วงศ์ปลาตูหนา
วงศ์ปลาตูหนา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน, 65–0Ma [1] | |
---|---|
![]() | |
ปลาตูหนายุโรป (A. anguilla) | |
![]() | |
ลูกปลาวัยอ่อนที่ลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Osteichthyes |
ชั้นย่อย: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes |
อันดับย่อย: | Anguilloidei |
วงศ์: | Anguillidae |
สกุล: | Anguilla Schrank, 1798 |
ชนิด | |
|
วงศ์ปลาตูหนา (อังกฤษ: True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด[2]
กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด
ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก[3] ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ [3]
เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย[2]
เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้[4] มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์[3]
เป็นปลาที่มีรสชาติดี อร่อย มีราคาแพง บางชนิดจึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีชื่อ เช่น ปลาตูหนาญี่ปุ่น หรือปลาไหลญี่ปุ่น (A. japonica) ซึ่งได้มีการเลี้ยงกันที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่ว่าต้องรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ซึ่งเคยมีการนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยระยะหนึ่ง ปลาตูหนาชนิดนี้ได้ถูกปรุงเป็นอาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อคือ ข้าวหน้าปลาไหล (ญี่ปุ่น: 蒲焼; โรมาจิ: kabayaki; ทับศัพท์: คะบะยะกิ) ซึ่งชาวญี่ปุ่นได้รับประทานกันมาอย่างยาวนานกว่า 5,000 ปีแล้ว[5]
การจำแนก[แก้]
- Anguilla anguilla (Linnaeus, 1758) (ปลาตูหนายุโรป)
- Anguilla australis Richardson, 1841 (ปลาตูหนาตาโต)–พบในประเทศไทย
- Anguilla australis australis Richardson, 1841
- Anguilla australis schmidti Phillipps, 1925
- Anguilla bengalensis (Gray, 1831) (ปลาสะแงะ)–พบในประเทศไทย
- Anguilla bengalensis bengalensis (Gray, 1831)
- Anguilla bengalensis labiata (Peters, 1852)
- Anguilla bicolor McClelland, 1844 (ปลาตูหนา)–พบในประเทศไทย
- Anguilla bicolor bicolor McClelland, 1844
- Anguilla bicolor pacifica Schmidt, 1928
- Anguilla borneensis Popta, 1924 (ปลาตูหนาบอร์เนียว)
- Anguilla breviceps Chu & Jin, 1984
- Anguilla celebesensis Kaup, 1856 (ปลาตูหนาครีบยาวเซเลเบส)
- Anguilla dieffenbachii Gray, 1842 (ปลาตูหนาครีบยาวนิวซีแลนด์)
- Anguilla interioris Whitley, 1938 (ปลาตูหนาครีบยาวที่ราบสูง)
- Anguilla japonica Temminck & Schlegel, 1847 (ปลาไหลญี่ปุ่น)
- Anguilla luzonensis Watanabe, Aoyama & Tsukamoto, 2009 (ปลาตูหนาด่างดำฟิลิปปิน)
- Anguilla marmorata Quoy & Gaimard, 1824 (ปลาตูหนาแม่น้ำโขง)–พบในประเทศไทย
- Anguilla megastoma Kaup, 1856 (ปลาตูหนาครีบยาวโพลินิเซีย)
- Anguilla mossambica (Peters, 1852) (ปลาตูหนาครีบยาวแอฟริกา)
- Anguilla nebulosa McClelland, 1844 (ปลาตูหนาด่างดำ)
- Anguilla obscura Günther, 1872 (ปลาตูหนาครีบสั้นแปซิฟิก)
- Anguilla reinhardtii Steindachner, 1867 (ปลาตูหนาครีบยาวแต้ม)
- Anguilla rostrata (Lesueur, 1817) (ปลาตูหนาอเมริกา)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology 364: p.560.
- ↑ 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 25-26. ISBN 978-00-8701-9
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Flesh Ripper, "River Monsters". สารคดีทางดิสคัฟเวอรี่แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ↑ หนังสือ วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน งานวิจัยปกากญอ โดย เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เชียงใหม่, พฤศจิกายน พ.ศ. 2548) ISBN 974-93677-5-8
- ↑ "'ปลาไหล' เมนู 5,000 ปีของญี่ปุ่น". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Anguillidae |
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anguilla ที่วิกิสปีชีส์