ทางเดินหายใจส่วนล่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทางเดินหายใจส่วนล่าง (อังกฤษ: lower respiratory tract) เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินของอากาศหายใจที่อยู่ถัดจากทางเดินหายใจส่วนบน มีความสำคัญคือลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ประกอบด้วย กล่องเสียง (larynx), หลอดคอ (trachea), หลอดลมใหญ่หรือหลอดลมปอด (bronchus) และปอด

ทางเดินหายใจ

โครงสร้างและหน้าที่[แก้]

อวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของทางเดินหายใจส่วนล่างมีหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเข้าสู่ปอด สำหรับกล่องเสียงซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างเสียงและช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเช่นน้ำและอาหารตกเข้าสู่หลอดคอเวลาที่เราหายใจ เนื่องจากกล่องเสียงมีฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) คอยควบคุมอยู่ ส่วนหลอดคอนั้นจะประกอบด้วยกระดูกอ่อนมาเรียงตัวกันกลายเป็นท่อที่ใหญ่ที่สุดในระบบทางเดินหายใจ ที่ปลายสุดของหลอดคอจะแตกแขนงออกเป็นสองแขนงเรียกว่าหลอดลมใหญ่ และหลอดลมใหญ่นั้นก็จะแตกเป็นแขนงย่อยๆเป็นหลอดลมฝอยเข้าสู่ปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในระบบทางเดินหายใจ โดยหลอดลมฝอยนั้นจะสัมผัสกับถุงลมปอด และที่บริเวณนี้เองที่เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้น

การติดเชื้อ[แก้]

ทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นบริเวณที่มีการติดเชื้อสูง[1] เช่น การอักเสบที่บริเวณฝาปิดกล่องเสียง (acute epiglottis), การอักเสบของกล่องเสียง (acute laryngitis) [2] โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ เป็นต้น

ภาพเพิ่มเติม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  2. http://my.dek-d.com/KATAI-Zaa/blog/?blog_id=10143451