เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | การบันเทิง, คอนเทนต์โพรวายเดอร์, จัดงานแสดงและอีเว้นท์ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2552 (อายุ 15 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | รุ่งธรรม พุ่มสีนิล วราวุธ เจนธนากุล |
สำนักงานใหญ่ | 600/1-3 หมู่บ้านบี สแควร์ พระราม 9 - เหม่งจ๋าย ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10230 10310 |
บุคลากรหลัก | ปัจจุบัน วราวุธ เจนธนากุล (ประธานกรรมการ) อดีต รุ่งธรรม พุ่มสีนิล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
ผลิตภัณฑ์ | รายการโทรทัศน์, ละครโทรทัศน์, ออนไลน์ |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (อังกฤษ: Zense Entertainment Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ในปัจจุบัน วราวุธ เจนธนากุล เป็นประธานกรรมการบริษัท ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยในปัจจุบัน ทางบริษัทเน้นผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์และเรียลลิตี้โชว์ ที่ผลิตและพัฒนารูปแบบรายการเอง และซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการจากต่างประเทศเป็นหลัก รวมทั้งผลิตรายการประเภทวาไรตี้, ทอล์กโชว์ และละครโทรทัศน์ ให้กับทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ หลายรายการ[1]
ประวัติ
[แก้]เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ก่อตั้งเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ วราวุธ เจนธนากุล และ รุ่งธรรม พุ่มสีนิล ซึ่งในช่วงก่อนก่อตั้งบริษัทฯ นั้น รุ่งธรรมกำลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ชักชวนวราวุธ ซึ่งในช่วงนั้นกำลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยประธานกรรมการ บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) ให้มาเป็นพิธีกรรายการ "ตู้ซ่อนเงิน" และ "เก่งยกห้อง" ที่รุ่งธรรมรับผิดชอบในการผลิตรายการอยู่ ในช่วงนั้นวราวุธได้เรียนรู้และสนใจวิธีการทำงานของการผลิตรายการโทรทัศน์ในขั้นเบื้องต้น ซึ่งหลังจากรุ่งธรรมลาออกจากบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2552 วราวุธจึงได้ตกลงกันว่าอยากจะเปิดบริษัทที่เป็นของพวกเขาทั้งคู่เอง เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ มุ่งมั่นจะเป็นผู้ผลิตแนวหน้า ที่สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่เป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้ชม ด้วยการมุ่งผลิตสิ่งที่ดี ๆ แก่สังคม ไม่สร้างปัญหาในแง่มุมมืดหรือคำถามจากสังคม[2][3] ภายหลังรุ่งธรรมได้ขอแยกตัวออกไปก่อตั้งบริษัท มีมิติ จำกัด ซึ่งได้ร่วมทุนในการก่อตั้งร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
เมื่อเริ่มแรกทางบริษัทฯ ใช้สำนักงานบริเวณซอยพัฒนาการ 56 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง หลังจากนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ทางบริษัทฯ ย้ายสำนักงานไปที่ซอยวิภาวดีรังสิต 20 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ย้ายสำนักงานมาที่ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างสำนักงานและสตูดิโอ 3 สตูดิโอ มูลค่า 200 ล้านบาท[4]
บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ "ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553[5] ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย[4] และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย[6]
ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ทางบริษัทฯ ได้พัฒนาการดำเนินธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบธุรกิจโชว์บิซ รับจ้างผลิตอีเวนต์, รายการทีวีและการบริหารสื่อ โดยยังคงตอกย้ำความเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีความเชี่ยวชาญในการนำรูปแบบรายการ (ฟอร์แมต) จากต่างประเทศ มาประยุกต์และปรับให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย ที่ชอบสนุกสนาน ตื่นเต้น และไม่ซับซ้อน รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและแบรนด์สินค้าซึ่งเป็นลูกค้าของทางบริษัทฯ โดยไม่จำกัดอยู่แค่รายการเกมโชว์หรือรายการวาไรตี้โชว์เท่านั้น โดยรูปแบบในการผลิตรายการของบริษัทฯ มีทั้งรับจ้างผลิตและไทม์แชริ่ง หรือการแบ่งรายได้โฆษณาระหว่างสถานีกับผู้ผลิตรายการ ขณะเดียวกันในอนาคตจะมีแผนพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ของบริษัทฯ เพื่อนำไปขายยังตลาดคอนเทนต์ของต่างประเทศอีกด้วย [7] และก่อตั้งบริษัท พอลกาดอท เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (อังกฤษ: Polkadot Entertainment Company Limited) เพื่อรับจ้างผลิตรายการให้ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 33 โดยเฉพาะ
อนึ่ง ในปีเดียวกันนั้น เป็นปีแรกที่ทางบริษัทฯ ได้ผลิตละครโทรทัศน์เรื่องยาวเป็นเรื่องแรก นั้นคือเรื่อง "รหัสปริศนา Code Hunter" ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยละครโทรทัศน์ของทางบริษัทฯ จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านั้นทางบริษัทฯ ได้ผลิตละครซิตคอมเป็นเรื่องแรก ในปี พ.ศ. 2556 นั้นคือเรื่อง "เณรจ๋า" ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่นเดียวกัน โดยมี "ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์" ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง มากำกับละครซิตคอมเรื่องนี้[7][8]
ในปี พ.ศ. 2561 ทางบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับทางผู้ผลิตรายการชั้นนำระดับนานาชาติ ในการพัฒนาและผลิตรายการใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งรายการโทรทัศน์ที่คิดค้นแล้วผลิตขึ้นเอง และชื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการโทรทัศน์ชั้นนำจากต่างประเทศ เพื่อความสนุกและความสุขของผู้ชมทั่วประเทศ ซึ่งสามารถรับชมผ่านทางสถานีโทรทัศน์ชั้นนำในประเทศ อีกทั้งยังส่งรูปแบบรายการที่คิดค้นแล้วผลิตขึ้นเองส่งจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย[1]
ในปี พ.ศ. 2563 ทางบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับอีเลฟเว่นสปอร์ตส บริษัทเกี่ยวกับสื่อกีฬาจากสหราชอาณาจักร เข้าประมูลลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และชนะการประมูลที่มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท โดยเซ็นสัญญายาวถึง 8 ปี ครอบคลุมทั้งการถ่ายทอดฟุตบอลทีมชาติไทยทุกชุดทุกรุ่นอายุ ทั้งฟุตบอลชายและฟุตบอลหญิง, ฟุตซอลทีมชาติไทย ทั้งฟุตซอลชายและฟุตซอลหญิง, ไทยลีก 1, ไทยลีก 2, ไทยลีก 3, ช้าง เอฟเอคัพ, ลีกคัพ, ฟุตซอลไทยแลนด์ลีก ทั้งชายและหญิง, อีสปอร์ต และแฟนตาซีลีก[9] โดยได้เริ่มการถ่ายทอดสดครั้งแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2563 ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
บุคลากร
[แก้]- ประธานกรรมการบริษัท - วราวุธ เจนธนากุล
- อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร - รุ่งธรรม พุ่มสีนิล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงาน
[แก้]ในอดีต เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ เคยมีรายการเป็นรายการประเภทเกมโชว์, ควิซโชว์, วาไรตี้โชว์, ทอล์คโชว์, เรียลลิตี้โชว์, ข่าว, ละครซิทคอม และละครโทรทัศน์ โดยออกอากาศตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เช่น ททบ.5, โมเดิร์นไนน์ทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่อง 3 เอสดี, ช่องวัน 31 และช่องเวิร์คพอยท์ เป็นต้น
ปัจจุบัน เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ 6 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ และละครซิทคอม โดยออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี, ช่อง 7 เอชดี, ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และช่องไทยรัฐทีวี
รายการโทรทัศน์
[แก้]รายชื่อของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของบริษัทฯ จะเรียงตามปีที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศรายการโทรทัศน์ ทั้งนี้ ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น "ตัวเอน" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น "ตัวหนา"
เกมโชว์/ควิซโชว์[แก้]
วาไรตี้โชว์/ทอล์คโชว์[แก้]
เรียลลิตี้โชว์ เพลงดี โชว์ดี[แก้]
|
ละครโทรทัศน์ ละครซีรีส์ และละครซิทคอม
[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
|
ละครซิทคอม/ละครสั้น[แก้]
|
ละครซีรีส์
[แก้]- Mate The Series (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 – 28 มกราคม พ.ศ. 2568) WeTV
พิธีกรและนักแสดงในสังกัด
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]
|
|
ในอดีต
[แก้]- ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์
- กรรชัย กำเนิดพลอย (2553)
- ปาณิสรา อารยะสกุล (2553–2560)
- สมพล ปิยะพงศ์สิริ (2553–2561)[g]
- ปราณดา ปวีตนาถนนท์ (2556–2562)[h]
- 5 มหานิยม, รักเอย, Do It If You Can คิดล้ำ ทำได้, เจ็ดสะระตี่
- พุทธชาด พงศ์สุชาติ (2553–2559)
- เกมเนรมิต
- กนิษฐ์ สารสิน (2554)
- เพชร มาร์ (2554)
- เชษฐวุฒิ วัชรคุณ (2554)
- พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร (2554)
- นักคิดพิชิตจักรวาล
- พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ (2556–2562)[i]
- ธวัช พรรัตนประเสริฐ (2556)
- ฮารุ สุประกอบ (2556)
- นักคิดตะลุยอาเซียน Asean Together
- ภัทรภณ โตอุ่น (2556–2559)
- พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ (2556–2559)[j]
- Step Right Up ใครเก่ง ใครได้
- เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ (2556–2565)[k]
- ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (2556–2565)[l]
- The Bus รถมหาสนุก
- สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ (2556–2557)
- บ้านพระรามสี่
- ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (2557–2558)
- ศศิมา เวชอัศดรกุล (2558–2562)
- ธนวรรณ เถาว์มูล (2558–2562)
- ลับ ลวง หลอก
- แอนดี้ เขมพิมุก (2557–2558)
- ตีเนียน
- รัชชานนท์ สุประกอบ (2557–2558)
- วันท้าดวง Horo Game
- มยุรา เศวตศิลา (2558–2559)[m]
- กวินรัฏฐ์ ยศอมรสุนทร (2558–2559)
- บริษัทฮาไม่จำกัด
- บริบูรณ์ จันทร์เรือง (2557–2563)[n]
- บอล เชิญยิ้ม (2558–2563)
- ค่อม ชวนชื่น (2558–2563)[o]
- แจ๊ส ชวนชื่น (2558–2563)
- โรเบิร์ต สายควัน (2558–2563)[p]
- เหน่ง เชิญยิ้ม (2558–2563)
- เป็กกี้ ศรีธัญญา (2558–2561)[q]
- เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off (ฤดูกาลที่ 1 – ฤดูกาลที่ 3)
- สุริวิภา กุลตังวัฒนา (2558–2560)
- The Love Machine วงล้อ ลุ้นรัก
- ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (2558–2560)
- The 60 Seconds Game 60 วิ พิชิตแสน
- วิเชียร กุศลมโนมัย (2558–2559)
- ภูมิใจ ตั้งสง่า (2558–2559)
- โก๊ะตี๋ อารามบอย (2559–2560)
- OH PAPA OH MAMA
- กรภพ จันทร์เจริญ (2558)
- เจ็ดสะระตี่
- สุวนันท์ ปุณณกันต์ (2558–2559)
- กันตพงศ์ บำรุงรักษ์ (2558–2559)[r]
- ศรัณยู วินัยพานิช (2558–2559)
- ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์ (2558–2559)
- บิว แม่บ้านมีหนวด (2558–2559)
- เก่งคิด พิชิตคำ Spelling Star
- ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (2559)
- พัสกร พลบูรณ์ (2559–2560)[s]
- The Line เกมซ่า...ท้าเรียงแถว
- ธนากร ชินกูล (2559)
- ณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี (2559)
- ร้องแลกแจกเงิน Singer Takes It All
- ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม (2559–2562)
- Singer Auction เสียงนี้มีราคา และ Show Me The Money Thailand
- เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (2560–2561)
- ภาพเด็ดประเทศไทย
- เกียรติกมล ล่าทา (2560–2561)
- เฮ มัน โชว์ Golden Tambourine
- นิภาภรณ์ ฐิติธนการ (2561)
- Couple or Not? คู่ไหน..ใช่เลย, ลูกทุ่งไอดอล ออลสตาร์, ลูกทุ่งไอดอล ฤดูกาลที่ 4
- ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร (2561–2565)
- The Knowledge รู้เท่าทันสื่อ
- วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ (2561–2562)
- ลูกทุ่งไอดอล
- จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ (2562–2563)
- เบิ้ล ปทุมราช อาร์สยาม (2563–2564)
- เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand
- อนุวัต เฟื่องทองแดง (2562–2564)
- Guess My Age รู้หน้า ไม่รู้วัย
- เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช (2562–2565)
- เขมรัชต์ สุนทรนนท์ (2562–2563)
- ทศพร ศรีตุลา (2562–2563)
- กำแพงวัดกึ๋น Block Out
- เปรมสุดา สันติวัฒนา (2562)
- เตะสู้ฝัน
- สมชาย เข็มกลัด (2564–2565)[t]
- สมจิตร จงจอหอ (2564–2565)[u]
- ดราม่าวันนี้
- นารากร ติยายน (2565)
- ภูวนาท คุนผลิน (2565)
- ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (2565)
- จานเด็ด โดน
- ศิริพร อยู่ยอด (2565)
- สมรภูมิกีฬา All Star Challenge, สมรภูมิดาวกีฬา
- เซฟฟานี่ อาวะนิค (2565)[v]
- ปลื้มจิตร์ ถินขาว (2565)
- วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ (2565)
พ.ศ. 2555
[แก้]- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 รายการเกมโชว์มณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม (รายการ เกมเนรมิต)
พ.ศ. 2556
[แก้]- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25 รายการเกมโชว์มณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม (รายการ 5 มหานิยม)
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 27 ประเภทรายการเกมโชว์ดีเด่น (รายการ 5 มหานิยม)
พ.ศ. 2558
[แก้]- บุคคลคุณภาพแห่งปี สาขาบุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ (วราวุธ เจนธนากุล)
- รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ รายการโทรทัศน์เพื่อนันทนาการดีเด่น 2 รายการ
พ.ศ. 2559
[แก้]- ดาวเมขลา
- ผู้ดำเนินรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม (วราวุธ เจนธนากุล)
- รายการที่มีเรตติ้งสูงสุดแห่งปี พ.ศ. 2558 (รายการ ตกสิบหยิบล้าน Still Standing Thailand)
- รางวัลผู้ผลิตรายการแห่งปี มอบในงานครบรอบ 11 ปี ดาราเดลี่ เข้าสู่ปีที่ 12 (วราวุธ เจนธนากุล)
- รางวัล ญาณสังวร คนดีศรีสยาม ครั้งที่ 5 (วราวุธ เจนธนากุล)
พ.ศ. 2560
[แก้]- ดาราเดลี่ เดอะ เกรท อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 พิธีกรรายการโทรทัศน์ ที่สุดแห่งปี พ.ศ. 2559 (วราวุธ เจนธนากุล)
- รางวัลผู้ประกอบการยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สาขาสื่อสิ่งพิมพ์และบันเทิง (วราวุธ เจนธนากุล)
- รางวัลพิฆเนศวร
- พิธีกรชายดีเด่น (รายการ ตกสิบหยิบล้าน Still Standing Thailand) (วราวุธ เจนธนากุล)
- พิธีกรหญิงดีเด่น (รายการ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off) (สุริวิภา กุลตังวัฒนา)
- รางวัลผู้ผลิตผลงานเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอาเซียนยอดเยี่ยม งานหลักศิราจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทองคำ ครั้งที่ 4 (รายการ The Money Drop Thailand)
- รางวัล เอเชียน เทเลวิชั่น อวอร์ด รายการเกมโชว์ควิชโชว์ยอดเยี่ยม (รายการ Singer Auction เสียงนี้มีราคา)
- รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 18 นักวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น (วราวุธ เจนธนากุล)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เคยเป็นพิธีกรรายการ 5 มหานิยม, Step Right Up ใครเก่ง ใครได้, The Money Drop Thailand, ร้องแลกแจกเงิน Singer Takes It All, เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off (เฉพาะฤดูกาลที่ 4), The Producer นักปั้นมือทอง, ตกสิบ ติดสปีด, แหวน 5 ท้าแสน - 5 Golden Rings, Guess My Age รู้หน้า ไม่รู้วัย, ร้องต้องรอด และ Sing or Sync นักร้องเสียงจริง
- ↑ เป็นหนึ่งในนักแสดงจากบริษัทฮาไม่จำกัดที่อยู่นานที่สุด ภายหลังมีพิธีกรรายการ จานเด็ดโดน
- ↑ เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกแก๊งสายสืบส่องหน้าจากรายการ Guess My Age รู้หน้า ไม่รู้วัย
- ↑ เคยเป็นพิธีกรรายการ จานเด็ดโดน
- ↑ เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกแก๊งสายสืบส่องหน้าจากรายการ Guess My Age รู้หน้า ไม่รู้วัย
- ↑ เคยเป็นพิธีกรรายการ Do It If You Can คิดล้ำ ทำได้, เฮ มัน โชว์ Golden Tambourine และ กำแพงวัดกึ๋น Block Out
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ Crazy Market ตลาดสัมผัส
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรร่วมในรายการ บ้านพระรามสี่ และ วันท้าดวง Horo Game
- ↑ เป็นพิธีกรคนเดียวที่ทำมาตั้งแต่นักคิดพิชิตจักรวาล จนถึงนักคิดตะลุยอาเซียน Asean Together และภายหลังเป็นพิธีกรหลักในรายการ บ้านพระรามสี่
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ เก่งคิด พิชิตคำ Spelling Star
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ เฮ มัน โชว์ Golden Tambourine, หนึ่งในสมาชิกแก๊งสายสืบส่องหน้า จากรายการ Guess My Age รู้หน้า ไม่รู้วัย และเคยเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off ฤดูกาลที่ 1
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ The Love Machine วงล้อ ลุ้นรัก, ร้องแลกแจกเงิน Singer Takes It All, ตกสิบ ติดสปีด, ตกสิบหยิบล้านกำลัง 2 Still Standing Thailand, Couple or Not? คู่ไหน..ใช่เลย และเคยเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off ฤดูกาลที่ 2
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ เจ็ดสะระตี่
- ↑ เคยเป็นพิธีกรรายการ ช่วยฉันที Do me a favor และ นักคิดตะลุยอาเซียน Asean Together
- ↑ ภายหลังเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ ภายหลังเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ เฮ มัน โชว์ Golden Tambourine
- ↑ เคยเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off ฤดูกาลที่ 1
- ↑ เคยเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ Sing Your Face Off ฤดูกาลที่ 1 ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ The 60 Seconds Game 60 วิ พิชิตแสน Tag Team
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ สมรภูมิกีฬา All Star Challenge และ สมรภูมิดาวกีฬา
- ↑ ภายหลังเป็นพิธีกรรายการ สมรภูมิกีฬา All Star Challenge และ สมรภูมิดาวกีฬา
- ↑ เฉพาะรายการ สมรภูมิกีฬา All Star Challenge
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์. "About Zense". Zense.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (23 มิถุนายน 2553). "เอ-วราวุธ อดีตพิธีกร 'ตู้ซ่อนเงิน' เลียนแบบพ่อสนุกกับงานไม่มีวันหยุด". Thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการรายวัน (25 มกราคม 2553). "ลูกหม้อเวิร์คพ้อยท์ ผุดบ.ร่วมทุน"เซ้นส์ฯ" ท้าชนตีสิบ-ชิงร้อยฯ". Manager.co.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 ASTVผู้จัดการออนไลน์ (2 กันยายน 2557). ""เซ้นส์" ทุ่ม 400 ล้านรับทีวีดิจิตอล ผุดสตูดิโอ-ผลิตคอนเทนต์ป้อน". Manager.co.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ดาราเดลี่ (17 กุมภาพันธ์ 2553). ""เซ้นท์ฯ"ส่ง"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์"ชนคู่แข่ง..เปิดเกมรุกทีวีไทย". Daradaily.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐฉบับพิมพ์ (21 มีนาคม 2560). "'เอ'ปลื้มคว้ารางวัล". Thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (17 กันยายน 2558). ""เซ้นส์" เพิ่มทีมผลิตละครป้อนช่อง7/เบรกลงทุนสตูดิโอรอศก.ฟื้น". Prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (15 ธันวาคม 2555). "'เซ้นส์' รุกซิตคอมทำ "เณรจ๋า"". Thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ SMM Sport (16 ตุลาคม 2563). "เปิดรายละเอียด ZENSE ถ่ายทอดสดบอลไทย 8 ปี มีอะไรบ้าง!!". www.smmsport.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)