ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานรัฐมนตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8973881 สร้างโดย 58.11.94.6 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
|บุคลากร =
|บุคลากร =
|งบประมาณ =
|งบประมาณ =
|รัฐมนตรี1_ชื่อ นายภูริช ลิ่มชา =
|รัฐมนตรี1_ชื่อ =
|รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี2_ชื่อ =
|รัฐมนตรี2_ชื่อ =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:17, 19 กรกฎาคม 2563

สำนักงานรัฐมนตรี
Office of the minister
ภาพรวมหน่วยงาน
หน่วยงานก่อนหน้า
เชิงอรรถ
เป็นส่วนราชการที่มีอยู่ในทุกกระทรวง

สำนักงานรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการที่มิได้มีฐานะเป็นกรม เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นกรม อยู่ในสังกัดกระทรวงต่างๆ ของประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า "สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี" ในอดีตเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทั่วไปซึ่งมิใช่งานของกรมใดกรมหนึ่งในกระทรวง หรือเปรียบเสมือนกับสำนักงานรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม และมีการจัดตั้งให้สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ใช้ชื่อว่า "สำนักงานรัฐมนตรี"

อำนาจหน้าที่

สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
  2. สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประชาชน
  3. ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
  4. ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการ

สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ส่วน คือ[1]

  • งานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการและงานการประชุมของรัฐมนตรี งานบริหารทั่วไป
  • กลุ่มงานประสานการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานนโยบายระหว่างกระทรวงและประสานกับรัฐสภา การประชาสัมพันธ์ รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน
  • กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวการประสานงาน วิเคราะห์ กลั่นกรอง และให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของรัฐมนตรี

อ้างอิง