อาลิง โฮลัน
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | อาลิง เบราต์ โฮลัน[1] | ||
ชื่อเกิด | อาลิง เบราต์ โฮลัน[2] | ||
วันเกิด | [3] | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2000||
สถานที่เกิด | ลีดส์ ประเทศอังกฤษ | ||
ส่วนสูง | 1.95 เมตร (6 ฟุต 5 นิ้ว)[4] | ||
ตำแหน่ง | กองหน้าตัวเป้า | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | แมนเชสเตอร์ซิตี | ||
หมายเลข | 9 | ||
สโมสรเยาวชน | |||
2005–2016 | บรีเนอ | ||
2017 | ม็อลเดอ | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2015–2016 | บรีเนอ 2 | 14 | (18) |
2016–2017 | บรีเนอ | 16 | (0) |
2017 | ม็อลเดอ 2 | 4 | (2) |
2017–2019 | ม็อลเดอ | 39 | (14) |
2019–2020 | เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค | 16 | (17) |
2020–2022 | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 67 | (62) |
2022– | แมนเชสเตอร์ซิตี | 77 | (75) |
ทีมชาติ‡ | |||
2015 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 15 ปี | 4 | (4) |
2016 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 16 ปี | 17 | (1) |
2017 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 17 ปี | 5 | (2) |
2017 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 18 ปี | 6 | (6) |
2018 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 19 ปี | 6 | (6) |
2019 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 20 ปี | 5 | (11) |
2018 | นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 21 ปี | 3 | (0) |
2019– | นอร์เวย์ | 37 | (34) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 (UTC) ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2024 (UTC) |
อาลิง เบราต์ โฮลัน (นอร์เวย์: Erling Braut Haaland, เดิมสะกดว่า Håland, ออกเสียง: [ˈhòːlɑn]; เกิด 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2000) เป็นนักฟุตบอลชาวนอร์เวย์ ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าให้แก่แมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรในพรีเมียร์ลีก และทีมชาตินอร์เวย์ มีจุดเด่นในด้านการทำประตู และได้รับการยกย่องในด้านฝีเท้า การวิ่ง ความแข็งแรง การจ่ายบอล และการหาโอกาสเข้าทำในกรอบเขตโทษ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่ดีที่สุดในโลก[5]
โฮลันเริ่มต้นอาชีพกับสโมสรในบ้านเกิดอย่างบรีเนอใน ค.ศ. 2016 และย้ายไปม็อลเดอในปีถัดมา เขาลงเล่นให้กับม็อลเดอสองปีก่อนที่จะเซ็นสัญญากับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรียเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[6] เขาพาทีมชนะเลิศออสเตรียนบุนเดิสลีกาสองสมัย และออสเตรียนคัพหนึ่งสมัย และในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 เขาเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกที่ทำประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ถึงห้านัดติดต่อกัน[7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 โฮลันย้ายไปโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ซึ่งเขาประสบความสำเร็จกับการทำประตูในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2019–20 จนกลายเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนที่สองที่ทำ 10 ประตูในรายการนี้ เขาชนะเลิศการแข่งขันเดเอ็ฟเบ-โพคาล ฤดูกาล 2020–21 และได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของบุนเดิสลีกา ก่อนจะย้ายไปแมนเชสเตอร์ซิตีใน ค.ศ. 2022 ด้วยค่าตัว 60 ล้านยูโรซึ่งเขาทำสถิติเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดที่ทำแฮตทริกได้สองครั้ง, สามครั้ง, สี่ครั้ง และห้าครั้งในพรีเมียร์ลีก และเป็นผู้เล่นคนแรกในลีกที่ทำแฮตทริกในเกมเหย้าสามนัดติดต่อกัน โฮลันพาแมนเชสเตอร์ซิตีคว้าสามถ้วยรางวัลใหญ่ซึ่งรวมถึงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสมัยแรก รวมทั้งเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก เขาทำไปถึง 52 ประตูจากการลงสนาม 53 นัดทุกรายการซึ่งเป็นสถิติตลอดกาลของผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก เขายังเป็นผู้เล่นคนแรกของพรีเมียร์ลีกที่ได้รับทั้งรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม และผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลในฤดูกาลเดียวกัน เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลอีกครั้งในฤดูกาลต่อมา และพาทีมชนะเลิศสามถ้วยรางวัลในพรีเมียร์ลีก, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ต่อมาใน ค.ศ. 2024 เขากลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 75 ประตูเร็วที่สุดในพรีเมียร์ลีกจากการลงสนามเพียง 77 นัด
โฮลันได้รับรางวัลเกียรติประวัติส่วนตัว และทำลายสถิติในการทำประตูหลายรายการ เขาคว้ารางวัลโกลเดินบอยประจำปี 2020 และมีชื่อติดทีมยอดเยี่ยม 11 คนจากการประกาศรางวัลขององค์กรฟิฟโปรสองปีติดต่อกันใน ค.ศ. 2021–22 ต่อมาใน ค.ศ. 2023 โฮลันทำสถิติยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้มากที่สุดต่อหนึ่งฤดูกาล (36 ประตู) เขายังได้รับรางวัลผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก, รางวัลรองเท้าทองคำยุโรป และถ้วยรางวัลแกร์ท มึลเลอร์ ตามด้วยรางวัลนักฟุตบอลชายแห่งปีของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป และคว้าอันดับสองในการประกาศรางวัลบาลงดอร์ 2023
แม้จะมีสิทธิ์เลือกเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษ แต่โฮลันเลือกเล่นให้กับนอร์เวย์ หลังจากฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ที่เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำจากการทำคนเดียวเก้าประตูในหนึ่งนัดจนสร้างสถิติใหม่ โฮลันลงเล่นให้กับทีมชาตินอร์เวย์ชุดใหญ่ครั้งแรกใน ค.ศ. 2019[8] ปัจจุบันเขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของนอร์เวย์
ชีวิตช่วงต้น
โฮลันเกิดในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ที่ลีดส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งอัลฟ์-อิงเก้ โฮลัน บิดาของเขา เป็นนักฟุตบอลที่กำลังลงเล่นในพรีเมียร์ลีกในตอนนั้น[9] ต่อมาใน ค.ศ. 2004 เขาย้ายไปบ้านเกิดของพ่อแม่ที่บรีเนอ ประเทศนอร์เวย์ ตอนอายุ 3 ขวบ[10][11]
สโมสรอาชีพ
บรีเนอ
โฮลันเริ่มเล่นให้กับทีมเยาวชนของบรีเนอในวัยห้าขวบ[12][13] ในบทสัมภาษณ์ของ โกล Alf Ingve Berntsen อดีตผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนของโฮลัน พูดถึงพรสวรรค์ในวัยเด็กของเขาว่า:
“ | ผมเห็นโฮลันครั้งแรกตอนเขาอายุห้าขวบ เมื่อเขาเข้าร่วมทีมและฝึกซ้อมกับกลุ่มเพื่อนที่อายุมากกว่าหนึ่งปี สองสัมผัสของเขานำไปสู่ประตู เขาเล่นได้ดีมาก ๆ ในช่วงแรกของเขา แม้ว่าตอนนั้นเขาจะยังไม่เคยเล่นในสโมสรมาก่อน เขาเริ่มเล่นในกลุ่มอายุของเขา แต่เป็นเพราะเขาดีกว่าคนอื่นมาก ๆ เราจึงต้องดึงเขาขึ้นไปเล่นในรุ่นอายุไม่เกิน 6 ปี[14] | ” |
ระหว่างฤดูกาล 2015–16 โฮลันได้เล่นให้กับทีมสำรองของบรีเนอ เขาทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจโดยยิง 18 ประตูจาก 14 นัด[15] เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016 Gaute Larsen ถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมบรีเนอ และ Berntsen ผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนได้เลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการ เนื่องจาก Berntsen ได้ทำงานร่วมกับโฮลันในชุดเยาวชนหลายรุ่นอายุ ผู้จัดการทีมชั่วคราวคนนี้จึงดึงโฮลันขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่แม้ว่าเขาจะมีอายุเพียง 15 ปี 9 เดือนก็ตาม[14][13] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชุดใหญ่ในลีกระดับสองนัดที่พบกับ Ranheim เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[16]
หลังจากที่วางตำแหน่งปีกให้กับโฮลันในช่วงแรก Berntsen ได้ย้ายเขาไปเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าในอีกไม่กี่นัดถัดมา โฮลันลงเล่นให้กับบรีเนอทั้งสิ้น 16 นัด[15] แม้ว่าเขาจะยังไม่ประสบความสำเร็จในด้านการทำประตูในฤดูกาลกับบรีเนอ แต่เขาก็ได้รับข้อเสนอจากเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ จากเยอรมนี ก่อนที่จะย้ายไปม็อลเดอ ซึ่งอยู่ภายใต้การคุมทีมของอดีตผู้เล่นชาวนอร์เวย์ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์[14]
ม็อลเดอ
ฤดูกาล 2017
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ม็อลเดอประกาศว่าได้เซ็นสัญญากับโฮลัน[17] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2017 ในนอร์เวเจียนคัพนัดที่พบกับโวลดา ซึ่งเขาสามารถทำประตูแรกให้กับสโมสร ช่วยให้ทีมชนะ 3–2[18] เขาลงเล่นนัดแรกในลีกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2017 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 71 ในการพบกับซาร์ปสเบิร์ก 08 เขาได้รับใบเหลืองหลังจากที่ลงสนามเพียง 65 วินาที[19] อย่างไรก็ตาม เขาสามารถทำประตูชัยในนาทีที่ 77 ซึ่งเป็นประตูแรกที่เขาทำได้ในเอลีเตอเซเรียน ต่อมา เขาทำประตูที่สองในลีกของฤดูกาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน โดยเป็นประตูชัยช่วยให้ทีมเอาชนะไวกิง 3–2 แต่เขาถูกวิพากย์วิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีม Björn Bergmann Sigurðarson ถึงการฉลองการทำประตูต่อหน้าผู้สนับสนุนไวกิง[20] โฮลันจบฤดูกาลแรกกับม็อลเดอด้วยการทำ 4 ประตูจากการลงเล่น 20 นัด[21]
ฤดูกาล 2018
วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 โฮลันทำคนเดียวสี่ประตูภายใน 21 นาทีแรกของเกม ช่วยให้ทีมบุกเอาชนะบรันน์ 4–0 ทำลายสถิติไร้พ่ายในลีกของเจ้าบ้าน ในนัดนั้น เขาทำแฮตทริกภายในเวลา 11 นาที 2 วินาที และทำครบสี่ประตูภายในเวลา 17 นาที 4 วินาที ทีมงานแมวมองของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็มารับชมเกมนัดนี้ด้วย[22] ผู้จัดการทีมม็อลเดอ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ เปรียบเทียบรูปแบบการเล่นของโฮลันว่าคล้ายกับของโรเมลู ลูกากู และเปิดเผยว่า สโมสรได้ปฏิเสธข้อเสนอซื้อตัวโฮลันจากสโมสรต่าง ๆ[23]
นัดถัดมา วันที่ 8 กรกฎาคม โฮลันทำสองประตูและหนึ่งแอสซิสต์ช่วยให้ทีมเอาชนะโบเลเรงกา 5–1[24] เขาทำประตูในยูฟ่ายูโรปาลีก ช่วยให้ม็อลเดอเอาชนะลาชี 3–0 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม[25] โฮลันพลาดการลงเล่นในลีกสามนัดสุดท้ายเนื่องจากอาการข้อเท้าแพลง[26] ผลงานของเขาในลีกฤดูกาล 2018 ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีของเอลีเตอเซเรียน[27] เขาจบฤดูกาล 2018 ด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของม็อลเดอจากการทำ 16 ประตูจากการลงเล่น 30 นัดจากทุกรายการ[28]
ฟิล เฮย์ จากดิแอธเลติก เปิดเผยว่า ก่อนที่โฮลันจะย้ายไปเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค เขาเคยได้รับข้อเสนอจากลีดส์ยูไนเต็ดในแชมเปียนชิปของอังกฤษ[29]
เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2018 สโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรียนบุนเดิสลีกาประกาศว่าโฮลันจะย้ายมาร่วมทีมในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 โดยจะเซ็นสัญญาห้าปี[6] วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 โฮลันทำแฮตทริกแรกให้กับสโมสรในออสเตรียนคัพนัดที่เอาชนะ SC-ESV Parndorf 7–1[30] ต่อมาในวันที่ 10 สิงหาคม เขาทำแฮตทริกแรกในออสเตรียนบุนเดิสลีกาช่วยให้ทีมเอาชนะ Wolfsberger AC 5–2[31] ต่อมาเขาทำแฮตทริกที่สามให้กับสโมสรเมื่อวันที่ 14 กันยายน ช่วยให้ทีมเอาชนะ TSV Hartberg 7–2 เขาทำ 11 ประตูจากการลงเล่นเพียง 7 นัด ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในฤดูกาลนั้น[32] สามวันถัดมา เขาลงเล่นครั้งแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 และทำแฮตทริกที่สี่กับสโมสร ช่วยให้เอาชนะเคงก์[33]
ฮาลันเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนที่สองในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่ทำประตูในสามนัดแรกที่ได้ลงเล่นในรายการนี้ครบทุกนัด ต่อจากการีม แบนเซมา โดยฮาลันทำหนึ่งประตูใส่ลิเวอร์พูลและทำสองประตูใส่นาโปลี[34] หกประตูของเขาในสามนัดแรกที่ลงเล่นนับเป็นสถิติสูงสุดของแชมเปียนส์ลีก[34] ต่อมาเมื่อเขาทำหนึ่งประตูในนาโปลี เขากลายเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกที่ทำประตูครบทั้งสี่นัดแรกที่ลงเล่นในรายการแข่งขัน และเป็นผู้เล่นคนที่สี่ทำสถิตินี้ได้หากนับรวมทุกอายุ ต่อจากเซการ์ลูส, อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร และดิเอโก โกสตา[7] วันที่ 27 พฤศจิกายน เขาทำอีกหนึ่งประตูใส่เคงก์ ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่หกที่ทำประตูในรายการนี้ได้ถึงห้านัดติดต่อกัน ต่อจาก เดล ปีเอโร, เซอร์ฮิว เรบรอฟ, เนย์มาร์, คริสเตียโน โรนัลโด และรอแบร์ต แลวันดอฟสกี[35][36]
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
โฮลันย้ายไปโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ในบุนเดิสลีกาของเยอรมนีเมื่อสองวันก่อนที่ตลาดซื้อ-ขายฤดูหนาวประจำเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 จะเปิด ค่าตัวที่ได้รับรายงานอยู่ที่ 20 ล้านยูโร เขาเซ็นสัญญากับสโมสรสี่ปีครึ่ง[37][38] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรในนัดที่พบกับเอาคส์บวร์คเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 56 และทำแฮตทริกภายในเวลาเพียง 23 นาที ช่วยให้ทีมชนะ 5–3[39] เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่สองของดอร์ทมุนท์ที่ทำสามประตูในนัดแรกที่ลงเล่นในบุนเดิสลีกา ต่อจากปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์[40] ในนัดที่สองที่ลงเล่นให้กับดอร์ทมมุนท์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พบกับแอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ โฮลันลงเล่นเป็นตัวสำรองอีกครั้งในนาทีที่ 65 และทำประตูแรกหลังจากที่ลงสนามเพียง 12 นาที ก่อนที่จะทำประตูที่สองในอีก 10 นาทีถัดมา ช่วยให้ทีมของเขาเอาชนะ 5–1[41] โฮลันกลายเป็นผู้เล่นคนแรกในบุนเดิสลีกาที่ทำ 5 ประตูจากการลงเล่นในสองนัดแรก เช่นเดียวกันกับผู้เล่นที่ทำถึง 5 ประตูในรายการนี้ได้เร็วที่สุด (56 นาที)[42] วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 2–1 ในเลกแรกของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย ดาวรุ่งชาวนอร์เวย์ทำ 10 ประตูในแชมเปียนส์ลีกจากการลงเล่นเพียง 8 นัด แบ่งเป็น 8 ประตูกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค และ 2 ประตูกับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[43]
เมื่อบุนเดิสลีกากลับมาแข่งใหม่อีกครั้ง หลังจากหยุดพักไปเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา โฮลันทำประตูแรกหลังพักลีก ช่วยให้ทีมเอาชนะชัลเคอ 04 4–0 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม[44] ประตูนี้เป็นประตูที่ 10 ของเขาในบุนเดิสลีกา วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2020 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมเอาชนะแอร์เบ ไลพ์ซิช 2–0 ทำให้ดอร์ทมุนท์ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลถัดไป[45]
แมนเชสเตอร์ซิตี
ฤดูกาล 2022–23: ทำลายสถิติหลายรายการ และคว้าแชมป์ 3 ถ้วยใหญ่
ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ทางสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีประกาศว่าได้ทำการเซ็นสัญญาโฮลันด้วยค่าฉีกสัญญา 60 ล้านยูโร[46] จากนั้นในวันที่ 13 มิถุนายน ทางสโมสรประกาศอย่างเป็นทางการว่าโฮลันจะเข้าร่วมสโมสรในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยมีระยะเวลาสัญญาจ้าง 5 ปี[47]
โฮลันลงสนามนัดแรกในการแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2022 ซึ่งเขาลงเล่นครบ 90 นาที และแมนเชสเตอร์ซิตีแพ้ลิเวอร์พูล 1–3[48] ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เขาลงสนามนัดแรกในพรีเมียร์ลีกและทำสองประตูในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีบุกไปชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–0[49] ถัดมา ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เขาทำแฮตทริกครั้งแรกในพรีเมียร์ลีกได้ ในนัดที่ทีมเอาชนะคริสตัลพาเลซ 4–2 ตามด้วยการทำแฮตทริกอีกครั้งในอีกสี่วันถัดมา ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเอาชนะนอตทิงแฮมฟอเรสต์ 6–0[50] ส่งผลให้โฮลันกลายเป็นนักเตะที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกที่ทำแฮตทริกได้สองครั้ง[51] ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2022 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมบุกไปชนะเซบิยา 4–0 ในรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ ส่งผลให้เขาเป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำ 25 ประตูจากการลงสนาม 20 นัดในรายการนี้[52][53] ก่อนจะคว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมของพรีเมียร์ลีกประจำเดือนสิงหาคมในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022[54] ต่อมา ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2022 โฮลันสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนักเตะคนแรกในยุคพรีเมียร์ลีกที่ทำแฮตทริกจากการแข่งขันเกมเหย้า 3 นัดติดต่อกัน ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเปิดบ้านเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 6–3[55] รวมทั้งเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดที่ทำแฮตทริกได้สามครั้งในพรีเมียร์ลีก โดยลงสนามไปเพียงแปดนัดทำลายสถิติเดิมของ ไมเคิล โอเวน ที่ใช้เวลาถึง 48 นัดใน ค.ศ. 1998[56]
ต่อมา ในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2022 โฮลันทำสองประตูช่วยทีมบุกเอาชนะลีดส์ยูไนเต็ด 3–1 ถือเป็นประตูที่ 20 จากการลงสนามเพียง 14 นัด ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการทำ 20 ประตูในพรีเมียร์ลีก ทำลายสถิตของ เควิน ฟิลลิปส์[57] เขาทำแฮตทริกได้อีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2023 นัดที่พบกับ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ทำให้เขาทำไปถึง 25 ประตูจากการลงสนาม 19 นัด ซึ่งมากกว่าจำนวน 23 ประตูที่สองผู้เล่นอย่าง มุฮัมมัด เศาะลาห์ และ ซน ฮึง-มิน ทำได้ตลอดทั้งฤดูกาล 2021–22
ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2023 โฮลันยิงห้าประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบ 16 ทีมสุดท้ายนัดที่เอาชนะแอร์เบ ไลพ์ซิช 7–0 ทาบสถิติของ ลิโอเนล เมสซิ และ ลุยซ์ อาเดรียโน ในการทำประตูมากที่สุดในหนึ่งนัด[58] ส่งผลให้เขาทำประตูรวมทุกรายการในฤดูกาลนี้ให้แมนเชสเตอร์ซิตีไป 39 ประตู ทำลายสถิติตลอดกาลของ ทอมมี จอห์นสัน จำนวน 38 ประตูในฤดูกาล 1928–29[59] นอกจากนี้ เขายังทำสถิติเป็นผู้เล่นคนที่สาม ต่อจากเมสซิ และ คริสเตียโน โรนัลโด ที่ทำอย่างน้อย 10 ประตูในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกมากกว่า 1 ฤดูกาล ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2023 โฮลันทำหนึ่งประตูในนัดที่ทีมเอาชนะไบเอิร์นมิวนิกในรอบก่อนรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ถือเป็นประตูที่ 45 รวมทุกรายการ ทำลายสถิติจำนวน 44 ประตูของผู้เล่นในพรีเมียร์ลีกที่ทำไว้โดย รืด ฟัน นิสเติลโรย และ เศาะลาห์ ถัดมาอีกสองสัปดาห์ โฮลันทำสองประตูและอีกหนึ่งแอสซิสต์ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเปิดบ้านเอาชนะทีมนำของลีกอย่างอาร์เซนอล 4–1 ลดจำนวนช่องว่างในตารางเหลือเพียงสองคะแนนและซิตียังแข่งน้อยกว่าอีกสองนัด[60] ตามด้วยการทำประตูที่ 50 รวมทุกรายการในนัดที่พบฟูลัม และเขาคว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนเมษายนจากผลงานหกประตูและสองแอสซิสต์[61]
ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 โฮลันทำประตูที่ 35 ในลีกนัดที่พบเวสต์แฮม ทำลายสถิติเดิมของแอนดรูว์ โคลและเชียเรอร์ที่ทำไว้ 34 ประตู หนึ่งสัปดาห์ถัดมา เขาได้รับรางวัลชนะเลิศนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ด้วยคะแนนโหวตกว่า 82% เหนือสองผู้เล่นของอาร์เซนอลย่างบูกาโย ซากาและมัตติน เออเดอโกร์ โฮลันเป็นเพียงผู้เล่นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลในฤดูกาลแรกที่ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก[62][63] โฮลันคว้าแชมป์ใบแรกจากการที่ซิตีชนะเลิศพรีเมียร์ลีกวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2023[64] ต่อมา ในวันที่ 24 พฤษภาคม เขาทำได้หนึ่งแอสซิสต์ซึ่งทำให้เขามีผลงานทำประตูและแอสสิสต์ในพรีเมียร์ลีกรวมกันจำนวน 44 ครั้ง ทาบสถิติของกองหน้าตำนานอย่างตีแยรี อ็องรี เขาจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดที่ 36 ประตู และยังคว้ารางวัลรองเท้าทองคำยุโรป[65] พร้อมทั้งทำสถิติใหม่ในการทำประตูสูงสุดต่อหนึ่งฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก[66]
โฮลันคว้าถ้วยรางวัลใบที่สองจากการพาทีมเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2–1 วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2023[67] ตามด้วยการพาทีมเอาชนะอินเตอร์มิลานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023 ด้วยผลประตู 1–0 แมนเชสเตอร์ซิตีทำสถิติเป็นสโมสรที่สองของอังกฤษที่ชนะเลิศการแข่งขันสามรายการหลักในฤดูกาลเดียวกัน[68] เขายังจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งที่สอง[69] และทำสถิติเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นร่วมกับลิโอเนล เมสซิ ในการทำประตูสูงสุดในรายการดังกล่าวสองครั้งก่อนอายุครบ 23 ปี[70] เขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของยูฟ่าในเดือนสิงหาคม โดยมีคะแนนชนะเพื่อนร่วมทีมอย่างเกฟิน เดอ เบรยเนอ[71]
ฤดูกาล 2023–24: ฤดูกาลที่สองในอังกฤษ
โฮลันเริ่มต้นพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2023–24 ด้วยการทำสองประตูพาทีมบุกชนะทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอย่างเบิร์นลีย์[72] หนึ่งวันต่อมา เขาคว้าแชมป์แรกของฤดูกาล และเป็นถ้วยรางวัลใบที่สี่กับซิตี ด้วยการเอาชนะจุดโทษเซบิยาในรายการยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2023 โดยโฮลันเป็นผู้ยิงลูกโทษคนแรก[73] ถัดมาในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2023 เขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ หลังจากทำแฮตทริกเป็นครั้งที่เจ็ดให้กับซิตี และทำอีกหนึ่งแอสซิสต์ให้เกมที่พบฟูลัมวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2023 โฮลันสร้างสถิติใหม่ด้วยการเป็นผู้เล่นที่มีส่วนกับประตูของทีมจำนวน 50 ประตู (นับรวมการทำประตูและแอสซิสต์) ด้วยการลงสนามเพียง 39 นัด ทำสถิติเหนือกว่าแอนดรูว์ โคลถึง 4 นัด[74] โฮลันทำไปถึงสิบประตูจากการลงสนาม 11 นัดในลีก รวมถึงการทำสองประตูในนัดที่ซิตีบุกไปชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยผลประตู 3–0 วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2023
ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ในงานประกาศรางวัลบาลงดอร์ 2023 โฮลันได้รับถ้วยรางวัลแกร์ท มึลเลอร์[75] ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 โฮลันกลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 50 ประตูในพรีเมียร์ลีกได้เร็วที่สุด จากการทำประตูในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเสมอลิเวอร์พูล 1–1 โดยโฮลันลงสนามในลีกไปเพียง 48 นัด ทำลายสถิติเดิมของแอนดรูว์ โคล ที่ลงเล่นไป 65 นัด[76] โฮลันได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกข้อเท้า และต้องพักการลงสนามเป็นเวลาเกือบสองเดือน ทำให้เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2023 ก่อนจะกลับมาลงสนามในช่วงปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 2024[77] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 โฮลันทำประตูให้ทีมเปิดบ้านชนะเบรนต์ฟอร์ด 1–0 ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่สองในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ที่ยิงประตูครบทุกสโมสรที่เขาเคยลงแข่งขันด้วย[78] สัปดาห์ต่อมา โฮลันทำ 5 ประตูช่วยให้ทีมบุกไปชนะลูตันทาวน์ 6–2 ในเอฟเอคัพรอบที่ 5 ทำสถิติเป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำห้าประตูในหนึ่งนัดให้แก่สโมสรได้ถึงสองครั้ง[79] และกลายเป็นผู้เล่นคนที่สามของแมนเชสเตอร์ซิตีทำที่ทำ 5 ประตูในเอฟเอฟคัพ ต่อจาก แฟรงค์ โรเบิร์ต ใน ค.ศ. 1926 และ บ็อบบี มาร์แชลล์ ใน ค.ศ. 1930 และถือเป็นผู้เล่นคนแรกนับตั้งแต่จอร์จ เบสต์ ใน ค.ศ. 1970 ที่ทำห้าประตูในการแข่งขันเอฟเอคัพ
ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 โฮลันทำ 4 ประตูช่วยให้สโมสรเปิดบ้านเอาชนะวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 5–1 โดยเป็นการทำแฮตทริกครั้งที่สองในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ และเป็นครั้งแรกของปี 2024[80] ต่อมา เขาทำสองประตูสำคัญให้ทีมบุกไปชนะสเปอร์ 2–0 ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ช่วยให้ซิตีกลับขึ้นไปเป็นทีมนำในตารางโดยเหลือการแข่งขันอีกหนึ่งนัด และเขาคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกร่วมกับสโมสรเป็นฤดูกาลที่สองติดต่อกันในอีก 5 วันถัดมา[81] เขายังมีส่วนร่วมในเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2024 ซึ่งซิตีพบกับยูไนเต็ดเป็นปีที่สองติดต่อกัน ก่อนที่ซิตีจะแพ้ด้วยผลประตู 1–2 ผลงานโดยรวมในฤดูกาลนี้ของโฮลันคือการทำ 27 ประตูในลีก และ 38 ประตูรวมทุกรายการ
ฤดูกาล 2024–25: ลงสนามนัดที่ 100 และ ประตูที่ 100
โฮลันคว้าแชมป์เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2024 ร่วมกับสโมสรจากการชนะจุดโทษแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ภายหลังเสมอกันในเวลาปกติ 1–1 และเขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยิงจุดโทษเข้า โฮลันลงสนามให้แมนเชสเตอร์ซิตีครบ 100 นัดในการแข่งขันพรีเมียร์ลีกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2024 และทำได้หนึ่งประตูช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะเชลซีด้วยผลประตู 2–0 ในสัปดาห์ต่อมา เขาทำแฮตทริกครั้งแรกของฤดูกาลในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเอาชนะทีมน้องใหม่อย่างอิปสวิชทาวน์ 4–1 ซึ่งถือเป็นแฮตทริกครั้งที่เจ็ดในพรีเมียร์ลีก[82] ตามด้วยการทำแฮตทริกได้อีกครั้งในสัปดาห์ต่อมา ในนัดที่ซิตีบุกไปชนะเวสต์แฮม 3–1 ส่งผลให้แมนเชสเตอร์ซิตีแซงหน้าลิเวอร์พูลในการเป็นสโมสรที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุดในยุคพรีเมียร์ลีก[83] นอกจากนี้ การทำถึงเจ็ดประตูจากการลงเล่นเพียงสามนัดแรก ส่งผลให้โฮลันแซงหน้าเอดิน เจกอ ในการทำประตูมากที่สุดจากการลงเล่นสามนัดแรกในพรีเมียร์ลีก และเขากลายเป็นผู้เล่นคนแรกนับตั้งแต่พอล จีเวลล์ของแบรดฟอร์ดซิตีใน ค.ศ. 1994 ที่ทำแฮตทริกได้ถึงสองครั้งจากการลงแข่งขันในสามนัดแรกของพรีเมียร์ลีก ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2024 โฮลันทำอีกสองประตูช่วยให้ทีมชนะเบรนท์ฟอร์ด 2–1 ทำให้เขายิงครบ 9 ประตู ทำลายสถิติของเวย์น รูนีย์ในการทำประตูมากที่สุดในสี่นัดแรกของพรีเมียร์ลีก[84]
โฮลันทำครบ 100 ประตูในฐานะนักเตะซิตีเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2024 ในนัดที่เสมออาร์เซนอล 2–2 และยังเป็นประตูที่ 10 ในลีกจากการลงเล่น 5 นัด นอกจากนี้ เขายังทาบสถิติของคริสเตียโน โรนัลโด ในการทำ 100 ประตูจากการลงสนาม 105 นัดแรกให้แก่สโมสรในห้าลีกใหญ่ของยุโรป[85] ต่อมา วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เขาทำสองประตูในนัดที่ซิตีบ้านชนะสปาร์ตา ปราก 5–0 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และทำหนึ่งประตูในนัดที่ซิติบุกไปแพ้ไบร์ทตัน 1–2 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 และจากการลงสนามไปเพียง 75 นัด ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 75 ประตูได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก[86] โฮลันทำสองประตูในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเสมอไฟเยอโนร์ดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ถือเป็นประตูที่ 50 ในการแข่งขันฟุตบอลยุโรปของเจ้าตัว
ทีมชาติ
แม้ว่าจะสามารถเลือกเล่นให้กับอังกฤษ แต่โฮลันเลือกเล่นให้กับนอร์เวย์และเป็นตัวแทนของทีมชาตินอร์เวย์ในหลายรุ่นอายุ ตอนที่เล่นให้กับทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี[87] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2018 เขาทำแฮตทริกช่วยให้ทีมเอาชนะสกอตแลนด์ 5–4 ทำให้นอร์เวย์ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี 2018[88] ต่อมาในรอบสุดท้าย วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 โฮลันทำประตูให้กับทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปีในนัดที่เสมอกับอิตาลี 1–1[89]
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 โฮลันทำ 9 ประตูช่วยให้นอร์เวย์เอาชนะฮอนดูรัส 12–0 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ที่ลูบลินในโปแลนด์[90][91] ทำให้เป็นชัยชนะที่ขาดลอยที่สุดของทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี และเป็นความพ่ายแพ้ขาดลอยที่สุดของทีมชาติฮอนดูรัสรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี นอกจากนี้ เขายังทำสถิติทำประตูมากที่สุดต่อหนึ่งนัดในฟุตบอลโลกเยาวชน[92] และนัดนี้ก็เป็นนัดที่มีทีมชนะขาดลอยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกเยาวชน[93] อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ตกรอบแบ่งกลุ่มและโฮลันไม่ได้ทำประตูในนัดที่เหลือ แต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ[94]
หลังจากที่ทำผลงานอันยอดเยี่ยมในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ประกอบด้วยกับผลงานที่ดีกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คที่เขาทำ 6 ประตูจากการลงเล่นในลีก 4 วันแรก ทำให้ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2019 โฮลันจึงถูก Lars Lagerbäck เรียกติดทีมชาตินอร์เวย์ชุดใหญ่ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก นัดที่จะพบกับมอลตาและสวีเดน เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติชุดใหญ่เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2019 ในนัดที่พบกับมอลตา[8] วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2020 โฮลันทำประตูแรกในนามทีมชาติในนัดที่แพ้ออสเตรีย 1–2 ในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี[95] ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2020 เขาทำสองประตูในนัดที่พบกับนอร์เทิร์นไอร์แลนด์[96]
รูปแบบการเล่น
โฮลันได้รับการยอมรับในด้านการวิ่งและก้าวที่ทรงพลัง ความเป็นนักกีฬา ความแข็งแรง และการจ่ายลูกบอลที่แม่นยำ การวิ่งของโฮลันในแนวรับฝั่งตรงข้ามทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีต่อการทำประตู[97] โฮลันมีความเร็วจนเป็นที่ยอมรับว่าผู้เล่นทีมคู่แข่งมัวแต่สนใจลูกบอลจนเขาได้โอกาสสอดแทรกในช่องว่างระหว่างแนวรับคู่แข่งเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเพื่อนร่วมกัมของเขา[97] ในช่วงอาชีพเพียงระยะสั้น ๆ โฮลันกลายเป็นผู้เล่นที่ถนัดการทำประตู โดยเขาสามารถทำประตูได้ผ่านการยิงไกลอันทรงพลัง การยิงในตำแหน่งที่ดี การดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตู และการโหม่ง[97]
ในฐานะผู้เล่นที่เล่นกันเป็นทีม โฮลันเป็นผู้ที่อ่านเกมได้อย่างมีสัญชาตญาณและรวดเร็ว จนกระทั่งว่าความเร็วในการกระโจนทำให้เขามีกรอบผู้เล่นที่กว้าง เขาสามารถเอาชนะการครอบครองบอลหรือจ่ายบอลยาวย้อนหลังให้กับเพื่อนร่วมทีมได้[97] ช่วงที่เล่นให้กับดอร์ทมุนท์ การเล่นเชิงกลยุทธ์ของเขาช่วยให้เพื่อนร่วมทีมอย่างเจดอน แซนโช, อัชร็อฟ ฮะกีมี และตอร์กาน อาซาร์ มีพื้นที่สำหรับทำประตูหรือแอสซิสต์ได้[97] เมื่อโฮลันกำลังจะเชื่อมเกม เขาจะอยู่ในตำแหน่งอ้างอิงและใช้ความแข็งแกร่งป้องกันบอลจากคู่แข่งได้[98]
โฮลันสามารถวิ่งผ่านและหลอกกองหลังฝั่งตรงข้าม ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนทิศทางการวิ่งไปด้วย[97] นอกจากนี้ เขายังเรียกฟาล์วได้กลายครั้ง[97] ความแม่นยำในการวิ่งทำให้เขากระโจนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ และการเคลื่อนไหวที่เฉียบคมอย่างการวิ่งซิกแซ็กและการเคลื่อนที่สองจังหวะ ทำให้เขาเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล[97] สิ่งนี้เป็นผลดีเมื่อเขาอยู่ในกรอบเขตโทษและมีโอกาสในการทำประตูหรือโจมตีกองหลังหรือตัดบอลเข้าใน [99]
ชีวิตส่วนตัว
โฮลันเป็นบุตรของ Alf-Inge Håland อดีตนักฟุตบอลของนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ลีดส์ยูไนเต็ด และแมนเชสเตอร์ซิตี และ Gry Marita Braut อดีตนักสัตตกรีฑาหญิง[100] เขาเกิดที่ลีดส์และสนับสนุนลีดส์ยูไนเต็ด ในบทความสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์นอร์เวย์ Aftenposten เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 โฮลันกล่าวว่าอยากคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกกับลีดส์[101]
โฮลันกล่าวถึงคริสเตียโน โรนัลโด, มิชู, เจมี วาร์ดี และโรบิน ฟัน แปร์ซีเป็นแรงบันดาลใจ และยกให้เฟอร์จิล ฟัน ไดก์กับเซร์ฆิโอ ราโมสเป็นสองกองหลังที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เขาเคยเผชิญหน้าในสนาม[102][103]
สถิติอาชีพ
สโมสร
- ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | ถ้วยหลัก[a] | ถ้วยรอง[b] | ยุโรป | อื่น ๆ | ทั้งหมด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ||
บรีเนอ 2 | 2015[104] | 3. divisjon | 3 | 2 | — | — | — | — | 3 | 2 | ||||
2016[104] | 11 | 16 | — | — | — | — | 11 | 16 | ||||||
รวม | 14 | 18 | — | — | — | — | 14 | 18 | ||||||
บรีเนอ | 2016[104] | 1. divisjon | 16 | 0 | 0 | 0 | — | — | — | 16 | 0 | |||
ม็อลเดอ 2 | 2017[104] | 3. divisjon | 4 | 2 | — | — | — | — | 4 | 2 | ||||
ม็อลเดอ | 2017[104] | เอลีเตอเซเรียน | 14 | 2 | 6 | 2 | — | — | — | 20 | 4 | |||
2018[104] | 25 | 12 | 0 | 0 | — | 5[c] | 4 | — | 30 | 16 | ||||
รวม | 39 | 14 | 6 | 2 | — | 5 | 4 | — | 50 | 20 | ||||
เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค | 2018–19[105] | ออสเตรียนบุนเดิสลีกา | 2 | 1 | 2 | 0 | — | 1[c] | 0 | — | 5 | 1 | ||
2019–20[105] | 14 | 16 | 2 | 4 | — | 6[d] | 8 | — | 22 | 28 | ||||
รวม | 16 | 17 | 4 | 4 | — | 7 | 8 | — | 27 | 29 | ||||
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 2019–20[105] | บุนเดิสลีกา | 15 | 13 | 1 | 1 | — | 2[d] | 2 | — | 18 | 16 | ||
2020–21[105] | 28 | 27 | 4 | 3 | — | 8[d] | 10 | 1[e] | 1 | 41 | 41 | |||
2021–22[105] | 24 | 22 | 2 | 4 | — | 3[d] | 3 | 1[e] | 0 | 30 | 29 | |||
รวม | 67 | 62 | 7 | 8 | — | 13 | 15 | 2 | 1 | 89 | 86 | |||
แมนเชสเตอร์ซิตี | 2022–23[106] | พรีเมียร์ลีก | 35 | 36 | 4 | 3 | 2 | 1 | 11[d] | 12 | 1[f] | 0 | 53 | 52 |
2023–24[107] | 31 | 27 | 3 | 5 | 0 | 0 | 9[d] | 6 | 2[g] | 0 | 45 | 38 | ||
2024–25[108] | 12 | 12 | 0 | 0 | 0 | 0 | 5 | 5 | 1[f] | 0 | 7 | 10 | ||
รวม | 78 | 75 | 7 | 8 | 2 | 1 | 25 | 23 | 4 | 0 | 116 | 107 | ||
รวมทั้งหมด | 234 | 188 | 24 | 22 | 2 | 1 | 50 | 50 | 6 | 1 | 316 | 262 |
- ↑ รวม นอร์เวเจียนคัพ, ออสเตรียนคัพ, เดเอ็ฟเบ-โพคาล, เอฟเอคัพ
- ↑ รวม อีเอฟแอลคัพ
- ↑ 3.0 3.1 ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- ↑ 5.0 5.1 ลงเล่นในเดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ
- ↑ 6.0 6.1 ลงเล่นในเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
- ↑ ลงเล่น 1 นัด ในเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ และลงเล่น 1 นัด ในยูฟ่าซูเปอร์คัพ
ทีมชาติ
- ณ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2024[109]
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
นอร์เวย์ | 2019 | 2 | 0 |
2020 | 5 | 6 | |
2021 | 8 | 6 | |
2022 | 8 | 9 | |
2023 | 6 | 6 | |
2024 | 4 | 4 | |
รวมทั้งหมด | 33 | 31 |
ประตูในนามทีมชาติ
- ณ วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022
ลำดับ | วันที่ | สนาม | คู่แข่ง | ประตู | ผล | รายการแข่งขัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 กันยายน ค.ศ. 2020 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | ออสเตรีย | 1–2 | 1–2 | ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี | [110] |
2 | 7 กันยายน ค.ศ. 2020 | วินด์เซอร์พาร์ก เบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ | ไอร์แลนด์เหนือ | 2–1 | 5–1 | ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี | [111] |
3 | 5–1 | ||||||
4 | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2020 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | โรมาเนีย | 1–0 | 4–0 | ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี | [112] |
5 | 3–0 | ||||||
6 | 4–0 | ||||||
7 | 2 มิถุนายน ค.ศ. 2021 | สนามกีฬาลาโรซาเลดา, มาลากา, ประเทศสเปน | ลักเซมเบิร์ก | 1–0 | 1–0 | กระชับมิตร | [113] |
8 | 1 กันยายน ค.ศ. 2021 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | เนเธอร์แลนด์ | 1–0 | 1–1 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก | [114] |
9 | 4 กันยายน ค.ศ. 2021 | สนามกีฬาเดากาวา, รีกา, ประเทศลัตเวีย | ลัตเวีย | 1–0 | 2–0 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก | [115] |
10 | 7 กันยายน ค.ศ. 2021 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | ยิบรอลตาร์ | 2–0 | 5–1 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก | [116] |
11 | 3–0 | ||||||
12 | 5–1 | ||||||
13 | 25 มีนาคม ค.ศ. 2022 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | สโลวาเกีย | 1–0 | 2–0 | กระชับมิตร | [117] |
14 | 29 มีนาคม ค.ศ. 2022 | Ullevaal Stadion, ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ | อาร์มีเนีย | 1–0 | 9–0 | กระชับมิตร | [118] |
15 | 5–0 |
เกียรติประวัติ
- ออสเตรียนบุนเดิสลีกา: 2018–19, 2019–20[105]
- ออสเตรียนคัพ: 2018–19[105]
- พรีเมียร์ลีก: 2022–23, 2023–24[120]
- เอฟเอคัพ: 2022–23[121]; รองชนะเลิศ: 2023–24[122]
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2022–23[123]
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ: 2023[124]
นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 17 ปี
- ไซเรงกาคัพ: 2016[125]
รางวัลส่วนตัว
- ผู้หน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีของเอลีเตอเซเรียน: 2018[27]
- นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของออสเตรีย: 2019[126]
- รองเท้าทองคำ ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี: 2019[94]
- ทีมผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2019[127]
- ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของบุนเดิสลีกา: 2020–21[128]
- ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนของบุนเดิสลีกา: มกราคม 2020, พฤศจิกายน 2020,[129][130] เมษายน 2021[131]
- ผู้หน้าใหม่ยอดเยี่ยมประจำเดือนของบุนเดิสลีกา: มกราคม 2020, กุมภาพันธ์ 2020[132]
- ทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของบุนเดิสลีกา: 2020–21[133]
- ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของยูโรเปียนสปอร์ตสแม็กกาซีนส์: 2019–20[134]
- โกลเดนบอย: 2020[135]
- FIFA FIFPro World11: 2020 (กองหน้าตัวที่ 4)[136]
- Gullballen: 2020[137]
- Kniksen's honour award: 2020[138]
- ผู้ทำประตูสูงสุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2020–21[139]
- ทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2020–21[140]
- ทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก: 2022–23
- นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ: 2022–23
- ถ้วยรางวัลแกร์ท มึลเลอร์: 2023[141]
- โกลบ ซอคเกอร์ อวอร์ดส์: 2023
- นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีโดยนิตยสารเวิลด์ซอคเกอร์ (World Soccer): 2023
- ลอริอุสเวิลด์สปอตส์อะวอดส์ สาขานักกีฬาชายยอดเยี่ยมแห่งปี: 2024( ได้รับการเสนอชื่อ)
อ้างอิง
- ↑ "Derfor byttet han fra Håland til Haaland" [The reason he changed from Håland to Haaland]. Dagbladet (ภาษานอร์เวย์). 19 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "FIFA U-20 World Cup Poland 2019: List of Players: Norway" (PDF). FIFA. 13 June 2019. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 February 2020.
- ↑ "Erling Haaland: Overview". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
- ↑ "Erling Haaland". Borussia Dortmund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
- ↑ "Is Erling Haaland the best striker in the world?". Optus Sport. 25 November 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
- ↑ 6.0 6.1 "Servus in Salzburg Erling Halend" (ภาษาเยอรมัน). FC Red Bull Salzburg. 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "Haaland ballert sich zum Rekord" (ภาษาเยอรมัน). Sport1. 5 November 2019.
- ↑ 8.0 8.1 "Her er Norges landslagstropp mot Malta og Sverige" (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Federation. 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
- ↑ Cross, Beren (9 July 2018). "Wonderkid Haaland would pick Leeds United over Man Utd every time". Leeds Live. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019.
Erling Braut Haaland was born in Leeds in July 2000, a short time after his father, Alf-Inge, departed Elland Road for Manchester City after three years in West Yorkshire.
- ↑ Hansen, Ole Jonny Eriksrud (29 November 2018). "Erling Braut Haaland: - Har sagt til meg selv at jeg vil bli verdens beste spiller". Nettavisen (ภาษานอร์เวย์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
- ↑ Rose, Gary (2 October 2019). "Erling Braut Haaland: Is Red Bull Salzburg striker really 'the next Zlatan Ibrahimovic'?". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
- ↑ Godø, Øyvind (30 January 2020). "Slik ble Erling Braut Haaland en av heteste fotballspillere - Han kunne ikke løpe skikkelig". www.dagbladet.no. Dagbladet. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ 13.0 13.1 "Erling Haaland's journey: from Bryne to Borussia Dortmund". www.bundesliga.com. Bundesliga. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 König, Nicklas; Schmeckel, Maximilian. "Behind Haaland's Unstoppable Rise". www.goal.com. GOAL. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ 15.0 15.1 "In Profile: Erling Braut Håland". FOTBALLBEN. 13 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
- ↑ "Rødt kort og tap da Håland debuterte". Jærbladet (ภาษานอร์เวย์). 12 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
- ↑ "HÅLAND KLAR FOR MOLDE FK" (ภาษานอร์เวย์). Molde FK. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
- ↑ "Solskjær hyller stortalentet Erling Braut Håland (17): – Ekkel å spille mot" [Solskjær praises huge talent Erling Braut Håland (17): – Hard to play against]. Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 6 August 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
- ↑ "Alfies sønn (16) fikk Molde-debut: Gult kort etter 65 sekunder" [Alfie's son (16) got his Molde debut: Yellow card after 65 seconds]. Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
- ↑ Ould-Saada, Arilas Berg (18 September 2017). "Molde-helten (17) refses av lagkamerat: – Det får han ikke gjøre igjen". Verdens Gang.
- ↑ "alyomfotball.no: Erling Braut Haaland - Tipico Bundesliga". alt om fotball. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ Hansen, Jonathan Simchai (1 July 2018). "Haaland (17) herjet foran Manchester United-speider – scoret fire mål". NRK.
- ↑ "Manchester United scout watches wonderkid Erling Haaland score FOUR goals" [Manchester United scout watches wonderkid Erling Haaland score FOUR goals]. Manchester Evening News. 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ "LEKESTUE!" [LEKESTUE!]. Molde FK. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Håland-scoring da Molde dominerte mot albanske Laci". Eurosport. 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
- ↑ Ould-Saada, Arilas Berg (1 November 2018). "Skadet Håland trolig ferdigspilt i Molde". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์).
- ↑ 27.0 27.1 "Alle vinnerne på fotballfesten". eliteserien.no (ภาษานอร์เวย์). Eliteserien. 25 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
- ↑ "Erling Braut Haaland: - Har sagt til meg selv at jeg vil bli verdens beste spiller" [Erling Braut Haaland: - Told myself I want to become the world's best player] (ภาษานอร์เวย์). Nettavisen. 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ "Phil Hay says Leeds United attempted to sign Erling Haaland last year". Sportslens.com. 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ "Parndorf vs. Salzburg 1–7". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
- ↑ "Salzburg vs. Wolfsberger AC 5–2". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
- ↑ "Salzburg vs. Hartberg 7–2". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
- ↑ "Champions League roundup: Håland makes history in Salzburg romp as Barça are held". The Guardian. 17 September 2019.
- ↑ 34.0 34.1 "Salzburg's Haaland matches Drogba's Champions League record". Goal.com. 24 October 2019.
- ↑ "Erling Haaland makes Champions League history". Diario AS. 27 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
- ↑ "Genk 1–4 Red Bull Salzburg: Erling Braut Haaland breaks more scoring records". BBC Sport. 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "BVB verplichtet Erling Haaland" (ภาษาเยอรมัน). Borussia Dortmund. 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
- ↑ "Erling Braut Haaland: Borussia Dortmund sign striker from Red Bull Salzburg". BBC Sport. 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 31 December 2019.
- ↑ "FC Augsburg 3–5 Borussia Dortmund: Erling Braut Haaland scores hat-trick on debut". BBC Sport. 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
- ↑ Grez, Matias (18 January 2020). "Teen sensation Erling Braut Håland scores debut hat-trick to save Borussia Dortmund". CNN. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
- ↑ "Haaland glänzt auch beim Heimdebüt: BVB schießt Köln ab". kicker (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
- ↑ "Haaland's Bundesliga record – five goals in 56 minutes". Borussia Dortmund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
- ↑ Dawkes, Phil (18 February 2020). "Borussia Dortmund 2–1 Paris St-Germain: Erling Braut Haaland scores twice". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ "Dortmund's Haaland scores Bundesliga's first goal upon league's return". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
- ↑ "Haaland goals secure Bundesliga runner-up spot for Dortmund". AP NEWS. 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
- ↑ "Erling Haaland: Manchester City agree to sign Norway striker from Borussia Dortmund for £51.2m". BBC Sport. 10 May 2022. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
- ↑ "City Complete Haaland Transfer". Manchester City. 13 June 2022.
- ↑ "BREAKING: Darwin Nunez silences his doubters as Erling Haaland misses sitter in Community Shield". GiveMeSport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-07-30.
- ↑ "Erling Haaland 'born to score goals', says Pep Guardiola after City victory". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-07.
- ↑ "Erling Haaland scores perfect hat-trick against Nottingham Forest". SkySports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Haaland scores hat-trick as Manchester City hit Nottingham Forest for six". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-31.
- ↑ "Haaland scores twice as Man City thrash Sevilla". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
- ↑ "Haaland, Man City off to a flying start in Champions League with big win over Sevilla". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-06.
- ↑ "Haaland voted August EA SPORTS Player of the Month". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Gastelum, Andrew. "Erling Haaland Nets Hat Trick in First Manchester Derby". Sports Illustrated (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Premier League records beware: Erling Haaland has landed". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-06.
- ↑ "'Hungry' Haaland driven by World Cup absence". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
- ↑ "Record-breaking Haaland hits five in City rout". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-03-14.
- ↑ "Manchester City vs. RB Leipzig - Football Match Report - March 14, 2023 - ESPN". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Man City hammer Arsenal to move two points off top". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "Haaland wins EA SPORTS Player of the Month award". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Jackson, Jamie (2023-05-12). "Haaland and Kerr win Football Writers' Association player of the year awards". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "Haaland wins FWA award by biggest margin ever". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-05-12.
- ↑ Unwin, Will (2023-05-20). "Manchester City win Premier League title for fifth time in six seasons". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "European Sports Magazines". www.eusm.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "Haaland claims 2022/23 Golden Boot". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Man City beat Man Utd to win cup with Gundogan double". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "The big numbers behind Manchester City's Treble". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ UEFA.com (2023-06-09). "Champions League top scorers 2022/23: Erling Haaland finishes top | UEFA Champions League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "UCL Final Stats: Haaland joins Messi, Ronaldo as Guardiola and Man City create history". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-11.
- ↑ UEFA.com (2023-08-31). "Erling Haaland wins UEFA Men's Player of the Year award | UEFA Champions League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Haaland scores twice as Man City beat Burnley". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ Jackson, Jamie (2023-08-16). "Manchester City secure Uefa Super Cup with shootout win over Sevilla". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ "Haaland makes more Premier League history". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ballon d'Or 2023: 'It's what I'm good at' - Erling Haaland on 'his job' to score after picking up award". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-30.
- ↑ "Haaland makes history - but Man City miss record bid". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-02.
- ↑ "Haaland to return for Man City after nearly 2 months out with foot injury". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-30.
- ↑ "Erling Haaland sets another record! Man City superstar completes Premier League feat only previously accomplished by Harry Kane following Brentford winner | Goal.com United Arab Emirates". www.goal.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-20.
- ↑ "Haaland scores five as Man City thrash Luton". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-03-01.
- ↑ Bray, Joe (2024-05-04). "Man City vs Wolves live highlights as Haaland hits four". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Haaland double takes Man City top ahead of final day". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.skysports.com/football/news/11661/13200584/man-city-4-1-ipswich-town-erling-haaland-hat-trick-puts-town-to-the-sword
- ↑ Ibarra, Diego Mayel; Roche, Calum (2024-08-31). "How many hat-tricks has Haaland scored in the Premier League? Where is he on all-time list?". AS USA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Jackson, Jamie (2024-09-14). "Erling Haaland double sinks Brentford after Yoane Wissa jolts Manchester City". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-09-16.
- ↑ "Haaland nets 100th City goal, ties Ronaldo record". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-22.
- ↑ "Erling Haaland career goals, Premier League records, stats, 2024-25 season video highlights". NBC Sports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-09.
- ↑ "UEFA European Under-19 Championship". UEFA. 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
- ↑ "Scotland U19s miss out on Euro 2019 qualification after incredible defeat to Norway". Daily Record. 27 March 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
- ↑ "Kean fires Italy level after Håland's penalty". UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 July 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
- ↑ "Erling Braut Haaland: Norway player scores nine goals in U20 World Cup win". BBC Sport. 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 28 August 2019.
- ↑ "Nine-goal Haland and Norway make history". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 30 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 31 May 2019.
- ↑ "Erling Braut Håland breaks U-20 World Cup record with nine goals in one match". The Guardian. 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
- ↑ "FIFA U-20 World Cup 2019: Erling Haaland scores record triple hat-trick as Norway thrash Honduras 12–0". Fox Sports Asia. 31 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 31 May 2019.
- ↑ 94.0 94.1 "Lee, Lunin headline award winners at Poland 2019". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 15 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
- ↑ "Norway 1–2 Austria". UEFA. 4 September 2020.
- ↑ Atkinson, Guy (7 September 2020). "Northern Ireland 1-5 Norway: Two-goal Haaland stars in emphatic win". goal.com. สืบค้นเมื่อ 8 September 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 97.0 97.1 97.2 97.3 97.4 97.5 97.6 97.7 "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
- ↑ "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
- ↑ "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
- ↑ "Molde starlet Erling Braut Haland wants to follow father Alf-Inge and play for Leeds United". Talksport. 10 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-04. สืบค้นเมื่อ 3 January 2018.
- ↑ "Vraket utlandet for å spille under Solskjær". Aftenposten (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
- ↑ "Erling Braut Haaland has an unusual footballing hero in ex-Swansea star Michu". BBC Sport. 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
- ↑ "Erling Haaland: Borussia Dortmund striker on Jamie Vardy inspiration, Flow Kingz reunion and more". Sky Sports. 27 Jan 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
- ↑ 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 104.5 "Erling Braut Haaland: Klubbstatistikk" [Erling Braut Haaland: Club statistics] (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
- ↑ 105.0 105.1 105.2 105.3 105.4 105.5 105.6 "E. Haaland: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
- ↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2022/2023". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 7 August 2022.
- ↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2023/2024". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 25 May 2024.
- ↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2024/2025". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 24 August 2024.
- ↑ "Erling Håland". National Football Teams. Benjamin Strack-Zimmermann. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022.
- ↑ "Norway vs. Austria 1–2: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Northern Ireland vs. Norway 1–5: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Romania 4–0: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Luxembourg 1–0: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Netherlands 1–1: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Latvia vs. Norway 0–2: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Gibraltar 5–1: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Slovakia 2–0: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "Norway vs. Armenia 9–0: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ "DFB-Pokal 2020/21, Finale in Berlin: RB Leipzig 1:4 Borussia Dortmund: Takt. aufstellung" [DFB-Pokal 2020/21, Final in Berlin: RB Leipzig 1:4 Borussia Dortmund: Tactical lineup]. kicker (ภาษาเยอรมัน). Olympia-Verlag. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
- ↑ "Erling Haaland Manchester City Forward, Profile & Stats | Premier League". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Manchester City 2-1 Manchester United: Ilkay Gundogan double settles 2023 FA Cup final". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27.
- ↑ "FA Cup Final 2024 LIVE: Watch Man City vs Man Utd stream plus score, line-ups, commentary & latest updates from Wembley". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Man City beat Inter Milan 1-0 in Champions League final to claim Treble". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27.
- ↑ "Manchester City 1-1 Sevilla: Pep Guardiola's side win Super Cup on penalties". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27.
- ↑ "G16: Historisk finaleseier". fotball.no (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Association. 3 September 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
- ↑ "Erling Haaland ist Österreichs Fußballer des Jahres" (ภาษาเยอรมัน). Sky Sport Austria. 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
- ↑ "Champions League breakthrough team of 2019". UEFA. 30 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
- ↑ "BVB: Erling Haaland zum Spieler der Saison in der Bundesliga gekürt". Goal.com (ภาษาเยอรมัน). 25 May 2021.
- ↑ "Bundesliga Player of the Month". Bundesliga. สืบค้นเมื่อ 14 February 2020.
- ↑ "Erling Haaland named Bundesliga Player of the Month for November". BuliNews.com. 18 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
- ↑ "Erling Haaland named April Player of the Month!". Bundesliga. 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
- ↑ "Bundesliga Rookie Award". Bundesliga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-03. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "The 2020/21 Bundesliga Team of the Season!". Bundesliga. 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
- ↑ "ESM reveal Team of the Year for 2019/20". Marca. 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ "Erling Haaland beats Sancho, Ansu Fati to the 2020 Golden Boy award". futaa. 21 November 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2020. สืบค้นเมื่อ 21 November 2020.
- ↑ "THE FIFA FIFPRO MEN'S WORLD 11 OF 2019-2020". FIFPro World Players' Union. 17 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
- ↑ "Erling Braut Haaland ha sido galardonado con el Balón de Oro noruego 2020" (ภาษาสเปน). AS. 20 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
- ↑ "Kniksens hederspris til Erling Braut Haaland" (ภาษานอร์เวย์). NFF. 23 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2020. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
- ↑ "Champions League top scorer: Haaland finishes out in front". UEFA. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.
- ↑ "UEFA Champions League Squad of the Season". UEFA. 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ "Ballon d'Or 2023 : Erling Haaland (Manchester City) remporte le Trophée Gerd Müller". L'Équipe (ภาษาฝรั่งเศส).
แหล่งข้อมูลอื่น
- Profile at the Borussia Dortmund website
- อาลิง โฮลัน ที่เว็บไซต์สหพันธ์ฟุตบอลนอร์เวย์ (ในภาษานอร์เวย์)
- อาลิง โฮลัน – สถิติการลงแข่งจากสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (UEFA) (อังกฤษ)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2543
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวนอร์เวย์
- นักฟุตบอลทีมชาตินอร์เวย์
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
- ผู้เล่นโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
- ผู้เล่นในบุนเดิสลีกา
- ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก
- กองหน้าฟุตบอล
- ผู้เล่นในออสเตรียนฟุตบอลบุนเดิสลีกา
- ผู้เล่นในเอลีเตอเซเรียน
- บุคคลจากลีดส์
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก