อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ทิวเขาผีปันน้ำใกล้เขื่อนสิริกิติ์ | |
ที่ตั้ง | ประเทศไทย |
เมืองใกล้สุด | อุตรดิตถ์ |
พิกัด | 18°3′48″N 100°32′55″E / 18.06333°N 100.54861°E |
พื้นที่ | 999 km2 (386 sq mi) |
จัดตั้ง | 30 กันยายน พ.ศ. 2541[1] |
ผู้เยี่ยมชม | 27,926[2] (2019) |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ในอำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ และ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ภูมิประเทศโดยรวมเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนกันพื้นที่อุทยานมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีป่าไม้มากมาย ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และ ป่าดิบแล้ง โดยบริเวณอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ และเป็นแม่น้ำสาขาในแม่น้ำน่านที่ไหลลงสู่จ.อุตรดิตถ์ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านมีพื้นที่โดยรวมทั้งหมด 999.15 ตารางกิโลเมตร หรือ 624,468 ไร่เศษ โดยสรุปแล้วอุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่บนเหนือสันเขื่อนสิริกิติ์ในทางทิศเหนือ อุทยานแห่งลำน้ำน่านได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2541
ภูมิประเทศ
[แก้]สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนกัน มีเทือกเขาและดอยเขาหลายดอย ได้แก่ ดอยดอยแม่แนง ดอยสันผักเหียก ดอนสันผาหมู ดอยปางม่วงคำ ดอยผาตืบ ภูพระยาพ่อ ดอยจะคาน เขาหาดหล้า เขาหวยจันทร์ ภูม่อนกระต่าย ภูขอนแก่น และในบริเวณอุทยานยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสาขาของแม่น้ำน่าน จ.อุตรดิตถ์ แม่น้ำและห้วยสำคัญได้แก่ แม่สาย น้ำแม่แนง ห้วยอมถ้ำ ห้วยปันเงิน ห้วยห้วยผาเวียง ห้วยปูโล ห้วยจันทร์ ห้วยม่วง ห้วยกั้ง ห้วยวังคำ และห้วยทราย เป็น
ภูมิอากาศ
[แก้]บริเวณอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ในเขตลมมรสุมเขตร้อนชื้น มีอากาศอบอ้าวในฤดูร้อน และมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาวซึ่งในอุทยานเหมาะแก่การท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาพรรณ
[แก้]ป่าในบริเวณอุทยานแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 เขต ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีไม้ทางเศรษฐกิจอยู่หลายชนิดได้แก่ ไม้เต็งรัง มะค่า แดง และไม้ชิงชัน ในเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านยังมีสัตว์ป่าทั้งทางบกและทางน้ำหลากหลายชนิดได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นก ปลา กวาง เลียงผา หมูป่า หมีควาย หมีคน อีเห็น ลิง เม่น เสือปลา ไก่ฟ้า ไก่ป่า เต่าภูเขา งูชนิดต่าง ๆ และนกไม่น้อยอีกกว่า 200 ชนิด
จุดเด่นที่น่าสนใจ
[แก้]อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน มีบริเวณการทำสวนเมี่ยง (ชา) ในท้องที่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์และภูพญาพ่ออยู่ในพื้นที่ด้วย กิจกรรมการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยม ได้แก่ เล่นน้ำตก น้ำในแอ่งหรือลำน้ำ ล่องเรือ ศึกษาธรรมชาติ ขับรถชมทัศนียภาพและ ทิวทัศน์ธรรมชาติ และเที่ยวชมน้ำตก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมา ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
การเดินทาง
[แก้]ระยะทางจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ถึงอำเภอท่าปลา 35 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอท่าปลา ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน 14 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 45 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 4 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่แดมป่าแม่ก๋อน และป่าแม่สาย ในท้องที่ตำบลสวนเขื่อน ตำบลป่าแดง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าจริม และป่าน้ำปาต ในท้องที่ตำบลท่าแฝก ตำบลนางพญา ตำบลน้ำหมัน ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา และตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรติตถ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑" [Royal Decree: Set the land area of Mae Khaem forest, Mae Kon forest and Mae Sai forest in Suan Khuean subdistrict, Pa Daeng subdistrict, Cho Hae subdistrict, Mueang Phrae district, Phrae province and Nan River forest on the right side, Charim forest and Nam Pat forest in Tha Faek subdistrict, Nang Phaya subdistrict, Nam Man subdistrict, Charim Subdistrict, Tha Pla subdistrict, Pha Luet subdistrict, Tha Pla district and Saen To subdistrict, Nam Pat district, Uttaradit province to be a national park B.E. 2541 (1998)] (PDF). Royal Thai Government Gazette. 115 (67 kor): 1–3. 30 September 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
- ↑
"สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศง2562" [Statistics of tourists visiting National Parks fiscal year 2019]. Department of National parks, Wildlife and Plant Conservation. 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021, no.96 Lam Nam Nan N.P.
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Protected areas". UNEP-WCMC. 2020. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
- หนังสือเที่ยวเศรษฐกิจไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก
- หนังสือ อ.ส.ท.ฉบับเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2542
- หนังสือ UNSEEN THAILAND เล่ม1