ข้ามไปเนื้อหา

ปลาตะเพียนทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาตะเพียนทอง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
Cypriniformes
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Cyprininae
Cyprininae
สกุล: สกุลบาร์โบนีมัส
Barbonymus
(Günther, 1868)
สปีชีส์: Barbonymus altus
ชื่อทวินาม
Barbonymus altus
(Günther, 1868)
ชื่อพ้อง
  • Barbus altus Günther, 1868
  • Barbodes altus (Günther, 1868)
  • Puntius altus (Günther, 1868)
  • Puntius bocourti Bleeker, 1864
  • Barbus foxi Fowler, 1937
  • Barbodes foxi (Fowler, 1937)

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน กล่าวคือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า ครีบหลังและครีบหางไม่มีแถบสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร

ปลาตะเพียนทองพบอยู่ทั่วไปตามห้วยหนองคลองบึงและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมักจะอยู่ปะปนกับปลากระแหและปลาตะเพียนขาว (B. gonionotus) ด้วยกันเสมอ ๆ สำหรับต่างประเทศพบในลาว กัมพูชา และภาคใต้ของเวียดนาม

ปลาตะเพียนทองเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี โดยนิยมบริโภคเป็นอาหารมายาวนานและใช้สานเป็นปลาตะเพียนใบลาน นอกจากนี้ยังเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2] ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาตะเพียนหางแดง", "ปลาลำปำ" หรือ "ปลาเลียนไฟ" ในภาษาปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นชื่อเรียกซ้ำซ้อนกับปลากระแห และในท้องถิ่นในภาคกลาง ยังเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลากระแหทองอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Allen, D.J. (2011). "Barbonymus altus". The IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T181084A7658510. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T181084A7658510.en.
  2. ปลาตะเพียนทองจากเว็บไซต์กรมประมง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]