ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยศเจ้านายไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 185: บรรทัด 185:


==== พระราชนัดดา ในพระมหากษัตริย์ ====
==== พระราชนัดดา ในพระมหากษัตริย์ ====
พระราชนัดดา ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ ตามพระมารดา โดยสามารถแบ่งได้เป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์" และ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทรงกรมศักดินา 11000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 4000 เจ้านายในชั้นนี้จะเรียกว่า '''พระองค์ชาย''' '''พระองค์หญิง''' ได้แก่
พระราชนัดดา ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ ตามพระมารดา โดยสามารถแบ่งได้เป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" และ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทรงกรมศักดินา 11000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 4000 เจ้านายในชั้นนี้จะเรียกว่า '''พระองค์ชาย''' '''พระองค์หญิง''' ได้แก่
* '''พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า''' คือ ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแก่พระมารดาที่เป็นพระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้าที่เป็นชายาเอก (สะใภ้หลวง) เช่น
* '''พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า''' คือ ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแก่พระมารดาที่เป็นพระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้าที่เป็นชายาเอก (สะใภ้หลวง) เช่น
** [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต]] พระโอรสใน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] กับ [[หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร]]
** [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต]] พระโอรสใน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] กับ [[หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:45, 5 กันยายน 2556

ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย[1] คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

พระภรรยาเจ้าและพระสนม

ตามโบราณราชประเพณี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระภรรยา ให้มีพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดลำดับพระเกียรติยศแห่งพระภรรยาเจ้าและพระสนมดังนี้

พระภรรยาเจ้า

พระภรรยาเจ้า หมายถึง ภรรยาของพระเจ้าเผ่นดิน ที่มีพระกำเนิดเป็นเจ้า[2] ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ได้กำหนดไว้ว่ามี 4 ขั้น คือ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และพระอรรคชายา[3]

พระอัครมเหสีเป็นพระอิสริยยศพระภรรยาเอกในพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นพระมารดาขององค์รัชทายาท ในอดีตนั้นพระอัครมเหสีมีคำนำพระนามแตกต่างกันแล้วแต่รัชสมัย อาทิ สมเด็จกรมหลวงบาทบริจาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงกำหนดเป็นพระชายาหลวงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่ปรากฏในประกาศกระแสพระบรมราชโองการทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ดำรงศักดินา 100000 โดยมีลำดับพระเกียรติยศดังนี้

ลำดับพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ของ "พระวรราชเทวี" และ "พระราชเทวี" นั้น เสมอด้วย "สมเด็จเจ้าฟ้า" และ ลำดับพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ ของ "พระนางเธอ" "พระอรรคชายาเธอ" "พระวรราชชายา" และ "พระราชชายา" นั้น เสมอด้วย "พระองค์เจ้าลูกหลวง" มีลำดับดังนี้

พระสนม

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ คือ ญาติของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระยศเป็นเจ้า แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์

พระบรมวงศ์

พระบรมวงศ์ คือ พระราชโอรสธิดาในพระเจ้าแผ่นดิน (หรือเทียบเท่า) ถ้าได้รับสัปตปฎลเศวตฉัตรหรือเบญจปฎลเศวตฉัตร จะมีคำว่า สมเด็จ นำหน้าพระนาม

พระบรมราชชนก

พระบรมราชชนก เป็น พระอิสริยยศของพระราชบิดาซึ่งไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน แต่โปรดเกล้าฯ ให้มีพระอิสริยยศเสมอด้วย สมเด็จพระบวรราชเจ้า ได้แก่

พระบรมราชชนนี

พระอิสริยยศแห่ง พระบรมราชชนนี ในพระมหากษัตริย์ ในอดีตจะทรงสถาปนาขึ้นเป็น กรมพระเทพามาตย์ กรณีที่มิทรงเคยเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลใดๆ จะไม่ออกพระนามว่า พระพันปีหลวง ได้แก่

สยามมกุฎราชกุมาร

พระอิสริยยศ สมเด็จพระยุพราช ซึ่งจะทรงสืบราชสันตติวงศ์ในภาคหน้า เริ่มสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่

สยามบรมราชกุมารี

พระอิสริยยศแห่งสมเด็จพระราชธิดา ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสัปตปฎลเศวตฉัตร เป็นกรณีพิเศษ ได้แก่

พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ ที่ประสูติ สมเด็จพระอัครมเหสี และพระภรรยาเจ้า ซึ่งมีนำหน้าพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูก (ยา) เธอ เจ้าฟ้า" และ ที่ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดา ซึ่งมีคำนำหน้าพระนามว่า "พระเจ้าลูก(ยา)เธอ พระองค์เจ้า"

พระอนุชาธิราช

หมายถึง พระราชอนุชาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระรัชทายาท สนองพระเดชพระคุณ มีพระอิสริยศักดิ์สูงกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า ได้แก่

สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นพิเศษ

หมายถึง สมเด็จเจ้าฟ้า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพิเศษ ศักดินา 100000 ได้แก่

สมเด็จเจ้าฟ้า

ทั้งนี้ หากเป็น ชั้น "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ" "พระเจ้าพี่ยา/พี่นางเธอ" และ "พระเจ้าน้องยา/น้องนางเธอ" หากทรงกรม ศักดินา 30000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 15000 และชั้น "พระเจ้าลูก(ยา)เธอ" หากทรงกรม ศักดินา 20000 ไม่ทรงกรม ศักดินา "15000" ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา

พระองค์เจ้า ชั้นลูกหลวง

พระอนุวงศ์

พระอนุวงศ์ คือพระราชนัดดา พระราชปนัดดา ของพระเจ้าแผ่นดิน (หรือเทียบเท่า)

พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้า

หมายถึง ฐานันดรศักดิ์ แห่งหลานของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพิเศษ ด้วยที่เหตุที่มีพระมารดาเป็น "เจ้าฟ้า" คือพระโอรสธิดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ในชั้นนี้เรียกว่า "เจ้าฟ้าชั้นตรี" ทรงกรม ศักดินา 15000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 6000 อาทิ

พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกพระองค์เมื่อแรกประสูติ มีฐานันดรศักดิ์ที่ "พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทรงกรมศักดินา 11000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 4000 ได้แก่

พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่ประสูติแต่พระอัครชายา มีฐานันดรศักดิ์ที่ "พระสัมพันธวงศ์ พระองค์เจ้า" ทรงกรมศักดินา 11000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 4000 ได้แก่

    • พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์
    • พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี
    • พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์
    • พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปฐมวงศ์
    • พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกล

พระราชนัดดา ในพระมหากษัตริย์

พระราชนัดดา ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ ตามพระมารดา โดยสามารถแบ่งได้เป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" และ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทรงกรมศักดินา 11000 ไม่ทรงกรม ศักดินา 4000 เจ้านายในชั้นนี้จะเรียกว่า พระองค์ชาย พระองค์หญิง ได้แก่

หม่อมเจ้า

หม่อมเจ้า (ม.จ.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระองค์เจ้า เป็นชั้นสกุลยศที่ต่ำที่สุดสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยปกติแล้วฐานันดรนี้จะได้แก่พระโอรสธิดา ในเจ้าฟ้ากับสามัญชน, พระโอรสธิดาในพระองค์เจ้า กับสามัญชน และพระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โดย หม่อมเจ้า ทรงศักดินา 1500 เจ้านายชั้นจะเรียกกันโดยลำลองว่า ท่านชาย ท่านหญิง

ราชนิกุลและสายสัมพันธ์

บุคคลนับเนื่องราชราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชน

  • หม่อมราชนิกุล คือ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เช่น หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ ซึ่งมีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิงหนัด ปราโมช
  • หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
  • หม่อมหลวง (ม.ล.) คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์ ในการเรียกโดยลำลอง ให้ใช้คำนำหน้าว่า "คุณ" ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

พระภรรยาของเจ้าชาย

มีทั้งหมด 4 ฐานันดร ได้แก่

การสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าในพระราชวงศ์

มีเจ้านายพระองค์ ที่ประสูติเป็นสามัญชนนอกพระราชวงศ์จักรี แต่ได้รับพระราชทานสถาปนาให้เป็นเจ้าในพระราชวงศ์

เช่น ในรัชกาลที่ 1 ได้แก่

  1. หม่อมเรือง (กระทำสัตย์เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งกรุงแตก) เป็นเจ้าบำเรอภูธร ต่อมาเลื่อนเป็น กรมขุนสุนทรภูเบศร์
  2. กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (พระนามเดิม หม่อมมุก) เป็นพระสวามีในพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงกุ
  3. พระองค์เจ้าขุนเณร (พระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมพระบิดากับกรมพระราชวังหลัง กล่าวคือเป็น "ลูกเลี้ยง" ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่) ได้ทรงรบทัพจับศึกมาก จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าขุนเณร

รัชกาลที่ 2 ทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมราชชนนีเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ตามอย่างกรมพระเทพามาตย์ พระบรมราชชนนีแต่โบราณ[5]

รัชกาลที่ 3 สถาปนาเจ้าคุณจอมมารดาเรียม สมเด็จพระราชชนนีเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (สมเด็จพระศรีสุลาลัย)

รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี ณ เชียงใหม่ ขึ้นเป็นพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

(นอกจากนี้ยังทรงสถาปนาพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ซึ่งมีพระชาติแรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลายพระองค์)

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (พระอัยกี) เป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
  2. พระอินทรานี (ประไพ สุจริตกุล) เป็นพระวรราชชายาเธออินทรศักดิ์ศจี และต่อมาทรงเลื่อนเป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
  3. เจ้าจอมสุวัทนา (เครือแก้ว อภัยวงศ์) เป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ในรัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระอิสริยยศในขณะนั้นคือ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ) เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการทรงรับพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และในรัชกาลปัจจุบันสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ (หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และภายหลังทรงสำเร็จราชการแผ่นดินเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  2. ม.ล.โสมสวลี กิติยากร ขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
  3. นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา หรือหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา หม่อมใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสามัญชน ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. กองทัพเรือ, เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2538. ในการพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ และบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา วันที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2538
  2. จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มติชน, 2548, หน้า 4
  3. สมภพ จันทรประภา, สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ, พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น, 2530, 38
  4. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 271
  5. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีนี้ในรัชกาลที่ 1 มิได้ปรากฏว่าทรงสถาปนาพระอิสริยยศแต่ประการใด เพียงแต่ว่าทรงให้เป็นเจ้า เพื่อให้สมกับที่เป็นพระมารดาเจ้าฟ้าเท่านั้น มาถึงรัชกาลที่ 2 จึงได้ทรงสถาปนาย้อนหลังให้เป็น กรมสมเด็จพระ ตามโบราณราชประเพณี ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี