ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนโนนสูงศรีธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนโนนสูงศรีธานี
Nonsungsritani School
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 163 ถนนศรีธานี

ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง
, ,
30160

ประเทศไทย
พิกัด15°10′48″N 102°15′17″E / 15.17997°N 102.25484°E / 15.17997; 102.25484
ข้อมูล
ชื่ออื่นศรีธานี, โนนสูง, น.ม.2, น.ม.3, โนนสูง (แผนใหม่)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสามัคคี สร้างสรรค์
สถาปนา1918; 106 ปีที่แล้ว (1918)
ผู้ก่อตั้งพระยาสุริยราชวราภัย (ศิริ วิเศษโกสิน)
ผู้อำนวยการนายพงศ์สุวรรณ พงศ์ภาวิชญาภรณ์
จำนวนนักเรียน3,265 คน [1] 2567
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
พื้นที่27 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา
สีฟ้าและขาว   [2]
เพลงมาร์ชศรีธานี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา สพฐ.
ศิษย์เก่าลูกฟ้าขาว, ศิษย์เก่าโนนสูงศรีธานี, Old Sritanians
เว็บไซต์www.sritani.ac.th

โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อักษรย่อ น.ศ. (N.S.) เป็นโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอของอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่เลขที่ 163 ถนนศรีธานี ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30160 ปัจจุบันมีอายุ 106 ปี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 3 ผืนรวม 27 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มโรงเรียนราชสีมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา[3]

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

แนวคิดริเริ่ม

[แก้]

โรงเรียนโนนสูงศรีธานี เดิมชื่อว่าโรงเรียนศรีธานี[4] ก่อนภายหลังได้กลายมาเป็นโรงเรียนประจำอำเภอโนนวัด "ศรีธานี" ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2459 โดยพระยาสุริยราชวราภัย (ศิริ วิเศษโกสิน) หรือ รองอำมาตย์เอกหลวงธานีพิไชย นายอำเภอโนนวัดเป็นหัวหน้า พร้อมด้วยราษฎรเป็นผู้เริ่มก่อสร้างอาคาร เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเสร็จเปิดเรียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 2,211.22 บาท เป็นรูปทรงปั้นหยาชั้นเดียวใต้ถุนสูง 1 เมตร ยาว 24 เมตร หลังคามุงด้วยแฝก การดำรงโรงเรียนอยู่ด้วยเงินช่วยการศึกษาประชาบาล ต่อมาเปลี่ยนฐานะจากโรงเรียนประชาบาลเป็นโรงเรียนรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2461 นักเรียนที่นำมาเรียนในโรงเรียนนี้ ย้ายมาจากโรงเรียนวัดบ้านบัว ขุนจันทรทีปศึกษากร (คง จันทรทีประ) เป็นครูใหญ่คนแรก และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2467 หลวงศิริทศไผทเทศ (พ่วง พรหมบุตร) หรือ รองอำมาตย์โทขุนศิริทศไผทเทศ[5] นายอำเภอโนนวัด ได้จัดการมุงหลังคาด้วยสังกะสี ใน พ.ศ. 2470 ได้จัดการต่อขยายและซ่อมดัดแปลงเพิ่มเติมให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น พ.ศ. 2476 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนโนนสูง "ศรีธานี" เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3 เดิม) ใน พ.ศ. 2489 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเริ่มเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ (ม.ศ.5) เมื่อต้นปีการศึกษา 2524 กระทรวงศึกษาธิการ สั่งรวมโรงเรียนโนนสูง (แผนใหม่) เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนโนนสูง "ศรีธานี" เรียกชื่อใหม่ว่า โรงเรียนโนนสูงศรีธานี เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [6][7]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]

ตราประจำโรงเรียนโนนสูงศรีธานี

[แก้]

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนโนนสูงศรีธานี มีลักษณะของตราเป็นบุษบกเสมาธรรมจักรตั้งอยู่บนเนินมีพื้นหลังเป็นท้องฟ้า ที่ฐานของเนินมีสมุดและขนนก มีมือโอบทั้งสองข้างของบุษบก ประคองข้างด้วยรวงข้าวซ้อนช่อดอกแคนาลายไทย ยกยอดตราสัญลักษณ์ด้วยกระจังใบเทศ ประดับริบบิ้นด้านหน้าด้วยชื่อ “โรงเรียนโนนสูงศรีธานี” เป็นภาษาไทยหรือ “NONSUNGSRITANI SCHOOL” เป็นภาษาอังกฤษ [8]

  • เนิน เป็นเนินสูงสีเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ หมายถึง โรงเรียนโนนสูงศรีธานีตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอที่มีเนินดินสูงหรือในภาษาโคราชเรียกว่า “โนนสูง” ซึ่งเป็นแหล่งกสิกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์
  • ท้องฟ้า หมายถึง ความสดใสและความยิ่งใหญ่ ทั้งยังสื่อถึง “สีฟ้า” ซึ่งเป็นหนึ่งในสีประจำโรงเรียน
  • สมุดและปากกาขนนก เป็นสมุดสีขาวและปากกาขนนกวางอยู่บริเวรฐานของเนินสูง หมายถึง การศึกษาเป็นรากฐานของชีวิต สมุดสีขาวยังสื่อถึง “สีขาว” ซึ่งเป็นหนึ่งในสีประจำโรงเรียน
  • มือโอบ หมายถึง ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโนนสูงศรีธานี
  • รวงข้าวและช่อดอกแคนา เป็นรวงข้าวมัดรวมกับช่อดอกแคนา หมายถึง ข้าวเป็นพืชสำคัญของอำเภอโนนสูง ส่วนแคนาเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียนโนนสูงศรีธานี ซึ่งถูกแกะสลักเป็นลายไทยสื่อถึงการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย
  • กระจังใบเทศ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ในที่นี้สื่อถึงคำว่า “ศรีธานี”

การศึกษา

[แก้]

โรงเรียนโนนสูงศรีธานีเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

การสำเร็จการศึกษา

[แก้]

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

แผนการเรียน

[แก้]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 3 แผนการเรียน คือ
  1. แผนการเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program: IEP Junior)
  2. แผนการเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้ม (Intensive Science and Mathematics Program: ISMP)
  3. แผนการเรียนทั่วไป (Regular Program)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 10 แผนการเรียน คือ
  1. แผนการเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program: IEP Senior)
  2. แผนการเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เข้ม (Intensive Science and Mathematics Program: ISMP)
  3. แผนการเรียนพิเศษ ภาษาจีน (Chinese Program : CNP)
  4. แผนการเรียนพิเศษ ภาษาญี่ปุ่น (Japanese Program : JPP)
  5. แผนการเรียนพิเศษ อุตสาหกรรม (Industrial Technology Program : ITP)
  6. แผนการเรียนพิเศษ ธุรกิจ ร่วมกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Business Program : BSP)
  7. แผนการเรียนพิเศษ เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology Program : DTP)
  8. แผนการเรียนทั่วไป วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program)
  9. แผนการเรียนทั่วไป ศิลป์-คำนวณ (Mathematics and Art Program)
  10. แผนการเรียนทั่วไป ภาษาอังกฤษ-สังคมศึกษา (English-Social Science Program)

คณะสี

[แก้]
  •   สีน้ำเงิน
  •   สีชมพู
  •   สีเขียว
  •   สีเหลือง
  •   สีแสด
  •   สีแดง

อาคารและหน่วยงานภายใน

[แก้]

อาคาร

[แก้]

องค์กรภายในโรงเรียน

[แก้]
  • สมาคมศิษย์เก่าและผู้ปกครองโรงเรียนโนนสูงศรีธานี
  • คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนโนนสูงศรีธานี
  • ชมรมศิษย์เก่านักเรียนห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม IEP (กุหลาบศรีธานี)
  • สมาคมครูชาวต่างชาติโรงเรียนโนนสูงศรีธานี

ผู้อำนวยการ

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนโนนสูงศรีธานี[10][11]
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1 ขุนจันทรทีปศึกษากร (คง จันทรทีประ) ครูใหญ่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2461 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465
2 นายสิงห์ จันทรจิต รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2465 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2467
3 นายสงวน แจ่มศศิธร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2468
4 นายแบะ ปลั่งกลาง รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2468 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2472
5 นายใจ กมลกลาง (นายใจ เกษตรเวทิน) รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472
6 นายจรัส บุณยานุเคราะห์ ครูใหญ่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2473 - 29 เมษายน พ.ศ. 2480
7 นายตุ่น จตุวงค์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 30 เมษายน พ.ศ. 2480 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2481
8 นายโป๊ะ พินิจศักดิ์ ครูใหญ่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2481 - 1 เมษายน พ.ศ. 2485
9 นายตุ่น จตุวงค์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 2 เมษายน พ.ศ. 2485 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2485
10 นายสอน พงศ์สุวรรณ ครูใหญ่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2499
11 นายโพธิ ขัมภรัตน์ ครูใหญ่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2499 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2500
12 นายธง เลขาวิจิตร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2502
13 นายกิติ ศรีเพชรพงษ์ ครูใหญ่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2502 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2515
14 นายประเสริฐ ศรีจันทึก รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2515 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517
15 นายกิติ ศรีเพชรพงษ์ ครูใหญ่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520
16 นายประเสริฐ ศรีจันทึก รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2520 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
17 นายสุรงค์ สีหวงษ์ อาจารย์ใหญ่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2521
18 นายประเสริฐ ศรีจันทึก รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2521 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
19 นายฉัตร วิเชียรรัตน์ อาจารย์ใหญ่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526
20 นายฉัตร วิเชียรรัตน์ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
21 นายวิศิษฐ์ ทรายงาม ผู้อำนวยการ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530
22 นายรังสฤษฏ์ ศรีวิชัย ผู้อำนวยการ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
23 นายจันทร์ ธีรวุฒิวรเวทย์ ผู้อำนวยการ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541
24 นายธวัชชัย สีสิมมา ผู้อำนวยการ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
25 นายมาโนช วาทะพุกกณะ ผู้อำนวยการ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
26 นายวีระศักดิ์ วนาภรณ์ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
27 นายอนันต์ เพียรเกาะ ผู้อำนวยการ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557
28 นายสภูษณพงศ์ เครื่องกลาง ผู้อำนวยการ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559
29 นายเงิน จานนอก ผู้อำนวยการ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
30 นายจักรพันธุ์ จงเพ็งกลาง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
31 นายสุพล จอกทอง ผู้อำนวยการ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
32 นายเกชา เหมือนวาจา ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
33 นายพงศ์สุวรรณ พงศ์ภาวิชญาภรณ์ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

บรรณานุกรม

[แก้]
  • โรงเรียนประจำอำเภอโนนสูง. ศรีธานีอนุสรณ์ มัธยมปีที่ 6 พ.ศ. 2505. นครราชสีมา : สำนักพิมพ์ วิมาลมาลย์ 540/1-3 ถนนโพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา, พ.ศ. 2505. 90 หน้า. หน้า 1-5.
  • โรงเรียนโนนสูง "ศรีธานี". 65 ปี "ศรีธานี" คืนเหย้า. นครราชสีมา : ม.ป.ท. พิมพ์แจกในงานคืนสู่เหย้า 65 ปี โรงเรียนโนนสูง "ศรีธานี", 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527. หน้า 3-8.
  • คุณหญิงแพรว สุริยราชวราภัย และตระกูลวิเศษโกสิน. อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลงศพพระยาสุริยราชวราภัย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ชุมนุมช่าง, มกราคม พ.ศ. 2515.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  2. สีประจำโรงเรียน
  3. "ข้อมูลพื้นฐาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  4. พระยาสุริยราชวราภัย, หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ, ชม ศุขปริมัตถ์, ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ชุมนุมช่าง, 2515, หน้า 90
  5. [1]
  6. ศรีธานีอนุสรณ์ มัธยมปีที่ 6 พ.ศ. 2505, ประวัติโรงเรียน, วิมพ์ วิมาลมาลย์, สำนักพิมพ์ วิมลมาลย์, 2505, หน้า 1-5
  7. "เกี่ยวกับโรงเรียน".
  8. {{Cite web |url=http://www.sritani.ac.th/หนาแรก |title=ประกาศตราสัญลักษณ์โรงเรียนโนนสูงศรีธานี}
  9. "เกี่ยวกับอาคารและสถานที่".
  10. ศรีธานีอนุสรณ์ มัธยมปีที่ 6 พ.ศ. 2505, ประวัติโรงเรียน, วิมพ์ วิมาลมาลย์, สำนักพิมพ์ วิมลมาลย์, 2505, หน้า 8
  11. "เกี่ยวกับโรงเรียน".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]