ข้ามไปเนื้อหา

ธงแสดงสัญชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงเรือรัฐบาล)
ธงเรือราษฎร์นิวซีแลนด์ชักขึ้นบริเวณท้ายเรือ Hikitia

ธงแสดงสัญชาติ[1] หรือ ธงเรือ[2] (อังกฤษ: ensign) คือหนึ่งในธงเดินเรือ (maritime flag) ที่ใช้ในการระบุตัวตนของเรือ[3] ซึ่งธงแสดงสัญชาติจะเป็นธงที่ใหญ่ที่สุด ปกติจะปักอยู่ในบริเวณท้ายเรือ (หลังเรือ) ขณะอยู่ในท่า ขึ้นอยู่กับที่มาของเรือว่ามาจากชาติใด หลักการคล้ายกับธงฉานที่ปักไว้บริเวณหัวเรือ โดยทั่วไปธงฉานจะพบบนเรือรบมากกว่าเรือพาณิชย์

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ในภาษาอังกฤษสมัยกลาง ensign นั้นมาจากภาษาลาตินคำว่า insignia โดยในไทยให้ความหมายที่หลากหลาย เช่น เครื่องหมาย

ในภาษาไทย ensign มีการให้ความหมายไว้หลากหลาย ประกอบไปด้วย

  • พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ผ่านลองดูดิกท์ ในพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ให้ความหมายว่า 1. ธงชาติ 2. ธงแสดงสัญชาติ 3. ธงประจำตำแหน่ง[1]
  • พจนานุกรม ไทย-อังกฤษฉบับของของ สอ เสถบุตร ให้ความหมายไว้ว่า [n.] คนถือธง, ธง, ธงเรือ, นายธง[2]
  • พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย - อังกฤษ เล็กซิตรอน ให้ความหมายไว้ใกล้เคียงกันคือ [n.] ธงของเรือเพื่อแสดงให้ทราบว่าสังกัดทหารหน่วยใด ธงของเครื่องบินเพื่อแสดงให้ทราบว่าสังกัดทหารหน่วยใด และ [n.] ธงที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน[2]
  • พจนานุกรมศัพท์ชาวเรือ พลเรือเอก ไพศาล นภสินธุวงศ์ ให้ความหมายว่า ธงชาติ หรือธงราชนาวี เป็นธงสัญลักษณ์หรือธงท้ายเรือที่ใช้งานโดยราชนาวีอังกฤษ[4]

ธัชวิทยา

[แก้]

ใน ธัชวิทยา เรือธง (ensign) มีความหมายแตกต่างจากทั้ง ธงนาวี (naval ensign) ที่ใช้เป็นธงแสดงสัญชาติในยามสงคราม (war ensign) และ ธงเรือราษฎร์ (civil ensign) ที่ใช้งานโดยเรือพาณิชย์ (merchant) ซึ่งทั้งสองแบบเป็นการใช้งานโดยมีพื้นฐานดั่งเดิมมาจากธงชาติ[5]

อย่างไรก็ตาม ในสหราชอาณาจักร, เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ มีการแยกกันระหว่างเรือของรัฐ และเรือติดอาวุธไว้ในประเภทหนึ่ง อีกประเภคเป็นเรือที่ไม่ติดอาวุธและเรือพลเรือนซึ่งมีใช้งานเร็วกว่าชาติอื่น ๆ สามารถดูเพิ่มได้ที่ธงเรือสหราชอาณาจักร (British ensign)

นักธีชวิทยาได้แบ่งความต่างระหว่างธงชาติเมื่อใช้งานเป็นธงแสดงสัญชาติ ได้แก่

ธงเรือรัฐบาล

[แก้]

ธงเรือรัฐบาล (government ensign) หรือธงเรือรัฐ (state ensign) (ใช้สัญลักษณ์ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag) ใช้งานโดยเรือของหน่วยงานรัฐบาลหรือเรือช่วยรบ (auxiliary ship) ของพลเรือนที่มีอุปกรณ์ช่วยรบ

ธงนาวี

[แก้]

ธงนาวี (naval ensign) (ใช้สัญลักษณ์ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag) ใช้งานโดยกองทัพเรือของแต่ละประเทศ ถือเป็นธงเรือสงคราม (war ensign) สำหรับเรือกองทัพที่ถูกใช้ประจำการ ธงเรือสงครามไม่ได้หมายความว่าประเทศกำลังอยู่ในสภาวะสงคราม แต่เป็นการใช้งานในทางทหาร ภายใต้กฎหมายสงครามและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ธงนาวีขนาดใหญ่ถูกเรียกว่าธงเรือรบ (battle ensign) ซึ่งจะใช้งานเมื่อเรือรบเข้าสู่การรบ ธงนี้แตกต่างจากธงฉานซึ่งชักขึ้นบริเวณเสาธงฉานบริเวณหัวเรือเมื่อเรืออยู่ในท่าเรือ

ธงเรือราษฎร์

[แก้]

ธงเรือราษฎร์ (civil ensign) (ใช้สัญลักษณ์ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag) ใช้งานโดยเรือพาณิชย์และเรือสำราญ ธงเดินเรือของเรือพาณิยช์หรือธงเรือราษฎร์จึงเป็นธงที่ใช้งานเฉพาะสำหรับเรือพาณิชย์ของประเทศ เว้นแต่เจ้าของ (เอกชน) จะได้รับอนุญาตให้ใช้ธงแบบอื่น[6] ธงแสดงสัญชาตินี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เรือเอกชนใช้ระบุสัญชาติของของตนให้เรืออื่นได้รับรู้ บางประเทศมีธงแสดงสัญชาติเรือยอช์ต (yacht ensign) เฉพาะสำหรับเรือยอช์ตและเรือที่ไม่มีการจดแจ้งขนส่งสินค้าที่แตกต่างจากธงปกติและมีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะ ธงแสดงสัญชาติเรือพาณิชย์สามารถชักขึ้นประดับได้โดยเรือนั้นต้องไม่ใช่เรือรบ เรือของรัฐบาล เรือช่วยรบ หรือเรือยอช์ต โดยลักษณะพิเศษของธงนี้คือการประกาศว่าเรือนั้นไม่ได้เป็นดินแดนของชาตินั้น ๆ นอกอาณาเขต แต่เป็นพื้นที่ของเอกชนหรือใกล้เคียงกัน และไม่ใช่พื้นที่ของรัฐ หมายความว่าโดยปกติแล้วการใช้ธงชาติหรือธงของรัฐเป็นข้อห้าม

ธงชาติประจำเรือ

[แก้]
ธงช้างเผือก Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flagเคยเป็นธงชาติประจำเรือตามพระราชกำหนดของรัชกาลที่ 4[7]

ธงชาติประจำเรือ (national ensign) (ใช้สัญลักษณ์ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag) ใช้งานทางเรือได้ทั้งเรือพลเรือน เรือรัฐบาล และเรือกองทัพ ลักษณะเดียวกันกับธงชาติแต่เป็นธงที่ถูกกำหนดให้แสดงสัญชาติทางเรือของเรือทุกประเภทของประเทศนั้น ๆ

การใช้งาน

[แก้]

ในการใช้งานทางทะเล เรือทุกลำจะต้องใช้ธงเฉพาะของประเทศตนเพื่อระบุถึงการเป็นสมาชิกขององค์การ[8] จึงมีการกำหนดให้ติดธงแสดงสัญชาติบนเรือเหล่านั้น โดยธงหมายถึงท่าเรือต้นทางของเจ้าของเรือที่เรือได้จดทะเบียนและเสียภาษีเรือที่ชาตินั้น ๆ และเรือพาณิชย์สามารถเปลี่ยนสัญชาติธงได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนเรือใหม่และจะต้องมี ใบรับรองการลบ (Deleting Certificate) ยืนยันว่าเลิกใช้สัญชาติเดิมแล้ว[6]

ในปัจจุบัน บางประเทศ เช่น สหรัฐ และฝรั่งเศสยังคงใช้เพียงธงเดียวรวมถึงธงฉาน ไม่มีการใช้งานธงพิเศษบริเวณมุมบนด้านซ้ายและไม่มีการเพิ่มสัญลักษณ์ระบุตัวตนเพิ่มเติมบนธง เรือทุกลำในกิจการเดินทะเลของรัฐบาลกลางสหรัฐยกเว้นยามฝั่งสหรัฐจะใช้ธงชาติสหรัฐเป็นธงแสดงสัญชาติ แม้ว่าเรือของหน่วยงานบางแห่งจะใช้ธงของหน่วยงานตนเป็น "ธงเครื่องหมาย" ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่น ๆ เช่น ยูเครน อิตาลี รัสเซีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น มีการใช้งานธงแสดงสัญชาติที่แตกต่างกัน โดยมีการควบคุมการใช้งานอย่างเข้มงวดในการระบุว่าเรือเรือนั้นเป็นเรือชนิดใด เช่น เป็นเรือรบ เรือพาณิชย์ เรือในสัญญาการขนส่งไปรษณีย์ และเรือยอช์ต

ธงชาติของประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติหลายชาติมีต้นกำเนิดมาจากธงแสดงสัญชาติของมหาอำนาจซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมคือสหราชอาณาจัก โดยธงชาติที่โดดเด่นที่สุดคือธงชาติของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศหมู่เกาะ ๆ หลายแห่ง มีความเป็นไปได้สูงว่า ธงแกรนด์ยูเนียน (Grand Union Flag) ซึ่งเป็นธงชาติสหรัฐนั้นได้รับการพัฒนามาจากอิทธิพลของธงเรดดัสเตอร์หรือธงของบริษัทอินเดียตะวันออก (ซึ่งอยู่ในการควบคุมของสหราชอาณาจักร)

ธงแสดงสัญชาติรูปแบบอื่น ๆ

[แก้]

ธงแสดงสัญชาติการบิน

[แก้]

จากการสถาปนากองทัพอากาศอย่างแพร่หลายและการเติบโตของการบินพลเรือนในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้มีการนำธงและธงแสดงสัญชาติมาปรับใช้ โดยสิ่งเหล่านี้อาจแบ่งออกเป็นธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศ (air force ensign) (มักเป็นสีฟ้าอ่อน[9] เช่น ธงกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) และธงการบินพลเรือน (civil air ensign)

ธงแสดงมุทราศาสตร์

[แก้]

ในมุทราศาสตร์ ธงคือธงแสดงการประดับหรือสัญลักษณ์ เช่น มงกุฎ, จุลมงกุฎ หรือหมวกยศ ประดับอยู่เหนือเครื่องหมาย หรือตราอาร์ม

ระเบียงภาพ

[แก้]

ตัวอย่างธงเรือราษฎร์ (ธงแสดงสัญชาติของเรือพลเรือน) ธงเรือรัฐบาล และธงนาวี (ธงแสดงสัญชาติของเรือกองทัพ) มีดังนี้

ธงเรือราษฏร์

[แก้]

ตัวอย่างธงเรือราษฏร์ (civil ensign) มีดังนี้

ธงเรือรัฐ

[แก้]

ตัวอย่างธงเรือรัฐ (state ensign) หรือธงเรือรัฐบาล (government ensign) มีดังนี้

ธงนาวี

[แก้]

ตัวอย่างธงนาวี (naval ensign) มีดังนี้

ธงแสดงสัญชาติอื่น ๆ

[แก้]

ธงเรือราษฎร์และธงนาวี

[แก้]

ธงการบินแสดงสัญชาติ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "คำศัพท์ *ensign* แปลว่าอะไร?". Longdo Dict.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ensign คืออะไร แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ตัวอย่างประโยค". www.sanook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Ensign". Oxforddictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2012.
  4. "พจนานุกรม ศัพท์ชาวเรือ - ดาวน์โหลดหนังสือ | 101-150 หน้า | AnyFlip". anyflip.com.
  5. Alfred Znamierowski. "Types of flags". The World Encyclopedia of Flags. p. 31.
  6. 6.0 6.1 "นิทานชาวเรือ ตอนที่ ๕ เรื่องของเรือ ตอน "เจ้าของเรือ และ ธงของเรือ นั้น สำคัญ ไฉน?." www.marinerthai.net.
  7. "๒๘ กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456. ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  9. Znamierowski. "Air force flags". The World Encyclopedia of Flags. p. 85.

บรรณานุกรม

[แก้]