ข้ามไปเนื้อหา

ผู่เจี๋ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าชายผู่เจี๋ย)
ผู่เจี๋ย

อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ย
เจ้าชายจีน
เจ้าชายแห่งแมนจู
ประสูติ16 เมษายน ค.ศ. 1907
ตำหนักฉุนจิ้นอ๋อง กรุงปักกิ่ง
สิ้นพระชนม์28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994
กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (86 ปี)
พระชายาเจ้าหญิงถัง ฉือเสีย
ฮิโระ ซางะ
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮุ่ยเฉิง
เจ้าหญิงหยุนเฉิง
ราชวงศ์ชิง
พระบิดาฉุนจิ้นอ๋องไจ้เฟิง
พระมารดาโยวหลัน

อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ย (จีนตัวย่อ: 爱新觉罗 溥杰; จีนตัวเต็ม: 愛新覺羅 溥傑; พินอิน: Àixīnjuéluó Pǔjié ญี่ปุ่น: 愛新覚羅 溥傑 Aishinkakura Fuketsu) เกิดในราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัวเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2450 และเสียชีวิตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 เป็นพระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋ ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน[1]

พระประวัติ

[แก้]

ชีวิตแรกเริ่ม

[แก้]

ผู่เจี๋ย เป็นพระโอรสในเจ้าชายไจ้เฟิงกับโยวหลัน ขณะยังเป็นเด็ก เขาย้ายมาอยู่พระราชวังต้องห้ามในปักกิ่ง เพื่อเป็นเพื่อนเล่นของผู่อี๋ มีเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีคือผู่อี๋กรี้วเมื่อทอดพระเนตรพบเสื้อข้างในของผู่เจี๋ยเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีเฉพาะของจักรพรรดิ[2]

ในปี พ.ศ. 2472 ผู่เจี๋ยได้ทรงเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อไปศึกษาต่อ พระองค์สำเร็จการศึกษาที่กะคุชูอินและสามารถตรัสภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว และได้เสด็จไปที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2478

ผู่เจี๋ยสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับเจ้าหญิงแห่งแมนจู ถัง ฉือเสีย (จีน: 唐石霞; พินอิน: Táng Shíxiá; Tung Shih-hsia) พระนัดดา (หลานสาว) ในพระมเหสีเค่อชุ่น(เจินหวงกุ้ยเฟย์) และพระอัครชายาจิ่นเฟย์ในฮ่องเต้กวังซวี่ แต่หนีจากพระชายาหลังจากไปที่ญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ ชีวิตสมรสนั้นได้สิ้นสุดลง หลังจากสำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่น ผู่เจี๋ยทรงตกลงเลือกภรรยา (โอมิไอ) กับสตรีชั้นสูงของญี่ปุ่นซึ่งก็คือเจ้าหญิงฮิโระ ซากะ (พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2530) ซึ่งทรงเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับราชตระกูลญี่ปุ่น จากรูปและจากจำนวนผู้สมัครซึ่งได้ผ่านการประเมินโดยกองทัพคันโต[3] ขณะที่ผู่อี๋ยังไม่มีทายาทชาย การแต่งงานนั้นมีความแข็งแกร่งเกี่ยวกับการแสดงออกโดยนัยการเมือง และถูกมุ่งหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง สายเลือดญี่ปุ่น กับ ราชตระกูลแมนจูกัว

พิธีหมั้นจัดขึ้นที่สถานทูตประเทศแมนจูที่โตเกียวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 และพิธีเสกสมรสจัดขึ้นที่โถงกองทัพจักรวรรดิที่ คุดันซะกะ โตเกียว ในวันที่ 3 เมษายน ในเดือนตุลาคมทั้งคู่ก็ย้ายไปที่ซิงกิง (ปัจจุบันคือฉางชุน) เมืองหลวงของแมนจูกัว ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิผู่อี๋ หลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง

ประเทศแมนจู

[แก้]

เนื่องจากจักรพรรดิผู่อี๋ไม่มีพระราชโอรส ผู่เจี๋ยซึ่งเป็นน้องชายจึงหวังที่จะได้ครองราชบัลลังก์แมนจูต่อจากพี่ชาย ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเองก็สนับสนุนผู่เจี๋ยเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู่อี๋ไม่ต้องการให้ผู่เจี๋ยเป็นทายาทราชวงศ์ชิง อันเป็นธรรมเนียมตามราชประเพณีที่ว่า จักรพรรดิซึ่งไม่มีโอรสนั้นควรเลือกทายาทของตนจากรุ่นหนึ่งในครอบครัว ขณะประทับที่แมนจูนั้น ผู่เจี๋ยมีตำแหน่งเป็นสมุหราชองค์รักษ์กิตติมศักดิ์แห่งแมนจู แต่พระองค์ทรงกลับไปที่ญี่ปุ่นกะทันหันในปีพ.ศ. 2487 เพื่อเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเสนาธิการกองทัพ

ในช่วงที่แมนจูกัวล่มสลายเมื่อโซเวียตรุกรานประเทศแมนจูในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 ตอนแรกผู่เจี๋ยทรงพยายามลี้ภัยออกจากญี่ปุ่นกับพี่ชาย แต่ยังไรก็ตาม กลายเป็นอย่างที่ชัดเจนเมื่อไม่มีทางลี้ภัย พระองค์ทรงตัดสินใจที่จะกลับซิงกิงด้วยความไม่ประสบความสำเร็จที่จะออกจากเมืองไปที่กองกำลังก๊กมิงตั๋งของสาธารณรัฐจีน แน่นอนว่าเมืองนี้ตกเป็นของโซเวียต

ผู่เจี๋ยถูกจับกุมโดยกองทัพโซเวียต และถูกส่งไปที่คุกในชิตะและคาเยอรอฟก์ในไซบีเรียกับพี่ชายและเชื้อพระวงศ์ ด้วยการบรรลุข้อตกลงของจีน-โซเวียตหลังจากการตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู่เจี๋ยถูกส่งให้ทางการจีนไปรับโทษในปี พ.ศ. 2493

ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

ในการกลับมาจีน ผู่เจี๋ยถูกคุมขังที่ศูนย์บริหารที่เกี่ยวกับอาชญากรฟูชุน เขาเป็นนักโทษต้นแบบและกลายเป็นสัญลักษณ์ของการผ่อนผันการรับโทษในระบบการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและภายหลังได้ทำงานในหน้าที่ที่ไปประจำอยู่ ในปีพ.ศ. 2504 เขาพ้นโทษและอาศัยอยู่กับเจ้าหญิงฮิโระ ซางะ ในบั้นปลายชีวิต เจ้าหญิงฮิโระ ซางะ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2530 จากนั้นอีก 7 ปี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ผู่เจี๋ยก็เสียชีวิตขณะอายุ 86 ปี

ลูกหลาน

[แก้]

ผู่เจี๋ยมีลูกสาว 2 คน

  • เจ้าหญิง อ้ายซินเจว๋หลัว ฮัวเชิง 慧生 เกิดที่ ซิงกิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 และศึกษาที่มหาวิทยาลัยกาคูชูอิน เธอถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2500 แต่ปรากฏว่าเธอฆ่าตัวตาย
  • เจ้าหญิง อ้ายซินเจว๋หลัว ยุนเชิง 嫮生 เกิดปี พ.ศ. 2484 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยหญิงกาคูชูอิน ได้แต่งงานกับ โคเซอิ ฟูกูนากะ อดีตพนักงานผลิตโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีลูก 5 คน

วงศ์ตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8. พระปัยกา (ทวด) : สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. พระอัยกา: เจ้าชายชุนที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. พระปัยยิกา (ทวด) : พระสนมหลิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พระราชบิดา: เจ้าชายชุนที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. พระอัยยิกา: นางหลิงหิยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ผู่เจี๋ย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. พระอัยกา: ยงลู่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. พระราชมารดา: โยวหลัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pu Jie, 87, Dies, Ending Dynasty Of the Manchus". The New York Times. Associated Press. 2 March 1994. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  2. Cotter, Kids Who Rule, pp.76
  3. Lebra, Above the Clouds pp.213

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ผู่เจี๋ย ถัดไป
อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จีน
และประมุขแห่งราชตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว

(ค.ศ. 1967-1994)
ยวี่เหยียน