ตระกูลอภัยวงศ์
หน้าตา
ตระกูลอภัยวงศ์ | |
---|---|
ประเทศ | ประเทศไทย |
ถิ่นพำนักปัจจุบัน | จังหวัดปราจีนบุรี |
นิรุกติศาสตร์ | อะ–ไพ-วง ภาษาบาลี: अभय (อภฺย)+वंश (วํส) "เชื้อสายของผู้ไม่มีภัย" |
ถิ่นกำเนิด | จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา |
ก่อตั้ง | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2460 |
ต้นตระกูล | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) |
ผู้ปกครองคนสุดท้าย | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) |
ตำแหน่ง |
|
ตระกูลที่เกี่ยวข้อง | ราชวงศ์จักรี ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม |
ตระกูลอภัยวงศ์ เป็นนามสกุลของขุนนางไทยที่ใช้โดยตระกูลที่เคยปกครองบางส่วนของกัมพูชาซึ่งขณะนั้นปกครองโดยสยาม[1] แม้จะอยู่ในกัมพูชามานาน แต่ก็ไม่เคยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขุนนางเขมร
ตระกูลอภัยวงศ์ปกครองจังหวัดพระตะบอง ประเทศไทย (ปัจจุบันคือจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา) เป็นเวลา 6 ชั่วอายุคนตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อสยามผนวกดินแดนเขมร จนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อพื้นที่ดังกล่าวตกเป็นของอินโดจีนของฝรั่งเศส
สมาชิกตระกูล
[แก้]สมาชิกตระกูลอภัยวงศ์ ได้แก่:
- เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนแรก (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2338–2352)[2] และเป็นต้นตระกูลนี้[3]
- พระยาอภัยภูเบศร (แบน): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 2 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2353–2357)[2]
- พระยาอภัยภูเบศร (รศ): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 3 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2357–2370)[2]
- พระยาอภัยภูเบศร (เชด): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 4 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2370–2377)[2]
- พระยาอภัยภูเบศร (นอง): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 6 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2390–2403)[2]
- เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 7 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2403–2435)[2]
- เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์): ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 8 (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2445–2450)[2]
- พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)
- พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (เครือแก้ว อภัยวงศ์) พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระภคินีในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุแห่งกัมพูชา[4]
- ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีไทย 3 สมัย เกิดที่พระตะบอง พ่อของเขาเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองสยามคนสุดท้าย
- จิตรเสน อภัยวงศ์ สถาปนิก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Goscha, Christopher E. (1999). Thailand and the Southeast Asian Networks of the Vietnamese Revolution, 1885-1954. Surrey, UK: Curzon Press, Nordic Institute of Asian Studies. p. 123. ISBN 0700706224. สืบค้นเมื่อ 3 Dec 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Rungswasdisab, Puangthong (1995). War and trade: Siamese interventions in Cambodia, 1767-1851. p. 213.
- ↑ Rungswasdisab, Puangthong (1995). War and trade: Siamese interventions in Cambodia, 1767-1851. p. 185.
- ↑ "Princess Bejaratana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-08-27.