วงศ์ปลาหมอสี
วงศ์ปลาหมอสี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคเทอร์เชียรี-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลานิล (Oreochromis niloticus) เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา | |
ปลาหมอไตรมาคู (Cichlasoma trimaculatum) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบในภูมิภาคอเมริกากลาง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Labroidei |
วงศ์: | Cichlidae Heckel, 1840 |
วงศ์ย่อย: | |
สกุล | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
วงศ์ปลาหมอสี (อังกฤษ: Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,650 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ"
ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดใน ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกา อินเดียใต้ ศรีลังกา ตะวันออกกลาง และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น [1] ปลาหมอคางดำ ถิ่นกำเนิดจากแอฟริกา ปลาชนิดนี้ปรับตัวได้กับทุกสภาพสิ่งแวดล้อม ชอบกินลูกสัตว์น้ำขนาดเล็ก กุ้ง แพลงตอน ฯลฯ[2]
ลักษณะเฉพาะของปลาหมอสี
[แก้]ถึงแม้ว่าปลาหมอสีมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เช่น ปลาตัวแบนที่แฝงตัวตามพืชน้ำอย่างปลาเทวดา หรือปลานักล่าลำตัวเพรียวอย่างปลาหมอออสเซลาริส ปลาในวงศ์นี้ก็มีลักษณะร่วมอันเป็นเอกลักษณ์ คือ
- มีกรามพิเศษในลำคอ นอกเหนือไปจากกรามแท้
- มีรูจมูกสองรู ซึ่งต่างจากปลาส่วนใหญ่ที่มีสี่รูจมูก
- ไม่มีชั้นกระดูกใต้รอบตา
- เส้นข้างลำตัวขาดตอน ตัดแบ่งเป็นสองส่วน
- กระดูกหู มีลักษณะเฉพาะ
- ลำไส้เล็กหันออกจากทางด้านซ้ายของกระเพาะ
- มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูไข่และลูกอ่อน
สกุล
[แก้]วงศ์ปลาหมอสีจำแนกย่อยเป็นอย่างน้อย 221 สกุล ตัวอย่างสกุลปลาหมอสีที่มีความสำคัญหรือเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่
- Aequidens เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอริวูเลตัส (Aequidens rivulatus)
- Amphilophus เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอฟลามิงโก้ (Amphilophus citrinellus)
- Apistogramma เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอแคระคาเคทอย (Apistogramma cacatuoides)
- Archocentrus เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอม้าลาย (Archocentrus nigrofasciatus)
- Aulonocara เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาหมอมาลาวี
- Astronotus เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาออสการ์ (Astronotus ocellatus)
- Cichla เป็นที่นิยมของนักตกปลา เช่น ปลาหมอออสเซลาริส (Cichla ocellaris)
- Cichlasoma เดิมเป็นสกุลใหญ่ ชนิดส่วนใหญ่ที่เคยในสกุลนี้ ถูกย้ายออกไปอยู่ตามสกุลอื่นๆ
- Cyphotilapia เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)
- Geophagus เป็นปลาตู้สวยงาม
- Herichthys เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอเท็กซัส (Herichthys cyanoguttatus และ H. carpintis)
- Heros เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอเซวารุ่ม (Heros severus)
- Hypselecara เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาหมอช็อคโกแลต
- Labidochromis เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอกล้วยหอม (Labidochromis caeruleus)
- Melanochromis เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอแตงไทย (Melanochromis auratus)
- Neolamprologus เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอแซงแซว (Neolamprologus brichardi)
- Nimbochromis เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอวีนัส (Nimbochromis venustus)
- Oreochromis เป็นปลาอาหารที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลานิล (Oreochromis niloticus) ปลาหมอเทศ (O. mossambicus)
- Pelvicachromis เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอครีเบนซิส (Pelvicachromis pulcher)
- Pterophyllum เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาเทวดา
- Mikrogeophagus เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาแรมเจ็ดสี (Mikrogeophagus ramirezi)
- Symphysodon เป็นปลาตู้สวยงาม ปลาในสกุลนี้เรียกว่า ปลาปอมปาดัวร์
- Vieja เป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาหมอซินสไปลุ่ม (Vieja synspila)
ปลาหมอสีลูกผสม
[แก้]ปลาหมอสีลูกผสมข้ามชนิด นิยมเรียกกันว่า "ครอสบรีด" เป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียอีกหลายประเทศ ที่คุ้นเคยกันมานานก็คือ ปลาหมอมาลาวี (ปลาในสกุล Aulonocara) ที่มีขายทั่วไป มักไม่ใช่ปลาชนิดแท้ แต่เป็นเชื้อสายมาจากปลาลูกผสมข้ามชนิดในสกุลเดียวกัน ปลาหมอฟลามิงโก้ก็เช่นกัน มักเป็นปลาลูกผสมข้ามชนิดมากกว่าเป็นปลาชนิดแท้ ในระยะหลัง ยังมีปลาลูกผสมอื่น ๆ ที่เป็นที่แพร่หลายมาก คือ
ปลาในกลุ่มนี้ เป็นลูกผสมจากปลาหมอสีหลายชนิด จากหลายสกุล จึงนอกจากจะเป็นลูกผสมข้ามชนิด ยังเรียกได้ว่าเป็นลูกผสมข้ามสกุลอีกด้วย [3]
รูปภาพ
[แก้]-
ปลาในสกุล Symphysodon ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ ปลาปอมปาดัวร์
-
ปลาแรมเจ็ดสี จัดเป็นหนึ่งในปลาหมอสีสกุล Mikrogeophagus
-
ปลาหมอเท็กซัสแดงเป็นปลาที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของปลาหมอสีหลายชนิดในสกุล Herichthys และ Amphilophus
-
ปลาหมอแตงไทย จัดเป็นหนึ่งในปลาหมอสีสกุล Melanochromis
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 28, ปลาหมอสี เอกลักษณ์เฉพาะตัว หลากหลายสีสีสันดึงดูดคนเลี้ยง. "วาไรตี้ "สัตว์เลี้ยง"" โดย พ่อทูนหัว. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,433: วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก
- ↑ "ปลาหมอคางดำ มาจากไหน ทำไมต้องเร่งกำจัดจากระบบนิเวศ กินได้ไหม มีคำตอบ!". komchadluek. 2024-07-10.
- ↑ หน้า 159, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8