นิฮงโชกิ
ส่วนหนึ่งของ |
ชินโต |
---|
นิฮงโชกิ (ญี่ปุ่น: 日本書紀; โรมาจิ: Nihon Shoki) บางครั้งแปลเป็น พงศาวดารญี่ปุ่น เป็นหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคคลาสสิก หนังสือนี้มีชื่ออีกชื่อว่า นิฮงงิ (日本紀) โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดมากกว่าโคจิกิ และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการบันทึกประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณ นิฮงโชกิแต่งเสร็จใน ค.ศ. 720 ภายใต้กองบรรณาธิการของเจ้าชายโทเนริ และด้วยความช่วยเหลือจากโอโนะยาซูมาโระ ซึ่งอุทิศแด่จักรพรรดินีเก็นโช[1] หนังสือนี้ยังสะท้อนอิทธิพลของจีนต่ออารยธรรมญี่ปุ่น[2] โดยในประเทศญี่ปุ่น ราชสำนักที่รับวัฒนธรรมจีนมาต้องการประวัติศาสตร์แบบลายลักษณ์อักษรที่สามารถเปรียบเทียบกับประชุมพงศาวดารของจีนได้[3]
นิฮงโชกิเริ่มต้นด้วยตำนานการสร้างของญี่ปุ่น อธิบายต้นกำเนิดของโลกและเทพเจ็ดรุ่นแรก (เริ่มต้นที่คูนิโนโตโกตาจิ) แล้วไปยังเรื่องราวเทพปกรณัมเหมือนโคจิกิ แต่มีสายรายงานไปถึงเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 นิฮงโชกิมุ่งเน้นถึงผลบุญของผู้นำที่ดี เช่นเดียวกันกับความผิดพลาดของผู้นำที่แย่ หนังสือกล่าวถึงสมัยในตำนานและการติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ นิฮงโชกิเขียนด้วยภาษาจีนคลาสสิก ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปที่จะเขียนเอกสารราชการในเวลานั้น ส่วนโคจิกิเขียนด้วยการผสมระหว่างอักษรจีนกับการออกเสียงแบบญี่ปุ่น (ส่วนใหญ่เป็นชื่อและเพลง) นิฮงโชกิมีการทับศัพท์จำนวนมากที่ให้ผู้อ่านรู้ว่าจะอ่านแบบญี่ปุ่นอย่างไร เรื่องราวในหนังสือนี้และโคจิกิโดยรวมเรียกเป็น เรื่องราวคิกิ[4]
หนังสือแปลอันแรกคือฉบับภาษาอังกฤษของวิลเลียม จอร์จ แอสตันใน ค.ศ. 1896[5]
บท
[แก้]- บทที่ 01: (ตำนานบทที่หนึ่ง) คามิ โนะ โยะ โนะ คามิ โนะ มากิ
- บทที่ 02: (ตำนานบทที่สอง) คามิ โนะ โยะ โนะ ชิโมะ โนะ มากิ
- บทที่ 03: (จักรพรรดิจิมมุ) คังยามาโตะ อิวาเรบิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 04:
- (จักรพรรดิซูอิเซ) คามุ นูนากาวามิมิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ.
- (จักรพรรดิอันเน) ชิกิตสึฮิโกะ ทามาเตมิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิอิโตกุ) โอยามาโตะ ฮิโกซูกิโตโมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิโคโช) มิมัตสึฮิโกะ ซูกิโตโมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิโคอัง) ยามาโตะ ทาราชิฮิโกะ คูนิ โอชิฮิโตะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิโคเร) โอยามาโตะ เนโกฮิโกะ ฟูโตนิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิโคเง็ง) โอยามาโตะ เนโกฮิโกะ คูนิกูรุ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิไคกะ) วากายามาโตะ เนโกฮิโกะ โอบิบิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 05: (จักรพรรดิซูจิง) มิมากิ อิริบิโกะ อินิเยะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 06: (จักรพรรดิซูอินิง) อิกูเมะ อิริบิโกะ อิซาจิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 07:
- (จักรพรรดิเคโก) โอตาราชิฮิโกะ โอชิโรวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิเซมุ) วากะ ทาราชิิฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 08: (จักรพรรดิชูไอ) ทาราชิ นากัตสึฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 09: (จักรพรรดินีจิงงู) โอกินางะ ทาราชิฮิเมะ โนะ มิโกโตะ
- บทที่ 10: (จักรพรรดิโอจิง) โฮมูดะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 11: (จักรพรรดินินโตกุ) โอซาซางิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 12:
- (จักรพรรดิริจู) อิซาโฮวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิฮันเซ) มิตสึฮาวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 13:
- (จักรพรรดิอิงเงียว) โออาซาซูมะ วากูโงะ โนะ ซูกูเนะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิอังโก) อานาโฮะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 14: (จักรพรรดิยูเรียกุ) โอฮัตสึเซะ โนะ วากะ ทาเกรุ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 15:
- (จักรพรรดิเซเน) ชิรากะ โนะ ทาเกะ ฮิโรกูนิ โอชิ วากะ ยามาโตะ เนโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิเค็นโซ) โวเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดินิงเก็ง) โอเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 16: (จักรพรรดิบูเร็ตสึ) โอฮัตสึเซะ โนะ วากะ ซาซางิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 17: (จักรพรรดิเคไต) โอโดะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 18:
- (จักรพรรดิอังกัง) ฮิโรกูนิ โอชิ ทาเกะ คานาฮิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิเซ็งกะ) ทาเกะ โอฮิโรกูนิ โอชิ ทาเตะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 19: (จักรพรรดิคิมเม) อาเมกูนิ โอชิฮารากิ ฮิโรนิวะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 20: (จักรพรรดิบิดัตสึ) นูนากากูระ โนะ ฟูโตะ ทามาชิกิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 21:
- (จักรพรรดิโยเม) ทาจิบานะ โนะ โทโยฮิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- (จักรพรรดิซูชุง) ฮัตสึเซเบะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 22: (จักรพรรดินีซูอิโกะ) โทโยมิเกะ คาชิกิยะ ฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 23: (จักรพรรดิโจเม) โอกินางะ ทาราชิ ฮิฮิโรนูกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 24: (จักรพรรดินีโคเงียวกุ) อาเมะ โทโยตาการะ อิกาชิ ฮิตาราชิ โนะ ฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 25: (จักรพรรดิโคโตกุ) อาเมะ โยโรซุ โทโยฮิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 26: (จักรพรรดินีไซเม) อาเมะ โทโยตาการะ อิกาชิ ฮิตาราชิ โนะ ฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 27: (จักรพรรดิเท็นจิ) อาเมะ มิโกโตะ ฮิรากาซูวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
- บทที่ 28: (จักรพรรดิเท็มมุ บทที่หนึ่ง) อามะ โนะ นูนากาฮาระ โอกิ โนะ มาฮิโตะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ, คามิ โนะ มากิ
- บทที่ 29: (จักรพรรดิเท็มมุ บทที่สอง) อามะ โนะ นูนากาฮาระ โอกิ โนะ มาฮิโตะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ, ชิโมะ โนะ มากิ
- บทที่ 30: (จักรพรรดินีจิโต) ทากามาโนฮาระ ฮิโรโนะ ฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ
กระบวนการรวบรวมข้อมูล
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]เบื้องหลังการรวมรวมข้อมูลนิฮงโชกิคือจักรพรรดิเท็มมุทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ 12 คน (รวมเจ้าชายคาวาชิมะ) แก้ไขประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของจักรวรรดิ[6]
โชกุนิฮงงิระบุไว้ในส่วนเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 720 ว่า "先是一品舍人親王奉勅修日本紀。至是功成奏上。紀卅卷系圖一卷" แปลได้เป็น "จนถึงตอนนั้น เจ้าชายโทเนริได้รวบรวม นิฮงงิ ตามคำสั่งองค์จักรพรรดิ พระองค์รวบรวมเสร็จด้วยการส่งหนังสือประวัติศาสตร์ 30 เล่ม และหนังสือลำดับวงศ์ตระกูล 1 เล่ม"[7]
แหล่งข้อมูล
[แก้]นิฮงโชกิเป็นตำราที่สังเคราะห์จากเอกสารที่เก่ากว่า โดยเฉพาะบันทึกที่ถูกเก็บรักษาอย่างต่อเนื่องในราชสำนักยามาโตะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 นอกจากนี้ยังมีเอกสารและคติชาวบ้านที่กลุ่มตระกูลผู้รับใช้ราชสำนักส่งมาด้วย ก่อนหน้านิฮงโชกิ เคยมีตำราเท็นโนกิและคกกิที่รวบรวมโดยเจ้าชายโชโตกุและโซงะ โนะ อูมาโกะ แต่ตำราเหล่านี้เก็บรักษาอยู่ในที่พำนักของโซงะ และถูกเผาทำลายในช่วงอุบัติการณ์อิชชิ
ผู้ร่วมเขียนงานอ้างถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลเหล่านั้นได้แก่ เอกสารแพ็กเจสามอัน (คูดาระ-กิ, ฯลฯ) ใช้อ้างเพื่อวัตถุประสงค์ในการบันทึกเรื่องทางการทูตเป็นหลัก[8] การวิจารณ์ตัวบทแสดงให้เห็นว่านักวิชาการที่หลบหนีการทำลายล้างอาณาจักรแพ็กเจไปที่ยามาโตะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เหล่านี้ และผู้เขียนนิฮงโชกิพึ่งพาแหล่งข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างมาก[9] สิ่งนี้ต้องนำมาพิจารณารายงานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ด้านข้อความที่อ้างถึงความเป็นศัตรูทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนระหว่างอาณาจักรชิลลา, โคกูรยอ และแพ็กเจของเกาหลีโบราณ
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ บางส่วนอ้างอิงโดยไม่ระบุชื่อเป็น อารุฟูมิ (一書; "เอกสารบางส่วน") เพื่อเก็บบันทึกสำรองไว้ใช้ในเหตุการณ์เฉพาะ
อิทธิพล
[แก้]เรื่องราวอูราชิมะ ทาโรถูกพัฒนาจากประโยคในนิฮงโชกิ (รัชสมัยจักรพรรดิยูเรียกุ ปีที่ 22) ว่า มีเด็กที่อูราชิมะเดินทางมาที่โฮไรซังและเห็นสิ่งอัศจรรย์ เนื้อเรื่องต่อมารวมองค์ประกอบจากเรื่องเล็ก ๆ ที่มีชื่อเสียงของ "โชคของทะเลและโชคของเทือกเขา" (โฮเดริและโฮโอริ) ภายหลังเรื่องราวอูราชิมะถูกพัฒนาให้คล้ายกับเรื่องราวของริป แวน วินเกิล ดังนั้นหลายคนจึงถือว่าเป็นตัวอย่างแรกของการเดินทางข้ามเวลาในนิยาย[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aston, William George (July 2005) [1972], "Introduction", Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to AD 697 (Tra ed.), Tuttle Publishing, p. xv, ISBN 978-0-8048-3674-6, from the original Chinese and Japanese.
- ↑ "Nihon shoki | Mythology, Creation & History | Britannica".
- ↑ "Nihon shoki | Mythology, Creation & History | Britannica".
- ↑ Equinox Pub.
- ↑ Yasumaro no O.Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697.William George Aston.London.Transactions and proceedings of the Japan Society.2006
- ↑ 日本の歴史4 天平の時代 p.39, Shueisha, Towao Sakehara
- ↑ 経済雑誌社 (1897). Keizai Zasshisha (บ.ก.). Shoku Nihongi 続日本紀. National History (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 2. Tokyo: Keizai Zasshisha. p. 362. doi:10.11501/991092. ndldm:991092 – โดยทาง National Diet Library.
- ↑ Sakamoto, Tarō. (1991). The Six National Histories of Japan: Rikkokushi, John S. Brownlee, tr. pp. 40–41; Inoue Mitsusada. (1999). "The Century of Reform" in The Cambridge History of Japan, Delmer Brown, ed. Vol. I, p.170.
- ↑ Sakamoto, pp. 40–41.
- ↑ Yorke, Christopher (February 2006), "Malchronia: Cryonics and Bionics as Primitive Weapons in the War on Time", Journal of Evolution and Technology, 15 (1): 73–85, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-16, สืบค้นเมื่อ 2009-08-29
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Sakamoto, Tarō (1991). The Six National Histories of Japan: Rikkokushi. แปลโดย Brownlee, John S. Vancouver: University of British Columbia Press. ISBN 978-0-7748-0379-3.
- Brownlee, John S. (1991). Political Thought in Japanese Historical Writing: From Kojiki (712) to Tokushi Yoron (1712). Waterloo, Ontario: Wilfrid Laurier University Press. ISBN 0-88920-997-9
- Brownlee, John S. (1997) Japanese historians and the national myths, 1600–1945: The Age of the Gods and Emperor Jimmu. Vancouver: University of British Columbia Press. ISBN 0-7748-0644-3 Tokyo: University of Tokyo Press. ISBN 4-13-027031-1
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลนิฮงงิ / นิฮงโชกิ
[แก้]- อิงจากฉบับแปลของแอสตัน:
- Wikisource. Searchable version of Aston's translation – โดยทาง
- JHTI. "Nihon Shoki". Japanese Historical Text Initiative. UC Berkeley. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.: kanbun text vs. English translation (Aston's 1896 edition) in blocks. Search mode and browse mode. Images are from a 1785 printed edition.
- Excerpts at sacred-texts.com: The Nihongi Part 1, Part 2, Part 3, Part 4
- The Nihon Shoki Wiki Online English translations by Matthieu Felt
- (ในภาษาญี่ปุ่น) 『日本書紀』国史大系版 [Nihon Shoki – Kokushi Taikei edition]. 菊池眞一研究室 (Shinichi Kikuchi laboratory) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-11. สืบค้นเมื่อ 2024-06-16. [Based on The Revised Enhanced Kokushi Taikei edition, redacted with other editions]
- (ในภาษาญี่ปุ่น) Nihon Shoki Text (六国史全文) Downloadable lzh compressed file
อื่น ๆ
[แก้]- New International Encyclopedia. 1905. .