ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

Народна република България
พ.ศ. 2489พ.ศ. 2533
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1971–1990)ของบัลแกเรีย
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1971–1990)
เพลงชาติShumi Maritsa  (พ.ศ. 2489–2490)
Шуми Марица  (บัลแกเรีย)
Maritsa Rushes  (คำแปล)
Republiko nasha, zdravey[1]  (พ.ศ. 2490–2493)
Републико наша, здравей!  (บัลแกเรีย)
สาธารณรัฐของเรา จงเจริญ!  (คำแปล)
Balgariyo mila, zemya na geroi[2]  (พ.ศ. 2493–2507)
Българийо мила, земя на герои  (บัลแกเรีย)
มาตุภูมิที่รัก ดินแดนแห่งวีชน  (คำแปล)
Mila Rodino  (พ.ศ. 2507–2533)
Мила Родино  (บัลแกเรีย)
มาตุภูมิที่รัก  (คำแปล)
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
สถานะรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต
เมืองหลวง โซเฟีย
42°41′N 23°19′E / 42.683°N 23.317°E / 42.683; 23.317
ภาษาทั่วไปภาษาบัลแกเรีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1946–1947)
รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1947–1950)
รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์–เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1950–1989)
รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ (1989–1990)
เลขาธิการพรรค 
• 1948–1949
แกออร์กี ดีมีตรอฟ
• 1949–1954
Valko Chervenkov
• 1954–1989
ตอดอร์ ซีฟกอฟ
• 1989–1990
Petar Mladenov
ประธานาธิบดี 
• 1946–1947
(คนแรก)
Vasil Kolarov
• 1989–1990
(คนสุดท้าย)
Petar Mladenov
นายกรัฐมนตรี 
• 1946–1949
(คนแรก)
แกออร์กี ดีมีตรอฟ
• 1990
(คนสุดท้าย)
อังเดรย์ ลูคานอฟ
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติบัลแกเรีย
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• ก่อตั้ง
15 กันยายน พ.ศ. 2489
• สิ้นสุด
พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
พื้นที่
1946110,994 ตารางกิโลเมตร (42,855 ตารางไมล์)
1989110,994 ตารางกิโลเมตร (42,855 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1946
7029349
• 1989
9009018
สกุลเงินเลฟ (BGN)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
สาธารณรัฐบัลแกเรีย

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Народна република България Narodna republika Balgariya) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของ ประเทศบัลแกเรีย เมื่อยังเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยม

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรียดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 ถึง ค.ศ. 1990 และถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย ซึ่งต่อมาได้ปกครองร่วมกับพันธมิตรคือสหภาพเกษตรกรรมชาติบัลแกเรีย บัลแกเรียเป็นสมาชิกของคอมิคอน และกติกาสัญญาวอร์ซอ และเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น กลุ่มขบวนการต่อต้านได้โค่นล้มและปกครองราชอาณาจักรบัลแกเรียในช่วงรัฐประหารบัลแกเรีย ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะและนำไปสู่สาธารณรัฐประชาชนใน ค.ศ. 1946

พรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรียจำลองนโยบายของตนหลังจากสหภาพโซเวียตเปลี่ยนประเทศในช่วงทศวรรษจากสังคมชาวนาเกษตรกรรมกลายเป็นสังคมแบบสังคมนิยมอุตสาหกรรม ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 และหลังจากการอสัญกรรมของสตาลิน พวกหัวอนุรักษ์นิยมได้สูญเสียอิทธิพลและเป็นช่วงระยะเวลาของการเปิดเสรีทางสังคมและความมั่นคงภายใด้การปกครองของตอดอร์ ซีฟกอฟ หลังจากที่มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการขนส่งขึ้นมาใหม่การผลิตใน ค.ศ. 1960 ทำให้กลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและบัลแกเรียได้กลายเป็นผู้ส่งออกเครื่องใช้ในครัวเรือนรายใหญ่และต่อมาได้ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้บัลแกเรียได้รับฉายาว่า "ซิลิคอนแวลลีย์แห่งกลุ่มตะวันออก" ระดับการผลิตที่ค่อนข้างสูงของประเทศและคะแนนสูงในการจัดอันดับการพัฒนาทางสังคมทำให้เป็นแบบอย่างสำหรับนโยบายการบริหารของประเทศสังคมนิยมอื่น ๆ

ใน ค.ศ. 1989 หลังจากไม่กี่ปีของอิทธิพลเสรีนิยมการปฏิรูปการเมืองได้ริเริ่มขึ้น ตอดอร์ ซีฟกอฟผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคตั้งแต่ ค.ศ. 1954 ถูกปลดออกจากตำแหน่งในสภาคองเกรสของพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย ใน ค.ศ. 1990 ภายใต้การนำของ แกออร์กี ปราวานอฟ พรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรียได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (BSP) และได้นำแนวคิดทางการเมืองแบบกึ่งกลางซ้ายมาแทนที่ลัทธิมากซ์-เลนิน หลังจากชัยชนะของพรรคสังคมนิยมบัลแกเรียในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1990 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเลือกตั้งหลายพรรคต่อเนื่องนับตั้งแต่ค.ศ. 1931 ชื่อของรัฐก็เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐบัลแกเรีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Republiko nasha, zdravey" (ภาษาอังกฤษ). nationalanthems.info. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
  2. "Balgariyo mila, zemya na geroi" (ภาษาอังกฤษ). nationalanthems.info. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]