แม่น้ำพระปรง
แม่น้ำพระปรง แควพระปรง, ห้วยพระปรงน้อย, ห้วยพระปรงใหญ่, ห้วยพระปรง, คลองพระปรง, แควใหญ่ | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระแก้ว, ปราจีนบุรี |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ทุ่งละเลิงไผ่ |
• ตำแหน่ง | อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว |
ปากน้ำ | จุดบรรจบกับแม่น้ำหนุมาน |
• ตำแหน่ง | ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี |
• พิกัด | 13°59′09.2″N 101°42′30.9″E / 13.985889°N 101.708583°E |
ความยาว | 180 กิโลเมตร (110 ไมล์) |
ลุ่มน้ำ | |
ระบบแม่น้ำ | ลุ่มน้ำบางปะกง |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | ห้วยชัน, ห้วยยาง, คลองหนองปัก, ห้วยโสก, คลองหวายเหนียว, คลองยาง, คลองนางชิง, คลองหินเทิน, คลองหนองปัญหา, คลองพระสทึง, ห้วยไคร้, คลองนางลิง, คลองเจ้าแรง, คลองนางเลง |
• ขวา | คลองมะเฟือง, ห้วยเตย, คลองเกลือ, คลองมณโฑ, ห้วยอีตอง, คลองท่ากระบาก, คลองกุดชีวา, คลองรำพึง, คลองพันโป้, คลองพันไผ่, คลองพันเหง้า, คลองยาง, ห้วยสนาม, คลองวังวิท |
แม่น้ำพระปรง หรือ แควพระปรง เป็นลำน้ำสายหนึ่งในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี ต้นน้ำเกิดจากทุ่งละเลิงไผ่บริเวณทิวเขาพนมดงรักในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ไหลลงทางทิศใต้และทิศตะวันตก ผ่านเขตอำเภอวัฒนานครและอำเภอเมืองสระแก้ว[1] จากนั้นไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว กับอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี แล้วไหลต่อไปทางทิศตะวันตกจนไปรวมกับแม่น้ำหนุมานที่ตัวเมืองกบินทร์บุรี กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี[2] มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร[3] มีชื่อเรียกเป็นตอน ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำคือ "ห้วยพระปรงน้อย" "ห้วยพระปรงใหญ่" "ห้วยพระปรง" "คลองพระปรง" และ "แม่น้ำพระปรง" แต่ชาวกบินทร์บุรียังเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "แควใหญ่" คู่กับ "แควน้อย" หรือแม่น้ำหนุมาน
ลำน้ำสาขาของแม่น้ำพระปรงได้แก่ คลองท่ากระบาก คลองพระสทึง และห้วยไคร้เป็นต้น[4] คลองพระสทึงเป็นลําน้ำใหญ่ที่มีต้นน้ำมาจากแถบเขาฉกรรจ์และเขาสามสิบในเขตจังหวัดสระแก้ว ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำพระปรงที่แนวแบ่งเขตระหว่างตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมืองสระแก้ว กับตำบลวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี
บริเวณที่แม่น้ำพระปรงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำหนุมานมีชุมชนที่ได้กลายเป็นศูนย์รวมการคมนาคมในราว พ.ศ. 2449 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ลุ่มน้ำปราจีนบุรี สร้างความมั่นคงตามยุทธศาสตร์น้ำ". เดลินิวส์.
- ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "ภูมิวัฒนธรรมของการตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณกับเมืองหน้าด่านตะวันออก".
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2560.
- ↑ "ลุ่มน้ำปราจีนบุรี" (PDF). p. 1.
- ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""กบินทร์บุรี "เมืองด่านภาคตะวันออก". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-01. สืบค้นเมื่อ 2022-11-01.