ธงชาติสิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์
Flag of the Republic of Singapore
Flag of Singapore.svg
การใช้ 110000 IFIS Normal.svg
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (63 ปี)(ค.ศ. 1959)
ลักษณะ ธงแถบตามยาวสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว

ธงชาติสิงคโปร์ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)

ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่ สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ประวัติ[แก้]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมช่องแคบ หรือสเตรดส์เซตเทิลเมนต์ ธงของอาณานิคมช่องแคบมีลักษณะเป็นธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินของอังกฤษ ตรงมุมล่างขวามีรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสีแดง มีแถบวายสีขาวพาดผ่าน และมีมงกุฎสีทอง 3 องค์ที่ใช้สื่อถึงดินแดนทั้ง 3 แห่งของอาณานิคมช่องแคบ นั่นคือ สิงคโปร์ มะละกา และปีนัง[1]

อาณานิคมที่เมืองสิงคโปร์ไม่มีธงเป็นของตนเอง จนเมื่อปี ค.ศ. 1911 ได้มีการประกาศใช้ตราประจำเมืองสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสิงคโปร์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น ก็มีการใช้ธงฮิโนมารุในกองทัพและตามงานสาธารณะต่างๆ[2] จนเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สิงคโปร์ก็ถูกยกสถานะเป็นคราวน์โคโลนี จึงมีการประกาศใช้ธงของตนเอง เป็นธงที่มีลักษณะคล้ายกับธงของอาณานิคมช่องแคบ แต่มีมงกุฎเพียง 1 องค์ และมีแถบวายสีแดงพาดผ่าน[3][4]

สิงคโปร์ได้รับสิทธิ์ในการปกครองตนเองภายใต้จักรวรรดิอังกฤษเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959[5] หกเดือนต่อมา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1959 นายยูซฟ บิน อิซฮัก ได้เข้ารับตำแหน่งเป็น ยังดีเปอร์ตวนเนการา คนที่สองของสิงคโปร์ และได้มีการประกาศใช้ธงชาติใหม่ พร้อมกับเพลงชาติและตราแผ่นดินใหม่ ซึ่งธงชาตินี้ก็ได้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน [6]

ธงชาติของสิงคโปร์นั้นใช้เวลาในการออกแบบสองเดือน มีคณะกรรมาธิการนำโดยนายโต ชิน ไชย เป็นผู้ออกแบบ ในช่วงแรกนั้น นายโตต้องการให้ธงชาติทั้งผืนเป็นสีแดง แต่คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์ไม่เห็นด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นสีแดงมีความเกี่ยวโยงกับลัทธิคอมมิวนิสต์[7] นายลี กวน ยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ระบุไว้ว่า ประชาชนชาวจีนในสิงคโปร์ต้องการให้ธงชาติใหม่มีดาว 5 ดวง เหมือนกับธงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนประชาชนชาวมาเลย์ต้องการให้ธงชาติมีพระจันทร์เสี้ยว สัญลักษณ์ทั้งสองจึงถูกนำมาผสมผสานกันให้เกิดเป็นธงชาติสิงคโปร์[8][9]

ธงสำคัญอื่น ๆ[แก้]

นอกเหนือไปจาธงชาติ ยังมีธงสำคัญอย่างที่ใช้ในทางราชการดังนี้

ภาพธง ประเภทการใช้ คำอธิบาย สัดส่วน กว้าง:ยาว
A white crescent and five stars (arranged in a pentagon) centered on a red background FIAV 001000.svg ธงประธานาธิบดี ธงซึ่งใช้หมายตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นธงที่ดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติ พื้นเป็นธงสีแดง มีรูปหมู่ดาวและเดือนเสี้ยวขนาดใหญ่อยู่กลางธง ตามเอกสารของทำเนียบประธานาธิบดีระบุว่าสีพื้นและรูปสัญลักษณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามลักษณะที่ปรากฏในธงชาติ ธงนี้ชักขึ้นประจำทำเนียบประธานาธิบดีระหว่างเวลา 8:00 น. - 18:00 น. หรือจนกว่าประธานาธิบดีจะออกจากทำเนียบเพื่อไปยังที่พักส่วนตัว[10] 2:3
A white crescent and five stars (arranged in a pentagon), surrounded by a ring of white, centered on a red background FIAV 000100.svg ธงแสดงสัญชาติสีแดง "ธงเรือแดงของสิงคโปร์" ซึ่งใช้โดยเรือพลเรือนที่ขึ้นทะเบียนของประเทศสิงคโปร์ เป็นธงสีแดงมีรูปเดือนเสี้ยวและดาวห้าดวงบรรจุภายในวงแหวน ความกว้าง 1 ส่วน ความยาว 2 ส่วน อ้างอิงตามองค์การการเดินเรือและการท่าเรือแห่งประเทศสิงคโปร์ (Maritime and Port Authority of Singapore - MPA) ธงนี้ใช้บนเรือของสิงคโปร์แทนธงชาติ นายเรือ เจ้าของเรือ และเจ้าหน้าที่ของเรือในบังคับสิงคโปร์ลำใดไม่ชักธงนี้จะถูกปรับตามอัตราโทษที่กำหนดไว้ใน[11] 1:2
A red rectangle at the top left corner of the flag, charged with a white crescent and five white stars arranged in a pentagon. The rest of the flag is colored white. At the bottom right part of the flag is a eight pointed star that is red. FIAV 000001.svg ธงแสดงสัญชาติสีขาว กระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ได้กำหนดธงนาวีสำหรับกองทัพเรือขึ้นในปี พ.ศ. 2510 และกำหนดให้ใช้ในเรือทุกลำที่สังกัดในกองทัพเรือสิงคโปร์ เอกสารกำหนดแบบธงของกระทรวงกลาโหม โดยกำหนดชื่อของธงนี้เป็น "Singapore Naval Force Ensign" หมายเลขเอกสารที่ Misc. 1 of 1967 ระบุไว้ว่า "ธงนาวีสิงคโปร์ (Singapore Naval Force Ensign) เป็นธงสีขาว มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงที่มุมธงบนด้านคันธงบรรจุรูปเดือนเสี้ยวเคียงดาวห้าดวงเรียวเป็นรูปวงกลม รูปทั้งหมดนี้สีขาว และมีรูปดาวแปดทิศสีแดงมีเส้นในขาวที่มุมธงล่างด้านชายธง สัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 1:2 เดือนเสี้ยวและหมู่ดาวมาจากสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงชาติ ดาวแปดทิศหมายถึงเข็มทิศของนักเดินเรือ"[12][13][14] ธงดังกล่าวนี้ได้เข้ามาใช้แทนที่ธงเรือสีน้ำเงิน (ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับเรืออื่นของรัฐบาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการทหาร)[15] ในพิธีการหนึ่งของกองทัพเรือที่ Telok Ayer Basin เมื่อ พ.ศ. 2510[15] 1:2
A red rectangle at the top left corner of the flag, charged with a white crescent and five white stars arranged in a pentagon. The rest of the flag is colored blue. At the bottom right part of the flag is a eight pointed star that is alternating red and white. FIAV 000010.svg ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ธงเรือรัฐบาลของสิงคโปร์ได้มีการกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2503 และใช้ในเรือของรัฐบาลทุกลำที่ไม่ได้สังกัดกองทัพ เช่น เรือยามฝั่ง เป็นต้น เอกสารกำหนดแบบธงของกระทรวงกลาโหมสิงค์โปร์ซึ่งกำหนดชื่อของธงนี้เป็น "State Marine Ensign" หมายเลขเอกสารที่ Misc. 6 of 1960 บรรยายความไว้ว่า "ธงเรือรัฐบาล (The State Marine Ensign) เป็นธงพื้นสีน้ำเงิน มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงที่มุมธงบนด้านคันธงบรรจุรูปเดือนเสี้ยวเคียงดาวห้าดวงเรียวเป็นรูปวงกลม รูปทั้งหมดนี้สีขาว และมีรูปดาวแปดทิศสีแดงสลับขาวที่มุมธงล่างด้านชายธง สัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 1:2 สีน้ำเงินหมายถึงทะเล เดือนเสี้ยวและหมู่ดาวมาจากสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงชาติ ดาวแปดทิศหมายถึงเข็มทิศของนักเดินเรือ"[15][16][17] 1:2

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ), National Geographic Society (U.S (1918). "The Flags of the British Empire". National Geographic Magazine. National Geographic Society. 32: 383. สืบค้นเมื่อ 12 January 2009.
  2. Foong, Choon Hon; Xie Song Shan (2006). ETERNAL VIGILANCE: The Price of Freedom. Singapore: Asiapac Books Pte Ltd. pp. 115–16. ISBN 981-229-395-7.[ลิงก์เสีย]
  3. "Singapore, Flag of". Encyclopædia Britannica. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
  4. Corfield, Justin J.; Robin Corfield (April 2006). Encyclopedia of Singapore. Rowman & Littlefield Publishers, Inc. p. 68. ISBN 0-8108-5347-7.
  5. Wheatley, Paul; Kernial Singh Sandhu, Hussein Alatas, Institute of Southeast Asian Studies (1989). Management of Success: The Moulding of Modern Singapore. Institute of Southeast Asian Studies. p. 1067. ISBN 978-981-3035-42-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Toh, Chin Chye (1989). "Dr. Toh Chin Chye [oral history interview, accession no. A1063, reel 1]" (Interview). National Archives of Singapore.: "State symbols". Access to Archives Online (a2o), National Archives of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 4 November 2007.
  7. Zaubidah Mohamed (18 December 2004). "The national flag of Singapore". Singapore Infopedia, National Library Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2008. สืบค้นเมื่อ 4 November 2007.
  8. Lee Kuan Yew (1998). The Singapore Story: Memoirs of Lee Kuan Yew. Singapore: Times Editions. pp. 342–343. ISBN 978-981-204-983-4.
  9. "National Pride" (PDF). Synergy. Contact Singapore. September–October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 September 2010. สืบค้นเมื่อ 15 December 2009.
  10. "Ceremonies and Protocol – The Presidential Standard". The Istana, Office of the President of the Republic of Singapore. 17 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-03.
  11. "รัฐบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-02.
  12. Herman Felani (1 November 2003). "War Ensign (Singapore)". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-12-07.
  13. Ministry of the Interior and Defence (1967). "Singapore Naval Force ensign". Government of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 19 November 2009.
  14. "SAF Core Values". Republic of Singapore Navy. 2005-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-11-19.
  15. 15.0 15.1 15.2 Choy Choi Kee. "1967 – Beginnings of the Singapore Navy". This Month in History (7 May 1997, last updated 16 December 2008). Joint Manpower Department, Ministry of Defence. สืบค้นเมื่อ 2008-12-24.
  16. "State Ensign (Singapore)". Flags of the World. 2006-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
  17. "1960, Misc. 6 - State Marine ensign". Government of Singapore. 1960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
เอกสาร
หนังสือ
  • Singapore Legislative Assembly (1959). State Arms and Flag and National Anthem of Singapore (Legislative Assembly (New Series) Misc. 2 of 1959). Singapore: Printed at the Government Printing Office.
  • State Arms & Flag of Singapore. Singapore: Publicity Division, Ministry of Culture. 1977.
  • Crampton, William (1992). The World of Flags : A Pictorial History (Rev. ed.). London: Studio Editions. p. 88.
  • The National Symbols Kit. Singapore: Prepared by Programmes Section, Ministry of Information and the Arts. 1999. A kit on the key symbols of Singapore consisting of eight fact sheets, one booklet, one CD and one national flag.
สื่ออื่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]