โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ Pamok Wittayaphum School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
1/ค ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 14130 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.ม. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ประพฤติดี เรียนดี มีวินัย เห็นประโยชน์ส่วนรวม |
สถาปนา | พ.ศ. 2481 |
ผู้ก่อตั้ง | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการโดยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณปาโมกข์มุนี (หลวงปู่เจิม) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง |
ผู้อำนวยการ | นายชัยวัฒน์ มั่นอก |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
สี | สีเขียว-สีเหลือง |
เพลง | มาร์ชเขียว-เหลือง |
เว็บไซต์ | https://www.pamok.ac.th |
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ (อังกฤษ: Pamokwittayaphum School; อักษรย่อ: ป.ม. / P.M.) เป็นโรงเรียนรัฐบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง เปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 จากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ โดยรับการสนับสนุนจาก ท่านเจ้าคุณปาโมกข์มุนี (หลวงปู่เจิม)
ตั้งอยู่เลขที่ 1/ค หมู่ 3 ตําบลป่าโมก อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 14130 เนื้อที่รวมจำนวน 29 ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง โรงอาหาร ห้องน้ำชาย-หญิง ศาลา บ้านพักครู โรงจอดรถจักรยนต์ สหกรณ์ร้านค้า อัฒจันทร์และสนามฟุตบอล ป้อมยามรักษาความปลอดภัย
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ได้รับการก่อตั้งโดยท่านเจ้าคุณปาโมกข์มุนี (หลวงปู่เจิม) เจ้าอาวาสวัดป่าโมกวรวิหารในขณะนั้น โดยโรงเรียนได้ก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2480 บนพื้นที่ของวัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง มีเนื้อที่รวมจำนวน 29 ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา ด้วยเงินทุนของรัฐบาลจากกระทรวงศึกษาธิการ 4,000 บาท และได้รับเงินบริจาค 4,000 บาท รวมทั้งสิ้น 8,000 บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียนอาคารเรียน 2 ชั้น ตามแปลนของกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อก่อสร้างเสร็จได้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประจำอำเภอป่าโมก และเปิดทำการสอนครั้งแรกวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ 3 ของจังหวัดอ่างทอง โดยเริ่มต้นเปิดการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึง พ.ศ. 2494 จึงได้จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.7-8)
พ.ศ. 2505 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนจาก โรงเรียนประจำอำเภอป่าโมก เป็น โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ
พ.ศ. 2520 โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.5)
พ.ศ. 2521 โรงเรียนเปลี่ยนใช้หลักสูตรปี 2521 โดยรับนักเรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่ 6 เข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6
ปัจจุบันเปิดการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) และระดับชั้นศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6)
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]ทำเนียผู้บริหารโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ | ||
---|---|---|
ลำดับ | ชื่อ - นามสกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1 | นายบุญเพ็ญ (ปราโมทย์) นิยมแสง | 4 ก.ค. 2481 – 30 เม.ย. 2488 |
2 | นายเลื่อน อสนานนท์ | 17 ก.พ. 2488 – 11 พ.ค. 2489 |
3 | นายฉลอง สุคันธตูล | 20 พ.ค. 2489 – 6 ก.ย. 2491 |
4 | นายบุลวิชช์ สุวรรณประโพ | 7 ก.ย. 2491 – 6 ก.ค. 2493 |
5 | นายประจงศักดิ์ เลาหะจินดา | 16 ก.ค. 2493 – 13 ก.ค. 2504 |
6 | นายนิยม ศรีโสภา | 13 ก.ค. 2504 – 13 มิ.ย. 2528 |
7 | นายสวัสดิ์ หล่อสุวรรณ | 13 มิ.ย. 2528 – 1 ต.ค. 2532 |
8 | นายสุวิทย์ มานิตยกุล | 1 ต.ค. 2532 – 1 ต.ค. 2533 |
9 | นายฉงน จูฑะพันธ์ | 2 ต.ค. 2533 – 1 ต.ค. 2535 |
10 | นางรําพึง ผ่องเคหา | 2 ต.ค. 2535 – 1 ธ.ค. 2540 |
11 | นายซันฟา ธโนปจัย | 2 ธ.ค.2540 – 19 ธ.ค.2541 |
12 | นายสมคิด คล้ำจุ้ย | 19 ธ.ค. 2541 – 30 ก.ย. 2543 |
13 | นายเชิดพันธ์ มูรธานันท | 6 พ.ย. 2543 – 11 ต.ค. 2549 |
14 | นายโชคชัย สิริภาพ | 12 ต.ค. 2549 – 30 ก.ย. 2556 |
15 | นายสุเทพ สังข์วิเศษ | 2 ต.ค. 2556 – 30 ก.ย. 2565 |
16 | นายทํานอง พรามนัส | 3 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566 |
17 | นายชัยวัฒน์ มั่นอก | 5 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน |
ความภาคภูมิใจของโรงเรียน
[แก้]เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 "โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ" ได้เข้ารับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประจำปีการศึกษา 2554 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตลดา กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2563 "โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ" ได้เข้ารับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประจำปีการศึกษา 2563 ระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง กระทรวงศึกษาธิการ ณ วังจันทรเกษม กรุงเทพฯ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]- ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน รูปพระตำหนักพระนเรศวร [1]
- ปรัชญา ประพฤติดี เรียนดี มีวินัย เห็นประโยชน์ส่วนรวม[1]
- คติพจน์ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจาริ แปลว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม[1]
- คำขวัญ ความดี คือ มนตรา[1]
- สีประจำโรงเรียน[1]
- ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกโมก[1]
- เพลงประจำโรงเรียน มาร์ชเขียว - เหลือง[1]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจากโรงเรียน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ปาโมกข์สาร, ข้อมูลพื้นฐาน,โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ,2552
- คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง,ประวัติโรงเรียน,โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ,2550