อำเภอวังทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอวังทอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wang Thong
น้ำตกวังนกแอ่น (สวนรุกชาติสกุโณทยาน)
น้ำตกวังนกแอ่น (สวนรุกชาติสกุโณทยาน)
คำขวัญ: 
ล้ำค่าเขาสมอแคลง ล่องแก่งชมไพร
ผัดไทยขึ้นชื่อ เลื่องลือส้มแผ่น
ดินแดนน้ำตกงาม
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอวังทอง
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอวังทอง
พิกัด: 16°49′27″N 100°25′43″E / 16.82417°N 100.42861°E / 16.82417; 100.42861
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,687.05 ตร.กม. (651.37 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด118,501 คน
 • ความหนาแน่น70.24 คน/ตร.กม. (181.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 65130,
65220 (เฉพาะตำบลบ้านกลางและแก่งโสภา)
รหัสภูมิศาสตร์6508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวังทอง ถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วังทอง เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง[1] บางส่วนของอำเภอบางกระทุ่ม[2] ในจังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอสากเหล็ก บางส่วนของอำเภอเมืองพิจิตร บางส่วนของอำเภอวังทรายพูน[3] ในจังหวัดพิจิตร รวมไปถึงพื้นที่ของอำเภอวังโป่งทั้งหมด ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอวังทองมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ตามหลักฐาน อำเภอวังทองตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในเวลานั้นยังไม่มีเขตการปกครอง ตั้งอยู่ที่บ้านสามเรือน ซึ่งเรียกว่า อำเภอนครป่าหมาก[4] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ได้ย้ายจากบ้านสามเรือน ตำบลนครป่าหมาก มาตั้งที่บ้านวังทอง ตำบลตลาดชุม (ปัจจุบัน คือ ตำบลวังทอง ตรงกับตลาดเทศบาลวังทอง) แต่ยังคงใช้ชื่อเดิม[5]

ในปี พ.ศ. 2451 ท้องที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ และตำบลวังโป่ง เขตอำเภอนครป่าหมาก มีระยะทางห่างไกลจากตัวอำเภอจึงได้โอนพื้นที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และโอนพื้นที่ตำบลวังโป่งไปขึ้นกับกิ่งอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์[3]

ในปี พ.ศ. 2470 ได้ประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม โดยขึ้นต่ออำเภอเมืองพิษณุโลก มีการโอนพื้นที่ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม และตำบลนครป่าหมาก ไปเป็นเขตปกครองของกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม[2][6] และได้รับโอนพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครไทย ให้มาขึ้นกับเขตการปกครองของทางอำเภอ[7] ต่อมาบริเวณที่ว่าการอำเภอนครป่าหมากได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอจากชื่อตำบลตลาดชุม เป็น "ตำบลวังทอง" และเปลี่ยนชื่ออำเภอให้เป็น "อำเภอวังทอง"[8] มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการแบ่งพื้นที่อีกครั้งโดยประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอเนินมะปราง โดยมีพื้นที่ตำบลชมพู ตำบลบ้านมุง ตำบลไทรย้อย[1] ที่แยกออกไป

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอวังทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 168 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วังทอง (Wang Thong) 15 หมู่บ้าน 7. ท่าหมื่นราม (Tha Muen Ram) 14 หมู่บ้าน
2. พันชาลี (Phan Chali) 17 หมู่บ้าน 8. วังนกแอ่น (Wang Nok Aen) 20 หมู่บ้าน
3. แม่ระกา (Mae Raka) 15 หมู่บ้าน 9. หนองพระ (Nong Phra) 12 หมู่บ้าน
4. บ้านกลาง (Ban Klang) 27 หมู่บ้าน 10. ชัยนาม (Chai Nam) 8 หมู่บ้าน
5. วังพิกุล (Wang Phikun) 15 หมู่บ้าน 11. ดินทอง (Din Thong) 11 หมู่บ้าน
6. แก่งโสภา (Kaeng Sopha) 13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอวังทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังทอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพันชาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันชาลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ระกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ระกาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังพิกุลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโสภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งโสภาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมื่นรามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังนกแอ่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยนาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยนามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดินทองทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเนินมะปราง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (106 ง): (ฉบับพิเศษ) 17. วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2519
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 1231. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
  3. 3.0 3.1 "ประกาศ [ยกเลิกหนังสือสำคัญเดิมสำหรับที่ดิน ตำบลดอนทอง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ้านไร่ อำเภอในเมือง ตำบลหินลาด ตำบลพันโช้ง ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบถ ตำบลตลุกกระเทียม ตำบลกกแรด อำเภอพรมพิราม ตำบลชุมภู ตำบลชัยนาม ตำบลวังโป่ง ตำบลสากเหล็ก อำเภอนครป่าหมาก ตำบลบึงกอก ตำบลหนองคุลา ตำบลบางระกำ ตำบลปรักแรด ตำบลหาดตรวด อำเภอชุมแสง แขวงเมืองพิษณุโลก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (0 ง): 372. วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2506
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ให้หลวงศรีสุรเกษตรานุรักษ์ ผู้ตรวจการมณพลพิษณุโลก ไปเป็นนายอำเภอนครป่าหมาก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (0 ง): 219. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  6. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับท้องที่กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 118–119. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
  7. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลทับยายเชียง ซึ่งแยกมาจากตำบลมะต้องและตำบลวงฆ้อง อำเภอพรมพิาม กับตำบลป่าคาย ซึ่งแยกมาจากตำบลแก่งโสภา อำเภอเมืองนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 659–660. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482