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่พบได้บ่อยในคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อย่างเช่นทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กขาดสารอาหาร คนชรา และผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบบ่อยในปัจจุบัน[1][5] พีซีพียังพบได้ในผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่นผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก และผู้ป่วยหลังผ่าตัดก็พบได้[6]

ระบาดวิทยา[แก้]

พีซีพีกับเอดส์[แก้]

มีการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่าง PCP กับเอดส์มาตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาดของเอดส์ ด้วยความที่ PCP มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น จึงเป็นข้อสงสัยสำคัญที่จะนำไปสู่การให้การวินิจฉัยโรคเอดส์ในผู้ป่วย ซึ่งไม่มีเหตุอื่นที่จะทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากรับการปลูกถ่ายอวัยวะ) ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 มีการเก็บข้อมูลพบว่ามีจำนวนผู้ป่วย PCP ในเขตอเมริกาเหนือเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งทราบได้จากการที่มีการสั่งยาเพนตาไมดีนซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ไม่ค่อยมีที่ใช้อื่นมากขึ้น ข้อมูลนี้เป็นสัญญาณแรกของการระบาดของเอดส์ในช่วงเวลาดังกล่าว[7][8]

ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการค้นพบวิธีรักษาที่ได้ผลดีนั้น PCP เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยและรุนแรงอย่างหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ อุบัติการณ์ของการเกิด PCP ลดลงเป็นอย่างมากหลังจากมีการนำยาโคไทรมอกซาโซลแบบกินมาใช้เป็นวิธีมาตรฐานในการป้องกัน PCP ในผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 200/mm³ ส่วนในผู้ป่วยเอดส์ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการป้องกันการติดเชื้อด้วยยาได้เช่นนี้ PCP ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักๆ อยู่

อาการ[แก้]

การวินิจฉัย[แก้]

ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคพีซีพี พบมีลักษณะขาวขุ่น (increase opacity) ในปอดช่วงล่างทั้งสองข้าง เป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้

การดำเนินโรค[แก้]

วงจรชีวิต[แก้]

การกำหนดชื่อ[แก้]

Pneumocystis
ซิสต์ของ P. jirovecii ในชิ้นเนื้อ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Fungi
R.T. Moore, 1980
อาณาจักรย่อย: Dikarya
Dikarya Hibbett, T. Y. James & Vilgalys, 2007
ไฟลัม: Ascomycota
Caval.-Sm., 1998
ไฟลัมย่อย: Taphrinomycotina
O. E. Eriksson & Winka, 1997
ชั้น: Pneumocystidomycetes
O. E. Eriksson & Winka, 1997
อันดับ: Pneumocystidales
O. E. Eriksson, 1994
วงศ์: Pneumocystidaceae
O. E. Eriksson
สกุล: Pneumocystis
P. Delanoë & Delanoë, 1912
Species

P. carinii P. Delanoë & Delanoë
P. jirovecii J.K. Frenkel
P. murina Keely, J.M. Fisch., Cushion & Stringer
P. oryctolagi Dei-Cas et al.
P. wakefieldiae Cushion, Keely & Stringer

Pneumocystis Genome Project[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Aliouat-Denis, C-M.; และคณะ (2008). "Pneumocystis species, co-evolution and pathogenic power". Infection, Genetics & Evolution. 8: 708–726. doi:10.1016/j.meegid.2008.05.001.
  2. Cushion MT . (1998). "Chapter 34. Pneumocystis carinii. In: Collier, L., Balows, A. & Sussman, M. (ed.), Topley and Wilson's Microbiology and Microbial Infections 9th ed. Arnold and Oxford Press, New York": 645–683. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Cushion MT (1998). "Taxonomy, genetic organization, and life cycle of Pneumocystis carinii". Semin. Respir. Infect. 13 (4): 304–312. PMID 9872627.
  4. Cushion MT (2004). "Pneumocystis: unraveling the cloak of obscurity". Trends Microbiol. 12 (5): 243–249. doi:10.1016/j.tim.2004.03.005. PMID 15120144.
  5. Ryan KJ; Ray CG (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. ISBN 0838585299.
  6. Puzio et al. Atypical and opportunistic pulmonary infections after cardiac surgery. Anestezjol Intens Ter. 2009 Jan-Mar;41(1):38-41.
  7. Fannin S, Gottlieb MS, Weisman JD; และคณะ (1982). "A Cluster of Kaposi's Sarcoma and Pneumocystis carinii pneumonia among homosexual male residents of Los Angeles and Range Counties, California". MMWR Weekly. 31 (32): 305–7.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Masur H, Michelis MA, Greene JB; และคณะ (10 December 1981). "An outbreak of community-acquired Pneumocystis carinii pneumonia". N Engl J Med. 305 (24): 1431–8. doi:10.1056/NEJM198112103052402. PMID 6975437.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)