ข้ามไปเนื้อหา

ปลาเทโพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาเทโพ
ปลาเทโพในตลาดที่นครโฮจิมินห์​ เวียดนาม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาหนัง
Siluriformes
วงศ์: ปลาสวาย
Pangasiidae
สกุล: ปลาสังกะวาด

(Bocourt, 1866, 1866)
สปีชีส์: Pangasius larnaudii
ชื่อทวินาม
Pangasius larnaudii
(Bocourt, 1866, 1866)

ปลาเทโพ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius larnaudii) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร[2]

ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (P. hypophthalmus) ด้วย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pal, M. (2010). "Pangasius larnaudii". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2010: e.T166404A6201771. doi:10.2305/IUCN.UK.2010-4.RLTS.T166404A6201771.en. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  2. "ปลาเทโพ" (PDF).ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําจืดยโสธร