ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับ
อักษรคูนิฟอร์ม
อักษรคูนิฟอร์ม

ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วยการค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสำคัญ เพราะเสมือนเป็นการให้ "มุมมอง" แก่ปัญหาในปัจจุบัน นักปราชญ์ จอร์จ ซานตายานา ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้จะถูกลงโทษให้ซ้ำรอยมัน"

การศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์มักเริ่มตั้งแต่ชาวสุเมเรียนคิดค้นอักษรคูนิฟอร์ม (ในภาพ) เมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสตศักราช จากนั้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็ปรากฏหลักฐานเรื่อยมา ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวีรกรรม ราชวงศ์ ความเจริญและความเสื่อม หรือจะเป็นโศกนาฏกรรม เช่น การพิชิตสามทวีปของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช, วิถีชีวิตแห่งยุคกลาง ซึ่งประกอบด้วยเจ้า ข้าและอัศวิน, การปฏิวัติฝรั่งเศสอันนำมาซึ่งความเจริญของสาธารณรัฐทั้งหลาย หรือสงครามโลกครั้งที่สองที่ปรากฏความรุนแรงอย่างที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน

ฉะนั้น เราจึงควรศึกษาประวัติศาสตร์ไว้เป็นบทเรียนและอุทาหรณ์ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างหรือหลีกเลี่ยง หรืออาจกล่าวได้ว่า เพื่อมิให้ "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย"

สุ่มตัวเลือกอื่น
แก้ไข   

บทความที่คุณสุ่มได้


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ออกหมายกำหนดการ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ระหว่าง วันพฤหัสบดีที่ ๘ ถึง วันอังคารที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยวันแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เนื่องในวโรกาส ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา ๑๗.๐๐ น. อ่านต่อ...

แก้ไข   

รู้หรือไม่ที่คุณสุ่มได้

  • ...ไฟไหม้กรุงลอนดอนครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2209 ทำลายเศษสามส่วนสี่ ของกรุงลอนดอนจนย่อยยับ สิ่งก่อสร้างหลายอย่างต้องทำการก่อสร้างใหม่หมด
  • ...แมกนาร์คาตา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
  • ...สะพานลอนดอนถูกทำลาย/สร้าง ถึง 7 ครั้งด้วยกัน
  • แก้ไข   

    ปริศนาประวัติศาสตร์

    หากคุณตอบคำถามของเราได้ทุกข้อ เราขอปรบมือให้ :

    พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดทรงโปรดให้สร้างหอนาฬิกาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น และหอนาฬิกานั้นถูกสร้างก่อนหอนาฬิกาบิกเบนกี่ปี

    เรือไททานิกจมลง ก่อน หรือ หลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก และ เหตุการณ์นั้นเกิด ก่อน หรือ หลัง ที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก กี่ปี

    ปีอะไรสองปีที่เป็นปีที่นับได้ว่าเป็นหายนะของลอนดอนและเพราะเหตุใด
    แก้ไข   

    ภาพที่คุณสุ่มได้


    ภาพถ่ายปงต์ดูการ์ดที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นท่อน้ำที่ใช้ขนส่งน้ำของชาวโรมันโบราณ

    แก้ไข   

    ดัชนีช่วยค้นหา

    WP:FA บทความคัดสรร

    WP:GA บทความคุณภาพ

    วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ/บทความที่เคยถูกเสนอชื่อ บทความที่เคยถูกเสนอชื่อเป็นบทความคุณภาพ

    แก้ไข   

    คุณทำได้

    นี่คือส่วนหนึ่งที่คุณทำได้

    หรือดูรายละเอียดที่ สารานุกรมประวัติศาสตร์

    เจ้าฟ้ามหานคร กิตติชยกร ราชสำนักหลวง

    แก้ไข   

    ตอบข้อสงสัย

    คำถาม : ประวัติศาสตร์ อ่านอย่างไรจึงจะถูกกันแน่ ?
    คำตอบ : คำว่า ประวัติศาสตร์ เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า ประวัติ และคำว่า ศาสตร์ ตามกฎของคำสมาสแล้ว สระอิบนต.เต่า จะต้องออกเสียงด้วย ดังเห็นได้จากคำว่า เกียรติภูมิ อ่านว่า เกียด-ติ-พูม ไม่ใช่ เกียด-พูม คำว่า อุบัตเหตุ อ่านว่า อุ-บัด-ติ-เหด ไม่ใช่ อุ-บัด-เหด ฉันใดก็ฉันนั้น คำว่า ประวัติศาสตร์จึงควรอ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด ตามหลักภาษาไทย แต่ต่อมาได้มีการอนุโลมให้อ่านว่า ประ-หวัด-สาด ได้

    ในโอกาสต่อ ๆ ไป หากมีคำถามไหนน่าสนใจ จะถูกนำขึ้นมาแสดงไว้ ณ ที่นี้

    แก้ไข   

    วันนี้ในอดีต


    22 ธันวาคม: วันแม่ในอินโดนีเซีย

    ดูเพิ่ม: 21 ธันวาคม22 ธันวาคม23 ธันวาคม

    << ธันวาคม >>
    อา พฤ
                 
    1 2 3 4 5 6 7
    8 9 10 11 12 13 14
    15 16 17 18 19 20 21
    22 23 24 25 26 27 28
    29 30 31          
    พ.ศ. 2567


    หมวดหมู่


    โครงการวิกิมีเดียที่เกี่ยวข้อง
    ประวัติศาสตร์บนวิกิคำคม
    คำคม สุภาษิต
    ประวัติศาสตร์บนวิกิคอมมอนส์
    รูปภาพ
    ประวัติศาสตร์บนวิกิซอร์ซ
    เอกสารต้นฉบับ
    ประวัติศาสตร์บนวิกิตำรา
    ตำราและคู่มือ


    สถานีย่อย
    สถานีย่อย :


    อะไรคือสถานีย่อย ?