ภาษามณีปุระพิษณุปุระ
ภาษามณีปุระพิษณุปุระ | |
---|---|
বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী | |
ภูมิภาค | ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและบังกลาเทศ |
ชาติพันธุ์ | ชาวมณีปุระพิษณุปุระ |
จำนวนผู้พูด | 120,000 (2001–2003)Census of India 2001 |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ระบบการเขียน | อักษรเบงกอล-อัสสัม[1][2] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | bpy |
ภาษามณีปุระพิษณุปุระ (বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังกลาเทศ และพม่าต่างจากภาษามณีปุระหรือภาษาไมไตที่เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า
ประวัติและพัฒนาการ
[แก้]ภาษามณีปุระพิษณุปุระมีผู้พูดในบางส่วนของรัฐอัสสัม ตรีปุระและมณีปุระในอินเดีย เช่นเดียวกับในบังกลาเทศ พม่า และประเทศอื่น ๆ ภาษานี้ต่างจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ เช่น ภาษาเบงกอล ภาษาโอริยา ภาษาอัสสัม โดยภาษานี้มีถิ่นกำเนิดและพัฒนาขึ้นในรัฐมณีปุระ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกรอบ ๆ ทะเลสาบโลกตัก หลักฐานรุ่นแรก ๆ ที่กล่าวถึงภาษานี้เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ 23 ชื่อ ขุมัล ปุรณะ เขียนโดยบัณฑิต นวเขนทรา ศรมะ หลักฐานอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าภาษานี้เกิดในรัฐมณีปุระก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 G.A. Grierson เรียกภาษานี้ว่า ภาษามณีปุระพิษณุปุระ แต่บางคนเรียกเพียงภาษาพิษณุปุระ
ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่ย้ายออกจากรัฐมณีปุระเข้าสู่รัฐอัสสัม ตรีปุระ สิลเหติ และจาชัร ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 เนื่องจากความขัดแย้งภายในระหว่างเจ้าชายในมณีปุระและการรุกรานของพม่า เป็นการยากที่ผู้พูดภาษามณีปุระพิษณุปุระจะรักษาภาษาของตนไว้ ภายใต้อิทธิพลของภาษาไมไต
แม้ว่าใน พ.ศ. 2434 Grierson พบผู้พูดภาษานี้ 2-3 หมู่บ้านใกล้พิษณุปุระ แต่ภาษานี้เริ่มสูญสลายอย่างช้า ๆ ภายในมณีปุระซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาไมไต และเริ่มสูญหายในบังกลาเทศและจาชัรซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาเบงกอล ภาษานี้ยังเหลือผู้พูดอยู่ในชิริบัม (ส่วนย่อยในมณีปุระ) ตำบลจาชัรในอัสสัม และกลุ่มเล็ก ๆ ในบังกลาเทศและมณีปุระ
จุดเริ่มต้น
[แก้]ผู้พูดภาษานี้เรียกภาษาของตนว่า อิมัรทาร์ หมายถึงภาษาของแม่ เขาเรียกตนเองว่าชาวมณีปุระ และใช้คำว่า "ชาวพิษณุปุระ" หรือ "พิษณุปริยา" เพื่อแยกตนเองออกจากกลุ่มอื่น ๆ ในมณีปุระ คำว่า "พิษณุปริยา" อาจมาจากคำว่าพิษณุปุระ โดยเติมปัจจัย –อิยา เพื่อให้หมายความว่าประชาชนของพิษณุปุระ ชาวพิษณุปุระดั้งเดิมเชื่อว่าพวกเขาเข้าสู่มณีปุระโดยอพยพมาจากทวารกะและหัสตินาปุระ หลังจากเกิดสงครามมหาภารตะ มีการกล่าวกันว่าการอพยพครั้งนี้นำโดยพภรุวาหนะ บุตรของอรชุนกับจิตรางคทา นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์บางคนสนับสนุนทฤษฎีนี้ จากการสังเกตลักษณะของภาษา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตและภาษามหาราษฏรี เช่นเดียวกับภาษาปรากฤต เช่น ภาษาเสาราเสนี ภาษาเสาราเสนีนี้เป็นภาษาของทหารและประชาชนในทุ่งกุรุเกษตร มัธยเทศ อินทรปรัศถ์และหัสตินาปุระ อย่างไรก็ตาม K.P. Sinha ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้และเห็นว่าภาษามณีปุระพิษณุปุระมาจากภาษามคธี
ภาษามณีปุระพิษณุปุระไม่ใช่ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า แต่ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาไมไตทั้งทางด้านไวยากรณ์และการออกเสียง ในแต่ละช่วงของพัฒนาการ ภาษาเสาราเสนี ภาษามคธี ภาษามหาราษฏรีและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าเข้ามามีอิทธิพลมาก ภาษานี้อาจจะพัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ภาษาเสาราเสนี และภาษามหาราษฏรีเช่นเดียวกับภาษาฮินดี ภาษาอัสสัม ภาษาเบงกอล และภาษาโอริยา อิทธิพลจากภาษาเสาราเสนีและภาษามหาราษฏรีเห็นได้จากคำสรรพนาม การเชื่อมต่อ และการลงท้ายการก และมีลักษณะบางอย่างจากภาษามคธีปนอยู่ด้วย ภาษานี้คำศัพท์จากภาษาไมไตที่ออกเสียงแบบเก่าในช่วงพ.ศ. 2000 – 2200 ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้พูดส่วนใหญ่อพยพออกจากมณีปุระในพุทธศตวรรษที่ 24
สำเนียง
[แก้]ภาษานี้มีสองสำเนียงคือ ราชัร คัง (หมู่บ้านพระราชา) และมาไท คัง (หมู่บ้านราชินี) ในทาสัทศาสตร์ สำเนียงราชัร คัง เกี่ยวข้องกับภาษาอัสสัมและไมไต ส่วนสำเนียงมาไท คัง เกี่ยวข้องกับภาษาเบงกอล แต่ในทางคำศัพท์ สำเนียงมาไท คัง ได้รับอิทธิพลจากภาษาไมไตมาก ส่วนราชัร คัง ใกล้เคียงกับภาษาอัสสัมและภาษาเบงกอลมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ทั้งสองสำเนียงไม่ต่างกัน
ระบบการเขียน
[แก้]ชาวพิษณุปุระดั้งเดิมกล่าวว่าพวกเขามีระบบการเขียนเป็นของตนเองคืออักษรเทวนาครีที่เคยใช้เขียนภาษาพิศนุปริยะมาก่อนหน้านี้ ในยุคการศึกษาสมัยใหม่ภายใต้การปกครองของอังกฤษโดยผ่านทางภาษาเบงกอล ผู้พูดภาษานี้เริ่มเปลี่ยนมาใช้อักษรเบงกอล
- สัญลักษณ์สระ: া ি ী ু ূ ৃ ে ৈ ো ৌ
- เครื่องหมายเสริมสัทอักษรอื่น ๆ: ৼ ং ঃ ঁ
- สระเดี่ยว: অ আ ই ঈ উ ঊ এ ঐ ও ঔ
- พยัญชนะ: ক খ গ ঘ ঙ ছ জ ঝ ঞ ট ঠ ড ঢ ণ ত থ দ ধ ন প ফ ব ম য র ল শ ষ স হ ড় ঢ় য় ৱ
- ตัวเลข: ০ ১ ২ ৩ ৪ ৫ ৬ ৭ ৮ ৯
สระ
[แก้]- অ - ô - [ɔ]
- আ া - ā - [a]
- ই ি - i - [i]
- ঈ ী - ī - [i]
- উ ু - u - [u]
- ঊ ূ - ū - [u]
- ঋ ৃ - ri - [ɹi]
- এ ে - e - [e/ɛ]
- ঐ ৈ - oi - [oi]
- ও ো - o - [ʊ]
- ঔ ৌ - ou - [ou/ɔu]
- ং - an - [ŋ]
- ঁ - ã - [̃-]
- ঃ - ah - [h]
พยัญชนะ
[แก้]- ক - kô - [kɔ]
- খ - khô - [kʰɔ]
- গ - gô - [gɔ]
- ঘ - ghô - [gʱɔ/g'o]
- ঙ - ṅô - [ŋɔ]
- চ - sô - [sɔ]
- ছ - shô - [ʃɔ]
- জ - jô - [d͡ʒɔ]
- ঝ - zô - [z'ɔ]
- ঞ - nyô - [ɲɔ]
- ট - ṭô - [ʈɔ]
- ঠ - ṭhô - [tʰɔ/ʈɔ]
- ড - ḍô - [ðɔ]
- ঢ - ḍhô - [d'ɔ]
- ণ - ṇô - [nɔ]
- ত - tô - [tɔ]
- থ - thô - [tʰɔ]
- দ - dô - [dɔ]
- ধ - dhô - [d'ɔ]
- ন - nô - [nɔ]
- প - pô - [pɔ]
- ফ - phô - [ɸɔ]
- ব - bô - [bɔ]
- ভ - bhô - [b'ɔ]
- ম - mô - [mɔ]
- য - jô - [d͡ʒɔ]
- র - rô - [ɹɔ]
- ৱ - wô - [ɰɔ]
- ল - lô - [lɔ]
- শ - śô - [ʃɔ]
- ষ - șô - [ʃɔ]
- স - sô - [ʃɔ]
- হ - hô - [hɔ/ħɔ]
- ক্ষ - kșô - [xɔ]
- ড় - ŗô - [ɹɔ]
- ঢ় - ŗhô - [ɹɔ]
- য় - yô - [jɔ]
- ৎ - t ครึ่ง - [t̪][3]
ผู้พูด
[แก้]สถิติ
[แก้]- 295,000 คนในรัฐอัสสัม[4]
- 121,000 คนที่รัฐตริปุระ, รัฐเมฆาลัย, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐนาคาแลนด์ และรัฐมิโซรัม[5]
- 1,457 คนที่มณีปุระ (Imphal, Bishnupur, Ningthoukhong)[6]
- 5,000 คนที่มณีปุระ (เขตย่อยJiribam)[7]
- 5,000 คนที่นิวเดลี, รัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐมหาราษฏระ, รัฐฌารขัณฑ์, รัฐสิกขิม และรัฐอินเดียอื่น ๆ
- 40,000 คนในประเทศบังกลาเทศ[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bishnupuriya". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ Kim, Amy; Kim, Seung. Bishnupriya (Manipuri) speakers in Bangladesh: a sociolinguistic survey (PDF). SIL INTERNATIONAL. p. 11. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
- ↑ "Bishnupriya Manipuri language, alphabet, and pronunciation". Omniglot. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2011. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Mahasabha census indicates 4.16 lakh Bishnupriya Manipuris in NE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-10.
- ↑ "Census of India - Language tools".
- ↑ Cultural Heritage of North-East India/ Bidhan Singha,1999
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 5 July 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Vasatatvar Ruprekha/ Dr. K. P. Sinha, Silchar, 1977
- Manipuri jaatisotta bitorko: ekti niropekkho paath /Ashim Kumar Singha, Sylhet, 2001
- G. K. Ghose / Tribals and Their Culture in Manipur and Nagaland, 1982
- Raj Mohan Nath / The Background of Assamese Culture, 2nd edn, 1978
- Sir G. A. Grierson / Linguistic Survey of India, Vol-5, 1903
- Dr. K. P. Sinha / An Etymological Dictionary of Bishnupriya Manipuri, 1982
- Dr. M. Kirti Singh / Religious developments in Manipur in the 18th and 19th centuuy, Imphal, 1980
- Singha, Jagat Mohan & Singha, Birendra / The Bishnupriya Manipuris & Their Language, silchar, 1976
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bishnupriya Manipuri: A brief introduction
- Details on Bishnupriya Manipuri Language
- The Manipuri Blog
- Archive of Bishnupriya Manipuri Literature
- Bishnupriya Manipuri forum เก็บถาวร 28 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Bishnupriya Manipuri society เก็บถาวร 4 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A Weblog on Bishnupriya Manipuri people and culture
- BishnupriyaManipuri Online Blog