จินตามณีจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จินตามณีจักร
พระจินตามณีจักร สร้างปี 1275 สมัยคามากุระ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สันสกฤตचिन्तामणिचक्र
(IAST) Cintāmaṇicakra
จีน(ดั้งเดิม)
如意輪觀音(菩薩)
(แบบย่อ)
如意轮观音(菩萨)
(Pinyin: Rúyìlún Guānyīn (Púsà))
ญี่ปุ่น如意輪観音(菩薩)にょいりんかんのんぼさつ
(romaji: Nyoirin Kannon (Bosatsu))
เกาหลี여의륜관음(보살)
(RR: Yeouiryun Gwaneum (Bosal))
ทิเบตཡིད་བཞིན་འཁོར་ལོ་
Wylie: Yid bzhin 'khor lo
THL: Yizhin Khorlo
เวียดนามNhư Ý Luân Quán Âm Bồ Tát
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

จินตามณีจักร (สันสกฤต: चिन्तामणिचक्र, Cintāmaṇicakra) หรือ หรูยี่หลุนกวนอิม (จีนตัวย่อ: 如意轮观音; จีนตัวเต็ม: 如意輪觀音; พินอิน: Rúyìlún Guānyīn; ญี่ปุ่น: 如意輪観音โรมาจิNyoirin Kannon) เป็นพระโพธิสัตว์ และภาคอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระจินตามณีจักรถือว่าเป็นหนึ่งในหกอวตารของกวนอิม ซึ่งคือกวนอิมหกอวตารที่ช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตในหกภพภูมิให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ พระจินตามณีจักรถือเป็นผู้ช่วยเหลือในภพภูมิเทพ[1]

ประติมานวิทยา[แก้]

ในรูปปางหกกร พระจินตามณีจักรมักแสดงในรูปทรงมงกุฏที่มีภาพของพระอมิตาภพุทธเจ้า ประทับนั่งด้วยท่ามหาราชลีลาสน์ หรือท่าประทับนั่งอย่างมหาราช ประทับนั่งบนดอกบัว ซึ่งอยู่บนหินที่พ้นมหาสุมทรขึ้นมา อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาปู่เต๋าเล่าเจีย วิมานในตำนานของพระอวโลกิเตศวร[2][3] หัตถ์ขวาแรกสัมผัสพักตร์ และประกอบมุทรา, หัตถ์ขวาต่อมาทรงถือ แก้วจินตามณี, หัตถ์ขวาที่สามทรงถือลูกประคำ หัตถ์ซ้ายแรกสัมผัสหินซึ่งประทับนั่งอยู่, หัตถ์ซ้ายที่สองทรงถือดอกบัวปัทมะ และหัตถ์ซ้ายสุดท้ายทรงถือธรรมจักร[4]

ในรูปปางแบบสองกรจะไม่ได้ทรงถือแก้วจินตามณี และอาจประทับนั่งไขว่ห้าง ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับพระพุทธรูปของพระศรีอาริยเมตไตรยที่วัดชูงูจิในจังหวัดนารา ซึ่งเป็นที่บูชากันว่าเป็นพระจินตามณีจักร[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "六観音 七観音 八大観音". Flying Deity Tobifudō (Ryūkō-zan Shōbō-in Official Website). สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  2. "A Late Tang Dynasty Sculpture Bought at a Missouri Garage Sale for Less Than $100 Just Sold for $2.1 Million". artnet. 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.
  3. Chutiwongs, Nandana (1994). "An aspect of the Bodhisattva Avalokiteśvara in Ancient Indonesia". ใน Klokke, Marijke J.; Lunsingh Scheurleer, Pauline (บ.ก.). Ancient Indonesian Sculpture. KITLV Press. pp. 102–103. ISBN 9789067180764.[ลิงก์เสีย]
  4. Epprecht, Katharina (2007). Kannon: Divine Compassion: Early Buddhist Art from Japan. Museum Rietberg. p. 37. ISBN 978-3-9070-7729-0.
  5. "Nyoirin Kannon 如意輪観音". JAANUS. 2001. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
  6. "本尊 国宝 菩薩半跏像(伝如意輪観音)". Shōtoku-shū Chūgū-ji Official Website. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.