ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงการหลวง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


== ศูนย์พัฒนาโครงการ ==
== ศูนย์พัฒนาโครงการ ==
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะ]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย]]
* [[ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:25, 3 กรกฎาคม 2563

โครงการหลวง (อังกฤษ: Royal project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง

ในระยะแรก เป็นโครงการอาสาสมัคร โดยมีอาสาสมัคร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้​ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกองทัพอากาศ ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานใน 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีสถานีวิจัยหลัก 4 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการ จำนวน 21 ศูนย์ และหมู่บ้านพัฒนาอีก 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้าน

ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้า โครงการหลวง

ปัจจุบันมี จรัลธาดา กรรณสูต เป็นประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[1]และพลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ เป็นกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิโครงการหลวง[2]

วัตถุประสงค์มูลนิธิโครงการหลวง

  • เพื่อช่วยชาวไทยภูเขาในด้าน ต่างๆ จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ความว่า

เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้นมีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง จุดประสงค์อย่างหนึ่งคือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถมีความรู้พยุงตัวให้มีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่า ควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่นและค้าฝิ่นได้ผลดี อันเป็นผลอย่างหนึ่ง

อีกอย่างคือชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราสู่หายนะได้ ที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี อยู่ดีกินดีและปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ ถ้าสามารถทำโครงการนี้สำเร็จให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง และสนับสนุนนโยบายจะรักษาป่า รักษาป่าให้เป็นประโยชน์ต่อไปและยั่งยืนมาก

สถานีวิจัยโครงการหลวง

ศูนย์พัฒนาโครงการ

อ้างอิง

  1. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/281/1.PDF พระราชโองการประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง] เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๘๑ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
  2. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิโครงการหลวง(พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ) เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง พิเศษ หน้า ๓ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑

แหล่งข้อมูลอื่น