ปลาหมากผาง
สำหรับปลาที่เป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยดูที่: ปลามงโกรย
ปลาหมากผาง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Clupeiformes |
วงศ์: | Clupeidae |
สกุล: | Tenualosa |
สปีชีส์: | T. thibaudeaui |
ชื่อทวินาม | |
Tenualosa thibaudeaui (Durand, 1940) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาหมากผาง (อังกฤษ: Freshwater herring, Mekong shad, Laotian shad) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa thibaudeaui อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae)
ลักษณะ
[แก้]มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวกว้าง แบนข้างมาก ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน ตามีเยื่อคลุม เกล็ดใหญ่แต่หลุดร่วงง่าย ลำตัวสีเงิน ด้านข้างมีแต้มสีน้ำเงินอมม่วงสด มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต
ที่อยู่
[แก้]พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่เดียวเท่านั้น มีพฤติกรรมอพยพขึ้นลงในแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากิน โดยอาหารจะกินได้เพียง แพลงก์ตอนและอินทรียสารเท่านั้น
ชื่อเรียกอื่น
[แก้]ปัจจุบัน เป็นปลาที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เป็นปลาที่เลี้ยงให้รอดยาก เนื่องจากกินได้แต่เฉพาะอาหารขนาดเล็ก [2]
ปลาหมากผาง มีชื่อเรียกอื่นว่า ปลามงโกรย, ปลาขมงโกรย, ปลาลินโกรย หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด[3]เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vidthayanon, C. 2011. Tenualosa thibaudeaui. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 27 October 2012.
- ↑ ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 118 หน้า. หน้า 44. ISBN 9744841486
- ↑ ความหมายของ มงโกรย (2) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542