ลายกระจัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลายกระจัง เป็นลายพื้นฐานประเภทหนึ่งที่สำคัญของลายไทย มีพื้นฐานจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับลายกระหนก

ประเภทของลายกระจัง[แก้]

  • กระจังฟันปลา เป็นลายกระจังพื้นฐานที่สุด คือเป็นรูปสามเหลี่ยมบรรจุอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า เป็นตัวย่อของกระจังตาอ้อย และกระจังใบเทศ
  • กระจังตาอ้อย มีที่มาจากกระจังฟันปลา มีเส้นอ่อนเรียวทั้งซ้ายและขวา เป็นตัวย่อของกระจังใบเทศ
  • กระจังใบเทศ มีลักษณะอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย แต่ภายในมีสอดไส้ได้หลายชั้น แล้วแต่ความละเอียด ตัวสอดไส้ในกระจังใบเทศนี้เรียกว่าแข้งสิงห์
  • กระจังหู หรือกระจังปฏิภาณ จะบรรจุอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีสัดส่วน กว้าง : สูง 1: 3 ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาเป็นลายกระหนกทั้งซ้ายและขวา ตรงกลางเป็นลักษณะกระจังตาอ้อยหรือกระจังใบเทศ
  • กระจังรวน มีสัดส่วนและรูปทรงเหมือนกระจังหู แต่หันหัวลงเป็นยอดเฉ ซึ่งหันไปได้ทั้งทางซ้ายและขวา

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
  • พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
  • สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]