ข้ามไปเนื้อหา

ปลาตาดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาปากเปี่ยน
ปลาปากเปี่ยนชนิด S. bandanensis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Scaphognathops
Smith, 1945
ชนิด
ดูในเนื้อหา

ปลาตาดำ หรือ ปลาเปี่ยน หรือ ปลาปากเปี่ยน (อังกฤษ: Sharp-mouth barb) เป็นปลาน้ำจืดสกุล Scaphognathops (/สแค-โฟ-แน็ธ-ออฟส์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มี 3 ชนิด คือ

มีรูปร่างโดยรวมคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ส่วนหัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากแหลม ริมฝีปากล่างมนกลมและมีขอบแข็ง ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ครีบหลังสีคล้ำ ปลายขอบของก้านครีบอันแรกเป็นหยักแข็ง ถัดจากส่วนนี้ไปจะมีลักษณะเรียวแหลม ครีบหางเว้าลึก ครีบอกและครีบท้องเล็ก ตัวมีสีเงินอมเทามีแต้มประสีคล้ำบนเกล็ด ขอบครีบหางสีแดงเรื่อ ด้านหลังสีจาง ปลาในช่วงวัยรุ่นจะมีจุดสีดำที่บริเวณโคนครีบหาง มีพฤติกรรมชอบไล่กัดกินเกล็ดของปลาตัวอื่น

มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 25 เซนติเมตร

เป็นปลาที่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา เป็นปลาเศรษฐกิจในภาคอีสาน นิยมบริโภคโดยการปรุงสด ทำปลาร้า และรมควัน เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วยที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง เพราะเป็นปลาที่พบตามฤดูกาล[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จาก ITIS.gov (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 171. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scaphognathops ที่วิกิสปีชีส์