วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์
หน้าตา
วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์ | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | พุทธ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 288 ถนนเซาท์บริดจ์ ประเทศสิงคโปร์ 058840 |
ประเทศ | สิงคโปร์ |
สถาปัตยกรรม | |
เสร็จสมบูรณ์ | พ.ศ. 2550[1] |
เว็บไซต์ | |
วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์ |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์ (จีน: 新加坡佛牙寺龍華院) เป็นวัดพุทธและพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในย่านไชนาทาวน์ของประเทศสิงคโปร์ ภิกษุและศาสนิกชนของวัดนับถือศาสนาพุทธแบบจีน
ภาพรวม
[แก้]วัดพระเขี้ยวแก้วสร้างโดยอิงจากรูปแบบสถาปัตยกรรมศาสนาพุทธแบบจีนของราชวงศ์ถัง (บางห้องได้รับอิทธิพลเล็กน้อยจากสถาปัตยกรรมศาสนาพุทธแบบทิเบต) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วของพระโคตมพุทธเจ้า กล่าวกันว่าพระเขี้ยวแก้วที่เป็นที่มาของชื่อวัดถูกพบในสถูปที่พังทลายลง[2] ขนาดของพระเขี้ยวแก้ววัดได้ 7.5 เซนติเมตรซึ่งยาวกว่าฟันของมนุษย์โดยทั่วไป[3] บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมพระเขี้ยวแก้วที่ชั้น 4 ของวัด
ที่ชั้นใต้ดินของวัดมีโรงละครและโถงรับประทานอาหารอาหารเจที่บริการฟรี แม้จะรับเงินบริจาค
คลังภาพ
[แก้]-
วัดพระเขี้ยวแก้ว มุมมองจากถนนเซาท์บริดจ์
-
ด้านข้างของวัด มุมมองจากลานจอดรถ
-
ภายในโถงร้อยมังกร ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรยประทับนั่ง ขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์สององค์
-
ภิกษุและภิกษุณีสวดมนต์ในวัด โดยมีฆราวาสนั่งอยู่ด้านหลังในโถงร้อยมังกร
-
ด้านหลังวัด
-
หลังคาวัดพระเขี้ยวแก้ว
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The History of the Buddha Tooth Relic Temple & Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-05-04.
- ↑ "Origin of BTRTM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
- ↑ Wei, Tan Dawn; Toh, Mavis. "Is Buddha tooth in Singapore the real McCoy?". The Buddhist Channel. The Straits Times, July 20, 2007. สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์