ชินบุตสึชูโง

ชินบุตสึชูโง (ญี่ปุ่น: 神仏習合 โรมาจิ: Shinbutsu-shūgō) หรือ ชินบุตสึคงโก (ญี่ปุ่น: 神仏混淆 โรมาจิ: Shinbutsu-konkō) เป็นการผสานความเชื่อระหว่างลัทธิชินโตกับศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น กระทั่งยุคเมจิเมื่อ ค.ศ. 1868 มีการออกกฎหมายแยกการบูชาเทพเจ้าพื้นเมืองญี่ปุ่นออกจากศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธซึ่งมีต้นสายจากดินแดนชมพูทวีป เผยแผ่เรื่อยมาผ่านจีนและเกาหลีจากนักบวชเกาหลี[1][2] เข้าประดิษฐานในแผ่นดินญี่ปุ่นในยุคอาซูกะ ตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อชาวญี่ปุ่นรับศาสนาใหม่เข้ามา ก็มีการปรับความเชื่อระหว่างลัทธิชินโตที่เป็นความเชื่อพื้นเมืองกับศาสนาพุทธที่เป็นความเชื่อใหม่ มีการสร้างพุทธสถาน (寺) รวมเข้ากับศาลเจ้าชินโต (神社) เรียกว่าจิงงูจิ (神宮寺) รวมทั้งมีการเคารพบูชาทั้งเทวรูปชินโตและพระพุทธรูปอย่างกลมเกลียว จะเห็นได้ว่าศาสนาพุทธส่งอิทธิพลอย่างสูงต่อศาสนาพื้นเมือง อย่างชื่อและโครงสร้างศาลเจ้านั้นได้รับอิทธิพลจากอารามในศาสนาพุทธ[3] การแยกศาสนาพุทธออกจากลัทธิชินโตเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่การนับถือศาสนาอย่างปะปนกันของชาวญี่ปุ่นยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน[4] จากการสำรวจของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2558 พบว่าชาวญี่ปุ่นนับถือลัทธิชินโตร้อยละ 70.4 และศาสนาพุทธร้อยละ 69.8 หรือก็คือชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือทั้งสองศาสนาปะปนกัน[5][6][7][8][9]
ชื่อ "ชินบุตสึชูโง" เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อกล่าวถึงการผสานความเชื่อระหว่างเทพเจ้าชินโตกับพระพุทธเจ้า ที่แตกต่างออกไปจากศาสนาพุทธในปัจจุบัน[10] นอกจากนี้คำนี้ยังมีความหมายเชิงลบ เช่น "การเปลี่ยนแปลงจนต่างไปจากเดิม" (bastardization) หรือ "การนับถืออย่างไม่เฉพาะเจาะจง" (randomness)[11]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ Bowring, Richard John (2005). The religious traditions of Japan, 500–1600. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 15–17. ISBN 0-521-85119-X.
- ↑ Dykstra, Yoshiko Kurata; De Bary, William Theodore (2001). Sources of Japanese tradition. New York: Columbia University Press. pp. 100. ISBN 0-231-12138-5.
- ↑ Tamura, page 21
- ↑ Japan, Destination Detectives, Jen Green, Capstone Classroom, 2006, p. 20
- ↑ https://www.pewresearch.org/wp-content/uploads/sites/7/2017/11/Religion20171117.pdf
- ↑ https://www.indexmundi.com/japan/religions.html
- ↑ https://www.learnreligions.com/religion-in-japan-4782051
- ↑ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/401.html
- ↑ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html
- ↑ Inoue (2004:67-68)
- ↑ Teeuwen & Rambelli (2002:49)
- บรรณานุกรม
- Inoue Nobutaka, บ.ก. (August 10, 2004). Shinto: A Short History. p. 240. ISBN 978-0-415-31913-3.
- Tamura, Yoshiro (2000). "The Birth of the Japanese nation". Japanese Buddhism - A Cultural History (First ed.). Tokyo: Kosei Publishing Company. p. 232 pages. ISBN 4-333-01684-3.
- Mark Teeuwen and Fabio Rambelli (Editors) (Dec 27, 2002). Buddhas and Kami in Japan: Honji Suijaku as a Combinatory Paradigm. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-415-29747-9.CS1 maint: extra text: authors list (link)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ชินบุตสึชูโง
- CS1 maint: extra text: authors list
- ชินบุตสึชูโง
- ลัทธิชินโตในประเทศญี่ปุ่น
- ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น
- การผสานความเชื่อทางศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
- ประวัติศาสตร์ลัทธิชินโต
- ศาสนาพุทธในยุคเฮอัง
- ศาสนาพุทธในยุคนาระ
- ศาสนาพุทธในยุคคามาคูระ
- ศาสนาพุทธในยุคเอโดะ
- บทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศญี่ปุ่น ที่ยังไม่สมบูรณ์