ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริติชราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phaisit16207 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
| leader5 = [[พระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]]
| leader5 = [[พระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]]
| year_leader5 = 1936–1947
| year_leader5 = 1936–1947
| title_representative = [[ข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย|อุปราชและข้าหลวงฯ]]{{sup|ค}}
| title_representative = [[ผู้สำเร็จราชการอินเดีย|อุปราชและผู้สำเร็จราชการ]]{{sup|ค}}
| representative1 = [[Charles Canning, 1st Earl Canning|ชาลส์ แคนนิง]]
| representative1 = [[Charles Canning, 1st Earl Canning|ชาลส์ แคนนิง]]
| year_representative1 = 1858–1862 {{small| (คนแรก)}}
| year_representative1 = 1858–1862 {{small| (คนแรก)}}
| representative2 = [[หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า|หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน]]
| representative2 = [[หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า|หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน]]
| year_representative2 = 1947 {{small| (คนสุดท้าย)}}
| year_representative2 = 1947 {{small| (คนสุดท้าย)}}
| legislature = สภานิติบัญญัติในสมเด็จฯ
| legislature = สภานิติบัญญัติในสมเด็จฯ
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
}}
}}
| footnote_a = ตำแหน่งในช่วง 1876–1948.
| footnote_a = ตำแหน่งในช่วง 1876–1948.
| footnote_c = ชื่อตำแหน่งเต็มคือ "อุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย (Viceroy and Governor-General of India)"
| footnote_c = ชื่อตำแหน่งเต็มคือ "อุปราชและผู้สำเร็จราชการอินเดีย (Viceroy and Governor-General of India)"
}}
}}
'''บริติชราช''' ({{lang-en|British Raj}}; {{lang-hi|ब्रिटिश राज}}) หรือ '''อินเดีย''' หมายถึงการปกครองโดย[[ราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร|พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร]]ใน[[อนุทวีปอินเดีย]]ระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1947 ซึ่งบางครั้งก็รู้จักในชื่อ '''การปกครองโดยตรงในอินเดีย''' ({{lang-en|Direct rule in India}}) ประกอบด้วยการปกครองสองรูปแบบ คือ ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าพื้นเมือง กับดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลกลางที่ถูกเรียกว่า '''บริติชอินเดีย''' แต่ไม่ว่าจะปกครองแบบไหน ดินแดนทั้งหมดล้วนอยู่ในบังคับของสหราชอาณาจักร ด้วยการปกครองแบบสหภาพนี้ ทำให้ในทางการเมืองมักจะเรียกอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักรว่า '''จักรวรรดิอินเดีย''' ซึ่งชื่อดังกล่าวปรากฏบนหนังสือเดินทางตั้งแต่ปี 1876
'''บริติชราช''' ({{lang-en|British Raj}}; {{lang-hi|ब्रिटिश राज}}) หรือ '''อินเดีย''' หมายถึงการปกครองโดย[[ราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร|พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร]]ใน[[อนุทวีปอินเดีย]]ระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1947 ซึ่งบางครั้งก็รู้จักในชื่อ '''การปกครองโดยตรงในอินเดีย''' ({{lang-en|Direct rule in India}}) ประกอบด้วยการปกครองสองรูปแบบ คือ ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าพื้นเมือง กับดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลกลางที่ถูกเรียกว่า '''บริติชอินเดีย''' แต่ไม่ว่าจะปกครองแบบไหน ดินแดนทั้งหมดล้วนอยู่ในบังคับของสหราชอาณาจักร ด้วยการปกครองแบบสหภาพนี้ ทำให้ในทางการเมืองมักจะเรียกอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักรว่า '''จักรวรรดิอินเดีย''' ซึ่งชื่อดังกล่าวปรากฏบนหนังสือเดินทางตั้งแต่ปี 1876


ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่าน[[บริษัทอินเดียตะวันออก]]กว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตรา[[พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858]] ขึ้น ในการนี้ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์ ต่อมาภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสอง[[ประเทศในเครือจักรภพ]]คือ[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ|อินเดีย]] (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และ[[ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ|ปากีสถาน]] ([[ประเทศปากีสถาน]]และ[[ประเทศบังกลาเทศ]]ในปัจจุบัน) ส่วน[[พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร|พม่า]]นั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งแต่บัดนั้น
ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่าน[[บริษัทอินเดียตะวันออก]]กว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตรา[[พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858]] ขึ้น ในการนี้ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและผู้สำเร็จราชการ ต่อมาภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสอง[[ประเทศในเครือจักรภพ]]คือ[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ|อินเดีย]] (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และ[[ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ|ปากีสถาน]] ([[ประเทศปากีสถาน]]และ[[ประเทศบังกลาเทศ]]ในปัจจุบัน) ส่วน[[พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร|พม่า]]นั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งแต่บัดนั้น


บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมี[[เอเดน]] (1839-1937), [[พม่าตอนบน]] (1858-1937), และ[[พม่าตอนล่าง]] (1886-1937), [[โซมาลิแลนด์ของบริเตน]] (1884-98), [[รัฐทรูเชียล]] (1820-1947), และ [[สิงคโปร์]] (1858-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ [[บริติชซีลอน]] หรือศรีลังกาในยุคสหราชอณาจักร มีฐานะเป็น[[คราวน์โคโลนี]]ที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย
บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมี[[เอเดน]] (1839-1937), [[พม่าตอนบน]] (1858-1937), และ[[พม่าตอนล่าง]] (1886-1937), [[โซมาลิแลนด์ของบริเตน]] (1884-98), [[รัฐทรูเชียล]] (1820-1947), และ [[สิงคโปร์]] (1858-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ [[บริติชซีลอน]] หรือศรีลังกาในยุคสหราชอณาจักร มีฐานะเป็น[[คราวน์โคโลนี]]ที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย
บรรทัด 92: บรรทัด 92:
อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ ''บริติชอินเดีย'' ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ ''รัฐพื้นเมือง ([[รัฐมหาราชา]]) '' ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:
อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ ''บริติชอินเดีย'' ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ ''รัฐพื้นเมือง ([[รัฐมหาราชา]]) '' ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:
<blockquote>
<blockquote>
:(4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย<br />
:(4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางผู้สำเร็จราชการอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับผู้สำเร็จราชการอินเดีย<br />
:(5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย<ref name="Interpretation Act 1889">Interpretation Act 1889 (52 & 53 Vict. c.&nbsp;63), s.&nbsp;18.</ref>
:(5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านผู้สำเร็จราชการอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับผู้สำเร็จราชการอินเดีย<ref name="Interpretation Act 1889">Interpretation Act 1889 (52 & 53 Vict. c.&nbsp;63), s.&nbsp;18.</ref>
</blockquote>
</blockquote>


บรรทัด 147: บรรทัด 147:
ไฟล์:British Raj Red Ensign.svg|ธงจักรวรรดิอินเดีย เป็นธงอย่างไม่เป็นทางการ
ไฟล์:British Raj Red Ensign.svg|ธงจักรวรรดิอินเดีย เป็นธงอย่างไม่เป็นทางการ
ไฟล์:Flag of Imperial India.svg|ธงนาวี
ไฟล์:Flag of Imperial India.svg|ธงนาวี
ไฟล์:Flag of the Governor-General of India (1885–1947).svg|ธงข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย
ไฟล์:Flag of the Governor-General of India (1885–1947).svg|ธงผู้สำเร็จราชการอินเดีย
</gallery>
</gallery>
</center>
</center>
บรรทัด 153: บรรทัด 153:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|}}
{{รายการอ้างอิง|}}

[[หมวดหมู่:บริติชอินเดีย| ]]
[[หมวดหมู่:บริติชอินเดีย| ]]
[[หมวดหมู่:จักรวรรดิอินเดีย|บ]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อินเดีย]]
[[หมวดหมู่:จักรวรรดิอังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย]]
[[หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย]]
[[หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2401]]
[[หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2401]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:17, 17 พฤศจิกายน 2564

อินเดีย

ค.ศ. 1858–1947
ธงชาติบริติชราช
ธงพลเรือน
(ค.ศ. 1880–1947)
ดาราแห่งอินเดียของบริติชราช
ดาราแห่งอินเดีย
แผนที่บริติชราชในปี 1909 เขตสีแดงคือปกครองโดยรัฐบาลอุปราช และสีเหลืองคือปกครองโดยเหล่ามหาราชา
แผนที่บริติชราชในปี 1909 เขตสีแดงคือปกครองโดยรัฐบาลอุปราช และสีเหลืองคือปกครองโดยเหล่ามหาราชา
สถานะจักรวรรดิอันประกอบด้วย
บริติชอินเดียกับบรรดารัฐพื้นเมือง
ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์บริเตน
เมืองหลวงกัลกัตตา (1858–1911)
นิวเดลี (1911–1947)
ภาษาทั่วไปอังกฤษ, ฮินดี, อูรดู
การปกครองรัฐบาลอาณานิคมบริติช
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและจักรพรรดิ/จักรพรรดินี 
• 1858–1901
พระนางเจ้าวิกตอเรีย
• 1901–1910
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
• 1910–1936
พระเจ้าจอร์จที่ 5
• 1936
พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8
• 1936–1947
พระเจ้าจอร์จที่ 6
อุปราชและผู้สำเร็จราชการ 
• 1858–1862 (คนแรก)
ชาลส์ แคนนิง
• 1947 (คนสุดท้าย)
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติในสมเด็จฯ
ประวัติศาสตร์ 
23 มิถุนายน 1757
2 สิงหาคม ค.ศ. 1858
15 สิงหาคม 1947
15 สิงหาคม 1947
พื้นที่
1937[ต้องการอ้างอิง]4,903,312 ตารางกิโลเมตร (1,893,179 ตารางไมล์)
1947[ต้องการอ้างอิง]4,226,734 ตารางกิโลเมตร (1,631,951 ตารางไมล์)
สกุลเงินรูปี
ก่อนหน้า
ถัดไป
การปกครองของบริษัทในอินเดีย
จักรวรรดิโมกุล
เอมิเรตอัฟกานิสถาน
ที่พักอาศัยของอ่าวเปอร์เซีย
ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ
ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ
พม่าของบริเตน
รัฐทรูเชียล
อาณานิคมเอเดน
กาตาร์
รัฐชัยค์คูเวต
บาห์เรน
รัฐสุลต่านมัสกัตและโอมาน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
  1. ตำแหน่งในช่วง 1876–1948.
  2. ชื่อตำแหน่งเต็มคือ "อุปราชและผู้สำเร็จราชการอินเดีย (Viceroy and Governor-General of India)"

บริติชราช (อังกฤษ: British Raj; ฮินดี: ब्रिटिश राज) หรือ อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1947 ซึ่งบางครั้งก็รู้จักในชื่อ การปกครองโดยตรงในอินเดีย (อังกฤษ: Direct rule in India) ประกอบด้วยการปกครองสองรูปแบบ คือ ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าพื้นเมือง กับดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลกลางที่ถูกเรียกว่า บริติชอินเดีย แต่ไม่ว่าจะปกครองแบบไหน ดินแดนทั้งหมดล้วนอยู่ในบังคับของสหราชอาณาจักร ด้วยการปกครองแบบสหภาพนี้ ทำให้ในทางการเมืองมักจะเรียกอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักรว่า จักรวรรดิอินเดีย ซึ่งชื่อดังกล่าวปรากฏบนหนังสือเดินทางตั้งแต่ปี 1876

ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกกว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ขึ้น ในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและผู้สำเร็จราชการ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสองประเทศในเครือจักรภพคืออินเดีย (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และปากีสถาน (ประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) ส่วนพม่านั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งแต่บัดนั้น

บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (1839-1937), พม่าตอนบน (1858-1937), และพม่าตอนล่าง (1886-1937), โซมาลิแลนด์ของบริเตน (1884-98), รัฐทรูเชียล (1820-1947), และ สิงคโปร์ (1858-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ บริติชซีลอน หรือศรีลังกาในยุคสหราชอณาจักร มีฐานะเป็นคราวน์โคโลนีที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย

ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้จะมีความขัดแย้งกับสหราชอาณาจักร แต่ก็ได้ลงนามทำสนธิสัญญากัน และได้รับการยอมรับในฐานะรัฐอิสระและไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช[1][2] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐเจ้าครองนครหลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี 1862 อย่างไรก็ตาม ประเด็นของความเป็นอธิปไตยยังคงไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้น.มัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ปี 1867 ถึงปี 1965 ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช

เหรียญทองหนึ่งโมอูร์ (เท่ากับ 15 เหรียญเงินรูปี) เป็นเงินตราที่ใช้ในบริติชราชตลอดจนในเนปาลและอัฟกานิสถาน

บริติชอินเดียกับบรรดารัฐพื้นเมือง

อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ บริติชอินเดีย ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ รัฐพื้นเมือง (รัฐมหาราชา) ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:

(4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางผู้สำเร็จราชการอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับผู้สำเร็จราชการอินเดีย
(5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านผู้สำเร็จราชการอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับผู้สำเร็จราชการอินเดีย[3]

โดยทั่วไป คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นถูกใช้เพื่อสื่อถึงอนุทวีปอินเดียภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1600 ถึง 1858 นอกจากยังคำว่าบริติชอินเดีย ยังใช้สื่อถึงชาวอังกฤษในอินเดียด้วย ส่วนคำว่า "จักรวรรดิอินเดีย" นั้นเป็นคำที่ไม่ถูกใช้ในสารบบกฎหมาย แต่เนื่องจากกษัตริย์อังกฤษทรงปกครองอินเดียในพระอิสริยยศ จักรพรรดิแห่งอินเดีย ดังนั้นเวลากษัตริย์อังกฤษมีพระราชดำรัสไปยังรัฐสภาจึงมักจะเรียกอินเดียว่า "จักรวรรดิอินเดีย" ทั้งนี้ หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลบริติชอินเดียนั้น ปรากฏคำว่า "Indian Empire" บนปก และปรากฏคำว่า "Empire of India" อยู่ด้านใน[4] นอกจากนี้ยังมีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งแห่งจักรวรรดิอินเดีย ด้วย

เขตการปกครอง

ดูเพิ่มได้ที่: เขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย
+ เขตการปกครองและประชากร (เฉพาะที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลอุปราชเท่านั้น ไม่รวมรัฐพื้นเมือง)[5]
มณฑลของบริติชอินเดีย
(ในวงเล็บคือดินแดนในปัจจุบัน)
พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร
ปี 1901
อัสสัม
(รัฐอัสสัม, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐเมฆาลัย, รัฐมิโซรัม, รัฐนาคาแลนด์)
130,000 6 ล้านคน
เบงกอล
(ประเทศบังกลาเทศ, รัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐพิหาร, รัฐฌารขัณฑ์ และรัฐโอริศา)
390,000 75 ล้านคน
บอมเบย์
(แคว้นสินธิและบางส่วนของรัฐมหาราษฏระ, รัฐคุชราต และรัฐกรณาฏกะ)
320,000 19 ล้านคน
พม่า
(ประเทศพม่า)
440,000 9 ล้านคน
มณฑลกลาง
(รัฐมัธยประเทศและรัฐฉัตตีสครห์)
270,000 13 ล้านคน
มัทราส
(รัฐทมิฬนาฑูและบางส่วนของรัฐอานธรประเทศ, รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ และ รัฐโอริศา)
370,000 38 ล้านคน
ปัญจาบ
(แคว้นปัญจาบ, กรุงอิสลามาบาด, รัฐปัญจาบ, รัฐหรยาณา, รัฐหิมาจัลประเทศ, รัฐฉัตติสครห์ และเดลี)
250,000 20 ล้านคน
สหมณฑล
(รัฐอุตตรประเทศและรัฐอุตตราขัณฑ์)
280,000 48 ล้านคน

ธงที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. British Empire - Relations with Bhutan
  2. British Empire - Relations with Nepal
  3. Interpretation Act 1889 (52 & 53 Vict. c. 63), s. 18.
  4. "British Indian Passport of Muhammad Ali Jinnah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
  5. Imperial Gazetteer of India vol. IV 1907, p. 46