การปกครองโดยกลุ่มชนผู้สูงอายุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองโดยกลุ่มชนผู้สูงอายุ[1] หรือเคยมีนักวิชาการเสนอคำว่า ชราธิปไตย[2] (อังกฤษ: Gerontocracy) เป็นระบอบคณาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีผู้ชราเป็นสมาชิกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของภาคการเมือง โครงสร้างทางการเมืองของหลายประเทศ ยิ่งสมาชิกหรือรอบครัวของชนชั้นปกครองมีอายุมากขึ้น ก็จะมีอำนาจมากขึ้น ทำให้กลุ่มคนผู้มีความชราที่สุดได้ครองตำแหน่งที่มีอำนาจที่สุด ในหลายสังคม กลุ่มผู้ครองอำนาจอาจไม่มีตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีอิทธิพลครอบงำผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยสรุป ขราธิปไตยคือสังคมที่ตำแหน่งผู้นำถูกสงวนไว้แก่ผู้ชรา[3]

แนวคิดในการให้ผู้ชราเป็นผู้ครองอำนาจปรากฎอยู่ในหลายวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ดังคำกล่าวอันโด่งดังของเพลโตที่ว่า "ปกครองคือผู้ชรา ยอมตามคือผู้เยาว์"[4] หนึ่งตัวอย่างของสังคมชราธิปไตยคือนครรัฐสปาร์ตา ซึ่งถูกปกครองโดย "เยรูเซีย" (Gerousia) อันเป็นสภานิติบัญญัติที่ประกอบด้วยผู้มีอายุเกินกว่าหกสิบปี และมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดชีพ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "หลักประชาธิปไตย: ว่าด้วยหลักนิติธรรมในบริบทของศาลยุติธรรมไทย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
  2. พงษ์สวัสดิ์, พิชญ์ (15 May 2018). "ชราธิปไตย (GERONTOCRACY) : โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
  3. Maddox, G. L. (1987). The Encyclopedia of aging (p. 284). New York: Springer Pub. Co..
  4. Bytheway, B. (1995). Ageism (p. 45). Buckingham: Open University Press.
  5. Palmore, E. B. (1999). Ageism: negative and positive (2nd ed., p. 39). New York: Springer Pub.