ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: modern use
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: กราฟิก
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
'''องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา''' ({{lang-en|United Nations Transitional Authority in Cambodia; '''UNTAC'''}}) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของ[[สหประชาชาติ]]ใน[[กัมพูชา]]ระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2536 และเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติเข้ามาจัดการการปกครองของรัฐที่เป็นเอกราชเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีสถานีวิทยุและคุกเป็นของตนเองและสามารถรับผิดชอบและสนับสนุน[[สิทธิมนุษยชน]]ในระดับนานาชาติ
'''องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา''' ({{lang-en|United Nations Transitional Authority in Cambodia; '''UNTAC'''}}) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของ[[สหประชาชาติ]]ใน[[กัมพูชา]]ระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2536 และเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติเข้ามาจัดการการปกครองของรัฐที่เป็นเอกราชเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีสถานีวิทยุและคุกเป็นของตนเองและสามารถรับผิดชอบและสนับสนุน[[สิทธิมนุษยชน]]ในระดับนานาชาติ


ประเทศที่เข้าร่วมในอันแทคได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย บังกลาเทศ เบลเยียม บรูไน บัลแกเรีย แคเมอรูน แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมัน กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ สหพันธรัฐรัสเซีย เซเนกัล ไทย ตูนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย <ref>[http://www.un.org/en/peacekeeping/sites/medals/untac.htm UN Medals - UNTAC]</ref> ทั้งนี้ สหประชาชาติส่งคณะผู้ปฏิบัติการล่วงหน้าในกัมพูชาเพื่อเข้าไปสำรวจและเตรียมการณ์ก่อนที่อันแทคจะเข้าไปจัดการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535<ref>วัชรินทร์ ยงศิริ.สัมพันธภาพใหม่ไทย-กัมพูชา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟฟิก. 2545 หน้า 284 – 288</ref>
ประเทศที่เข้าร่วมในอันแทคได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย บังกลาเทศ เบลเยียม บรูไน บัลแกเรีย แคเมอรูน แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมัน กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ สหพันธรัฐรัสเซีย เซเนกัล ไทย ตูนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย <ref>[http://www.un.org/en/peacekeeping/sites/medals/untac.htm UN Medals - UNTAC]</ref> ทั้งนี้ สหประชาชาติส่งคณะผู้ปฏิบัติการล่วงหน้าในกัมพูชาเพื่อเข้าไปสำรวจและเตรียมการณ์ก่อนที่อันแทคจะเข้าไปจัดการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535<ref>วัชรินทร์ ยงศิริ.สัมพันธภาพใหม่ไทย-กัมพูชา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟิก. 2545 หน้า 284 – 288</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:41, 13 กันยายน 2555

องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา

Kâmpŭchea
พ.ศ. 2535–พ.ศ. 2536
Map of Cambodia
Map of Cambodia
สถานะการอารักขาโดยสหประชาชาติ
เมืองหลวงพนมเปญ
ภาษาทั่วไปภาษาเขมร
ผูเแทนพิเศษของเลขาธิการ
ทั่วไปแห่งสหประชาชาติ
 
ประวัติศาสตร์ 
• Security Council Resolution 745
30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
• สิ้นสุด
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2536
สกุลเงินเรียลกัมพูชา
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
ราชอาณาจักรกัมพูชา

องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (อังกฤษ: United Nations Transitional Authority in Cambodia; UNTAC) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2536 และเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติเข้ามาจัดการการปกครองของรัฐที่เป็นเอกราชเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีสถานีวิทยุและคุกเป็นของตนเองและสามารถรับผิดชอบและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ

ประเทศที่เข้าร่วมในอันแทคได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย บังกลาเทศ เบลเยียม บรูไน บัลแกเรีย แคเมอรูน แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมัน กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ สหพันธรัฐรัสเซีย เซเนกัล ไทย ตูนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย [1] ทั้งนี้ สหประชาชาติส่งคณะผู้ปฏิบัติการล่วงหน้าในกัมพูชาเพื่อเข้าไปสำรวจและเตรียมการณ์ก่อนที่อันแทคจะเข้าไปจัดการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[2]

ประวัติ

อันแทคจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยมติสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 745 โดยเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัยของประเทศในเวลานั้น เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาสันติภาพปารีสที่ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534.[3] ผู้นำของอันแทคคือยาสุชิ เอกาชิ โดยมีนายพลจอห์น แซนเดอร์สัน เป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหาร อันแทคมีกำลังทหารทั้งสิ้น 15,900 นาย ตำรวจ 3,600 คน เจ้าหน้าที่พลเรือน 2,000 คน อาสาสมัครจากสหประชาชาติ 450 คน ปฏิบัติการของอันแทคใช้ทุนปฏิบัติการ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]

เป้าหมาย

เป้าหมายของอันแทคคือ ฟื้นฟูสันติภาพและรัฐบาลพลเรือนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมืองและสงครามเย็นมากว่าทศวรรษ จัดการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ และเป็นจุดเริ่มต้นในการสถาปนาประเทศขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีหน้าที่ในการดูแลและควบคุมกิจการที่สำคัญของรัฐบาล ทั้งการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ การคลัง ความปลอดภัยสาธารณะ และสารสนเทศ รวมทั้งตรวจสอบการถอนกองกำลังต่างชาติออกไป ป้องกันการย้อนกลับเข้ามาอีก ปลดอาวุธและลดการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธภายในประเทศ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน รักษากฎหมายและดูแลการตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้อพยพ ฟื้นฟูโครงสร้างที่จำเป็นต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

การปลดอาวุธ

อันแทคประสบความล้มเหลวในการปลดอาวุธกลุ่มเขมรแดง ในขณะที่ประสบความสำเร็จในการปลดอาวุธของทหารฝ่ายรัฐกัมพูชา ทำให้เขมรแดงยังคงโจมตีและก่อความรุนแรงทางการเมืองได้อีก[5]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

ชาวกัมพูชากว่า 4 ล้านคนเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 แม้ว่าเขมรแดงหรือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกองกำลังไม่ได้ถูกปลดอาวุธและถูกควบคุมได้ห้ามประชาชนในเขตของตนไม่ให้เข้าร่วม พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม รณฤทธิ์ได้คะแนนสูงสุด 45.5% ตามด้วยพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุน เซน และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยมชาวพุทธ พรรคฟุนซินเปกเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคอื่น สมาชิกสภาที่ได้รับการเลือกตั้งได้เข้าไปร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นระบอบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์ พระนโรดม รณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง

ผลกระทบของอันแทค

พระนโรดม สีหนุมองว่าการมีอยู่ของกองกำลังต่างชาติภายใต้การควบคุมของอันแทค ทำให้เกิดการล่วงประเวณีแก่หญิงชาวกัมพูชา เกิดปัญหาโสเภณี[6] และนำโรคเอดส์เข้ามาสู่กัมพูชา[7] จำนวนโสเภณีในกัมพูชาสมัยรัฐกัมพูชามี 6,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 คน ในช่วงที่อันแทคเข้ามาดูแล ใน พ.ศ. 2538 มีผู้ติดเชื้อเอดส์ในกัมพูชา 50,000 - 90,000 คนในกัมพูชา.[8]

การพิจารณาคดีผู้นำเขมรแดง

ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สภาแห่งชาติกัมพูชาได้ทำข้อตกลงกับสหประชาชาติในการพิจารณาคดีอดีตผู้นำเขมรแดง มีการบริจาคเงินถึง 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพิจารณาคดีเป็นเวลา 3 ปี โดยรัฐบาลกัมพูชาออกค่าใช้จ่าย 13.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การดำเนินการเกิดขึ้นช้ามาก กว่าจะเริ่มดำเนินคดีใน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้นำเขมรแดงจำนวนมากเสียชีวิตไปแล้วหรือมีปัญหาทางสุขภาพ.[9]

อ้างอิง

  1. UN Medals - UNTAC
  2. วัชรินทร์ ยงศิริ.สัมพันธภาพใหม่ไทย-กัมพูชา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟิก. 2545 หน้า 284 – 288
  3. Resolution 745 S-RES-745(1992) on 28 February 1992 (retrieved 2008-04-09)
  4. Cambodia. Lonely Planet
  5. Margaret Slocomb, The People's Republic of Kampuchea, 1979-1989: The revolution after Pol Pot ISBN 978-974-9575-34-5
  6. Milton Osborne, Sihanouk, Prince of Light, Prince of Darkness. Silkworm 1994
  7. Cambodia. Lonely Planet
  8. Soizick Crochet, Le Cambodge, Karthala, Paris 1997, ISBN 2-86537-722-9
  9. UNTAC

แหล่งข้อมูลอื่น